เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First StoryBest Thanang Wanichayakonchai
ฟังดนตรีในยุคโควิด
  • บทความวิจารณ์ดนตรีชิ้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 2737110 สังคีตนิยม (Music Appreciation)

              เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 ยังไม่เป็นที่นิ่งนอนใจ การที่เราจะออกไปชมดนตรีนอกสถานที่ในปัจจุบันก็ยังคงเป็นไปได้ยากอยู่ หลายๆคนคงจะคิดถึงดนตรีกันมากๆเลยใช่ไหมครับ แต่ก็ไม่เป็นไรครับ ด้วยยุคสมัยนี้แล้ว การเข้าถึงดนตรี การหาชมคอนเสิร์ต ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรมากมายนัก ถือเป็นฤกษ์งามยามดีและโอกาสดีที่เราจะได้ย้อนหลังไปชมคอนเสิร์ต หรือ การแสดงที่เราอาจจะเคยพลาดโอกาสดูไปในตอนนั้นซะเลย ซึ่งแพลตฟอร์มหรือช่องทางต่าง ๆ ก็มีให้ดูมากมาย วันนี้ผมจะเลือกช่องทางที่ทุก ๆ คนคุ้นเคยแล้วใช้กันทุกวันเป็นประจำอย่าง youtube ซึ่งการแสดงดนตรีที่ผมจะเลือกดูในวันนี้ก็คืออออ …




    คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด ๖                                   “ยกสยาม ยกคน ยกความ ยกธรรม ยกไทย”

    แค่ชื่อคอนเสิร์ตก็แสดงถึงความยิ่งใหญ่อลังการแล้วใช่ไหมครับ คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด ฯ  

    มีรอบแสดง 11-14 สิงหาคม 2559  โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามแสคว์วัน 

    ราคาบัตรเข้าชมในตอนนั้น ประกอบด้วย 

    1,200 / 1,700 / 2,200 / 2,700 และ 3,200 


    ซึ่งนับได้ว่าเป็นราคาที่คุ้มค่ากับความยิ่งใหญ่ตระการตา คุณภาพของโรงละครชั้นนำใจกลางเมือง เป็นอย่างมาก



    สามารถรับชมได้ทาง youtube ได้เลย

    ช่วงที่ ๑




    ช่วงที่ ๒






    คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด จัดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว โดยแรกเริ่มของคอนเสิร์ตนี้เกิดขึ้นจากรายการของทางช่องเวิร์คพอยท์ที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานอย่าง รายการคุณพระช่วย รายการที่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย สืบสานมรดกอันดีงามจนคว้ารางวัลต่างๆมากมาย 

    มาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนคงจะเดาได้แล้วนะครับว่ารูปแบบ คอนเสิร์ตจะเป็นแบบไหน ใช่แล้วครับ คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด เป็นคอนเสิร์ตสืบสานวัฒนธรรมไทย ที่เน้นเพลงไทย แต่มีการดัดแปลงมีวิธีการนำเสนอด้วยดนตรีหลากหลายประเภท ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่และเข้ากับยุคสมัยได้เป็นอย่างดีและนี่ก็คือเหตุผลที่ผมเลือกที่จะชมคอนเสิร์ตนี้ ด้วยพิ้นหลังที่เริ่มค้นเรียนดนตรีจากดนตรีไทยและความชอบส่วนตัว ที่ชื่นชอบดนตรีสมัยใหม่ หรือ ดนตรีตะวันตก ที่บรรเลงร่วมกับดนตรีไทยหรือบทเพลงไทยได้


    คอนเสิร์ต คุณพระช่วยสำแดงสด ๖ ในครั้งนี้ ขนทัพเหล่าศิลปิน มาเล่าเรื่องราวความเป็นไทย ทั้งบทเพลง โชว์สุดตระการตา และการแสดงที่ความบันเทิงมากมาย โดยมีพิธีกรคู่หลักเจ้าประจำ อย่าง เท่ง เถิดเถิง และ พัน พลุแตก ที่มาสร้างความฮาและรอยยิ้มตลอดการแสดง 


    รายการเพลงของคอนเสิร์ตในครั้งนี้ (อ้างอิงจากคลิปใน youtube) แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ความยาวรวมทั้งสิ้นประมาณ 3 ชั่วโมง


    ซึ่งมีรายการเพลงและศิลปินที่ขับร้องดังนี้


    ช่วงที่ ๑

    ๑. อ๊อดแอด, นิ่ง - เท่ง เถิดเทิง, พัน พลุแตก

    ๒. นัดพบ - สาธิดา พรหมพิริยะ

    ๓. ฝากรัก - สหรัถ สังคปรีชา

    ๔. กราบเท้าย่าโม - สุนารี ราชสีมา

    ๕. บอกรักฝากใจ - ธนนท์ จำเริญ

    ๖. มองอะไร - มาลิสา ชุบขุนทด

    ๗. บทเพลงพระราชนิพนธ์ ส้มตำ 

    พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ 

    สยามบรมราชกุมารี - คณะประสานเสียง เสียงไทยคอรัส

    ๘. อีลุบตุบป่อง - ธนนท์ จำเริญ

    ๙. มอเตอร์ไซค์นุ่งสั้น - สุนารี ราชสีมา

    ๑๐. จำอวดหน้าม่าน ตอน คลินิก - น้าโย่ง น้าพวง น้านงค์


    ช่วงที่ ๒


    ๑. วิหคเหิรลม - สุนารี ราชสีมา,  เด็กดี เทเบิ้ล สตูดิโอ

    ๒. อุทยานดอกไม้ - ธนนท์ จำเริญ

    ๓. นิทานหิ่งห้อย - สาธิดา พรหมพิริยะ

    ๔. กลอนสุนทรภู่ - มาลิสา ชุบขุนทด

    ๕. เธอที่รัก - สหรัถ สังคปรีชา

    ๖. ภูมิแพ้กรุงเทพ - สหรัถ สังคปรีชา, สุนารี ราชสีมา

    ๗. พระพุทธเจ้า - อมรภัทร เสริมทรัพย์

    ๘. หนึ่งในหลาย - สาธิดา พรหมพิริยะ



                                             วงดนตรีในคอนเสิร์ตนี้เรียกได้ว่ายิ่งใหญ่อลังการ เพราะจัดเต็มทั้งฝั่งดนตรีตะวันตกและดนตรีไทย โดยนักดนตรีที่มาเล่นก็คือ วงคุณพระช่วยออเครสตร้า นั่นเอง ซึ่งมีรูปแบบของวงที่ไม่เหมือนใคร คือ ประกอบด้วยเครื่องสายสากล เครื่องเป่า วงสตริงคอมโบ กลองชุด เบส กีต้าร์ คีย์บอร์ดไฟฟ้า และเครื่องดนตรีไทยอีกนานาชนิด จะนับว่าเป็นวงดนตรีร่วมสมัยขนาดใหญ่เลยกว่าได้ ซึ่งความพิเศษคือเมื่อใช้วงนี้เล่นบทเพลงต่างๆ ตามที่ได้บอกไว้ด้านบน จะทำให้เหมือนได้ฟังเพลงนั้นในรูปแบบใหม่ ที่มีการแต่งขึ้นเพื่อที่นี่ที่เดียวเท่านั้น และได้เสน่ห์กลิ่นไอความเป็นไทยจากเครื่องดนตรีไทยที่สอดแทรกเข้ามาในบทเพลงได้อย่างลงตัว แต่ที่จะขอหยิบขึ้นมาพูดถึงจากความประทับใจเป็นพิเศษ คือ บทเพลง ส้มตำ ในรูปแบบการร้องประสานเสียง โดยวง เสียงไทยคอรัส


                                                บทเพลง ส้มตำ เป็นพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ ทั้งเนื้อร้องและทำนอง เพลงนี้เป็นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งตามประวัติแล้ว มีการบรรเลงครั้งแรกโดยวง อ.ส.วันศุกร์ โดยกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงขับร้องด้วยพระองค์เอง และต่อมาได้ขอพระราชทานไปประกอบภาพยนต์เรื่องส้มตำ จนกระทั่งได้ถูกอัญเชิญมาขับร้องโดย ราชินีเพลงลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ จนทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง 

                             บทเพลงนี้บรรยายถึงวิธีการทำส้มตำ ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติไทย เป็นบทร้อยกรองที่มีสัมผัสที่สละสลวย ใช้คำไม่ยากเข้าใจง่าย ตัวทำนองเองจะควาทเป็นเพลงไทยเดิมอยู่ค่อนข้างชัดเจน โดยรูปแบบของบทเพลงสำตำ ในคอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด      เป็นการร้องประสานเสียง ซึ่งการขับร้องประสานเสียงคือ การขับร้องค้องแต่สองคนขึ้นไป 
    ซึ่งในครั้งนี้คือการขับร้องประสานแบบ 4 แนว คือ ประกอบไปด้วย 1.แนวโซปราโน (ระดับเสียงสูงของผู้หญิง) 2.แนวอัลโต (ระดับเสียงต่ำของผู้หญิง) 3.แนวเทนเนอร์ (ระดับเสีบงสูงของผู้ชาย) 4.แนวเบส (ระดับเสียงต่ำของผู้ชาย) และที่พิเศษคือ มีผู้หญิง 1 คน และ ผู้ชาย 1 คนร้องเป็นเสียงร้องหลักหรือมีท่อนโซโล่ภายในบทเพลง การร้องประสานเสียงในเพลงเรียบเรียงออกมาได้เป็นที่น่าประทับใจอย่างมาก  แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้ขับร้องเป็นอย่างดี เพราะการร้องแบบนี้ แนวร้องจะทำหน้าที่สอดประสานเป็นแนวทำนองต่าง ๆ ในบทเพลงโดยไม่มีเครื่องดนตรีใดเลย เสียงร้องเปรียบเป็นเสมือนเครื่องดนตรีชิ้นต่าง ๆ ที่บรรเลงอยู่ 


    บทเพลงส้มตำ เมื่อบรรเลงโดยการขับร้องประสานเสียง ทำให้เพิ่มความยิ่งใหญ่อลังการ ขึ้นไปอีก 10 เท่าาาาา  
    อีกทั้งยังมีการเพิ่มความน่าสนใจ ด้วยการ ทำ body percussion เป็นจังหวะต่างๆ ประกอบถายในเพลงได้อย่างลงตัว 


    สำหรับวง เสียงไทยคอรัส ที่ขับร้องประสานเสียงนั้น เป็นประชาคมนักร้องประสานเสียงในรูปแบบ show choir ร้อง เล่น เต้น แสดง ในบทเพลงทุกประเภท โดยวงก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2557 โดยมี อ.ไกวัล กุลวัฒโนทัน เป็นผู้อำนวยเพลงและผู้ประพันธ์เพลง และศาสนีย์ รักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาดนตรีขับร้องประสานเสียงเพลงไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น

    เชื่อว่าดนตรีอยู่กับเราได้ทุกที่ ทุกเวลาและทุกอารมณ์
    การจะหาฟังเพลง การแสดงต่างๆในปัจจุบันก็แสนง่ายดาย 

    ดังนั้นอยากขอพื้นที่น้อยๆ ให้ลองเปิดใจรับฟังดนตรีที่เป็นมรดก วัฒนธรรม.    ของไทยเราอีกสักหน่อย จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้ว ดนตรีไทยเราก็สามารถเข้าถึงผู้คนได้ทุกรูปแบบและไม่แพ้ชาติใดเหมือนกัน

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in