เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Diplomacy & IArm Siwakorn
ภาษา วัฒนธรรม และนักการทูต


  • 1. เราเป็นคนนึงที่ไม่เคยใช้ภาษาได้อย่างสวยงามและคล่องแคล่วเลย แต่ก็แอบมีนักการทูตไอดอลอยู่ท่านนึงเหมือนกัน ที่มีทักษะและความสามารถในการเป็นนักการทูตสูงมาก คือท่านเตช บุนนาค


    2. ท่านเตชใช้ภาษาได้อย่างสละสลวย งดงาม ขบขัน และถูกต้อง ทำให้ session ที่เราไปฟังท่านบรรยายเกือบ 2 ชั่วโมง เป็นอะไรที่ผ่านไปไวมากๆ และเรามั่นใจว่าไม่หลุดที่ท่านพูดเลย เพราะทุกคำที่ท่านเลือกใช้มันมีเสน่ห์ไปเสียหมด 


    3. ท่านเตชเล่าอีกว่าสมัยเรียนที่อังกฤษ ตอนติดตามคุณปู่ที่เป็นทูตอยู่ที่ลอนดอน ที่บ้านจะมีกฎอยู่ 2 ข้อ คือ (1) อยู่บ้านต้องพูดภาษาไทย และ (2) ห้ามพูดไทยคำอังกฤษคำสลับกันเด็ดขาด - ซึ่งเราชอบข้อสองมาก เพราะส่วนตัวคิดว่า มันไม่เท่ห์เอาซะเลยที่จะจงใจเรียกคนอื่นว่า “ยู” และยิ่งไปกว่านั้น เรียกแทนตัวเองว่า “ไอ” และลึกๆ แอบคิดว่าเป็นการไม่ให้เกียรติเราด้วยซ้ำ


    4. ในชีวิตราชการ ท่านเตชเล่าว่า ถึงแม้จะเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ แต่กลับใช้ภาษาไทยมากกว่าภาษาอังกฤษซะอีก และคนที่ต้องคุยด้วยหลักๆ ก็คือข้าราชการไทยนี่แหละ และรวมถึงคนจากกระทรวงกลาโหมด้วย ที่ต้องคอยโน้มน้าวให้ทำตามนโยบายที่กระทรวงฯ แนะนำ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเป็น “free and independent country in the modern world” ได้


    5. นักการทูตที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้ภาษา ไม่ใช่แค่จะต้องพูดเก่ง อ่านออก เขียนได้ เท่านั้น แต่ “[they] must have the brain” คือ ต้องมี “political skills” และ “diplomatic skills” แค่รู้ภาษาอย่างเดียวมันยังไม่พอ


    6. แล้วถ้าถามว่า “political skills” จะได้มาได้อย่างไร ก็ต้องตอบว่าได้มาจากวัฒนธรรมที่เราโตขึ้นมานั่นเอง ซึ่งวัฒนธรรมที่กระทรวงการต่างประเทศเนี่ย ก็เป็นวัฒนธรรมที่ประนีประนอม (compromise) - “to keep the greatest benefits to the country and that is more important than winning totally, that both sides have the benefits and interests for their own countries” (บอกแล้วว่าเก็บมาได้ทุกคำ)


    7. นอกจากนั้น ในการเจรจา นักการทูตต้อง “know what to say, when to say and not to say, and how to close the deal” - เอาจริงๆ ทุกคนก็นำไปใช้ได้เวลาจ่ายตลาด ต่อราคานะ


    8. กับสังคมไทย ท่านเตชมองว่า คนไทยควรรู้รักภาษาไทยเข้าไว้ให้มาก พอๆ กับที่ควรศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งท่านเตชเป็นนักประวัติศาสตร์ที่เก่งมาก ตอนเล่าเรื่องท่านพูดได้หมด ว่าปีไหนท่านทำอะไร อยู่ที่ไหน เกิดอะไรขึ้น (แม้กระทั่งคุณพ่อคุณแม่แต่งงานกันปีไหน ก็ยังจำได้เป๊ะๆ)


    9. ก่อนจากกันไป ในฐานะนักประวัติศาสตร์ ท่านเตชเล่าอีกว่าสมัยที่เป็นทูตที่สวิสฯ ก็ได้พอศึกษาการเมืองสวิสฯ อยู่บ้าง ทำให้รู้ว่าในอดีตกว่า 700 ปีมาแล้ว ประเทศนี้ก็มักจะถามประชาชนก่อนเสมอๆ เวลาจะทำอะไร เช่นออกไปทำสงครามกับคนโน้นคนนี้ ก็จะต้องลงคะแนนเสียงก่อนทุกครั้ง ผิดกับวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะคอยผู้นำสั่งอย่างเดียว ทำให้กลายมาเป็นวัฒนธรรมแบบที่พวกเราเห็นอยู่ทุกวันนี้


    10. เวลาท่านเตชพบปะกับใคร ท่านก็จะคอยอธิบายให้ต่างชาติเสมอๆ ในฐานะนักการทูต ว่า การเมืองไทยท่านเรียกว่าเป็น democracy in progress คือต้องใช้เวลาในการพัฒนา แล้วก็แอบกระซิบให้พวกเราฟัง ว่าก็หวังว่าประชาธิปไตยบ้านเราคงไม่ต้องใช้เวลาสร้างแบบ 700 ปี เหมือนของสวิสฯ เค้าก็แล้วกัน!

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
chedi (@chedi)
ดีจังเลย