เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับประกันสุขภาพGobear Thailand
ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ อย่างไร
  • นอกจากเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แล้ว ประกันสุขภาพก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีในปี 2563 ได้เช่นกัน  ซึ่งการมีประกันสุขภาพที่สามารถลดหย่อนภาษีได้สักตัว ก็น่าจะทำให้เราอุ่นใจขึ้น อีกทั้งยังเข้ามาช่วยเน้นเรื่องการลดภาษีได้อีกด้วย ไปดูกันว่า ประกันสุขภาพสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ แล้วจะต้องทำยังไง และเพราะเหตุใด ประกันสุขภาพถึงนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ เราจะมาเล่าให้ฟังกันครับ

    เหตุผลที่ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้

    ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้เพราะว่า ประกันสุขภาพช่วยลดภาระของรัฐในเรื่องของระบบเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบได้ เพราะ การกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการทำประกันสุขภาพ ระบบเศรษฐกิจก็จะสูญเสียน้อยลง เพราะตัวเราเองหากเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาก็จะได้ไม่จำเป็นต้องควักเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง แต่มีประกันคอยจ่ายให้ จึงเห็นได้ว่าการลดความเสี่ยงทางด้านการเงินส่วนบุคคลของเพื่อนๆก็จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมเช่นที่รัฐคอยดูแลอยู่เช่นกัน

    และนอกจากเรื่องการลดความเสี่ยงในการต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลแล้ว การซื้อประกันสุขภาพยังทำให้เราได้วางแผนชีวิตและวางแผนการเงินไว้ล่วงหน้า ทำให้เมื่อยามแก่เฒ่าก็จะมีความคุ้มครองเป็นค่ารักษาพยาบาลในอนาคต ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน ประกันก็ช่วยจ่ายค่ารักษาให้ได้ เป็นการลดภาระของรัฐไปได้มากเลยทีเดียว

    ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่

    ประกันสุขภาพสำหรับตนเอง

    การซื้อประกันสุขภาพสำหรับนำมาลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2563 จะต้องซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2563 และนำไปยื่นภาษีในช่วงต้นปี 2564 โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นเป็นการลดหย่อนภาษีจากประกันสุขภาพตามเบี้ยที่จ่ายจริงได้สูงสุดถึง 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ประกันตัวนั้นๆจะต้องได้รับการรับประกันโดยบริษัทประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในไทย และให้ความคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

    • ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บนั้นๆ
    • ประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองเฉพาะการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
    • ประกันภัยคุ้มครองโรคร้ายแรง
    • ประกันภัยการดูแลระยะยาว หรือ Long Term Care

    ประกันสุขภาพพ่อแม่

    เราสามารถนำประกันสุขภาพของบิดามารดาไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละไม่เกิน 15,000 บาทรวมกันทั้งบิดาและมารดา รวมทั้งยังสามารถนำเอาเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ของคู่สมรสมารวมได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้

    และถ้าหากพี่น้องเพื่อนๆร่วมกันช่วยจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้บิดามารดา ก็สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี โดยเป็นการเฉลี่ยการลดหย่อนตามจำนวนพี่น้องที่จ่ายร่วมกัน เช่น ถ้าเบี้ยประกันรวมสูงสุด 15,000 บาทและมีพี่น้องร่วมกันแค่สองคน สิทธิ์ที่ลดหย่อนได้ก็ต้องหาร 2 ออกมา แต่ละคนก็จะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนแค่คนละ 7,500 บาท

    การลดหย่อนโดยเบี้ยประกันของพ่อแม่เราเอง

    • ผู้ยื่นลดหย่อนภาษีจากประกันสุขภาพจะต้องเป็นลูกแท้ๆถูกต้องตามกฎหมายของพ่อแม่ โดยที่ลูกบุญธรรมไม่มีสิทธิ์หักลดหย่อนนะครับ
    • พ่อแม่จะต้องมีรายได้ทั้งปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท
    • ระหว่างเพื่อนๆเองพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง จะต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้นๆ
    • เป็นความคุ้มครองอย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่:
      • ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บการชดเชยทุพพลภาพการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บนานๆ
      • ประกันอุบัติเหตุ ที่คุ้มครองเฉพาะการรักษาพยาบาลการทุพพลภาพการสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก
      • ประกันภัยคุ้มครองโรคร้ายแรง
      • ประกันภัยการดูแลระยะยาว หรือ Long Term Care

    การลดหย่อนโดยเบี้ยประกันของพ่อแม่คู่สมรส
    • คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้เลยในปีภาษีนั้นๆ และเป็นลูกแท้ๆของพ่อแม่คู่สมรส ไม่ใช่ลูกบุญธรรม
    • นอกนั้น จะมีเงื่อนไขเหมือนกันกับการลดหย่อนดอกเบี้ยประกันของพ่อแม่เราเองด้านบนทั้งหมด

    เอกสารที่ใช้ยืนยันสิทธิ์ลดหย่อนภาษี

    ใบเสร็จหรือหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันสุขภาพจากบริษัทประกัน โดยจะต้องระบุข้อความที่กำหนด นั่นก็คือ ชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย, ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทประกัน, จำนวนเบี้ยประกันสุขภาพ และจำนวนเงินที่มีสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก GoBear Thailand โกแบร์ ประเทศไทย

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in