เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
จับฉ่ายWIRUNYUPHA
หม้อที่ 1: แพ้อาหาร
  • เนื่องจากความหิว ทำให้เราลองกดเสิร์ชหาในอินเทอร์เน็ตไปเรื่อย ๆ ว่ามีอาหารอะไรน่าสนใจบ้าง ขณะนั้นก็นึกได้ว่าที่บ้านมีขนมอยู่ เลยหยิบมากินไป แต่มือก็ยังไม่หยุดหาอะไรในเน็ตไปเรื่อย กระทั่งวนมาเจอกระทู้ขอคำปรึกษาเรื่องอาการแพ้อาหารของลูกในเว็บบอร์ดชื่อดังแห่งหนึ่ง

    แพ้อาหาร เป็นโรคที่หลายคนเป็น... รวมถึงเราเองด้วย เราไม่ค่อยได้ศึกษานักว่าจริง ๆ แล้วโรคนี้คืออะไร และเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรในฐานะคนที่แพ้อาหาร ก็เลยลองอ่านในกระทู้นั้นดูคร่าว ๆ

    คุณแม่คนนั้นน่าจะอยู่ต่างประเทศ พูดถึงเรื่องการพกยาฉีดประจำไว้ติดตัวลูกตลอดเวลา เราอ่านแล้วยิ่งตกใจ ในกระทู้มีคนมาตอบมากมาย ส่วนใหญ่บอกว่าอาการลูกรุนแรงถึงขั้นช็อก แล้วเพื่อนเราก็เคยบอกว่า คนที่ตายเพราะอาการแพ้ก็มี (me/ นึกถึงสี่แพร่ง...)

    เราไล่อ่านไปเรื่อย ๆ แล้วก็เจอเว็บไซต์ที่คุณแม่ท่านหนึ่งโพสต์ไว้ในเว็บบอร์ด เลยหยิบบางส่วนมาแปลเผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนที่เป็นเหมือนเราบ้างนะคะ



    การแพ้อาหารคืออะไร?

    อาการแพ้อาหารจะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้นกันในร่างกายพบอาหารที่เป็นอันตรายกับตัวเองแล้วก็ react ออกมาในรูปแบบของอาการ (symptom) ต่าง ๆ อันนี่คือปฏิกิริยาจากอาการแพ้ อาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้เรียกว่า allergen


    เราแบ่งการแพ้อาหารได้เป็น 2 ประเภท

    1. IgE mediated อาการเกิดจากระบบภูมิคุ้นกันร่างกายสร้างแอนติบอดี้ที่เรียกว่า อิมมูนโนโกลบูลิน E (IgE) ขึ้นมา แล้ว IgE นี่ก็ไปทำปฏิกิริยากับอาหารบางประเภท
    2. Non-IgE mediated ส่วนอื่นของระบบภูมิคุ้นกันร่างกายทำปฎิกิริยากับอาหารบางประเภท ปฏิกิริยาแบบนี้เกิดจากอาการของโรค (symptom) แต่ไม่เกี่ยวกับ IgE แอนติบอดี้แบบข้างบน

    บางคนเป็นทั้งสองอย่างเลย ทั้ง IgE และ Non-IgE

    อันแรก IgE mediated เนี่ย เกิดในเด็กทารกและเด็กเล็กเป็นส่วนมาก ได้แก่พวกไข่ นม ถั่วลิสง ถั่วประเภทต่าง ๆ ถั่วเหลือง และแป้งสาลี อาการแพ้อาจเกิดขึ้นได้ที่ผิวหนัง ปาก ปอด ลำไส้ หรือแม้แต่สมอง อาการแพ้อาจประกอบด้วย

    • ผื่นคัน, อาการคัน, ลมพิษ
    • ริมฝีปาก, ลิ้น, ช่องคอ บวม
    • หายใจติดขัด, หายใจลำบาก, หายใจแรง (หอบ)
    • ปวดกระเพาะ, อาเจียน, ท้องเสีย
    • รู้สึกเหมือนสิ่งเลวร้ายจะเกิดขึ้น

    บางครั้งอาการแพ้ก็ไม่ได้รุนแรงมาก แต่บางครั้งก็อันตรายถึงขั้นหายนะ ไม่ว่าจะแบบไหนก็ควรจะใส่ใจอย่างจริงจัง เพราะทั้งสองอย่างนี้จะนำไปสู่การแแพ้อย่างรุนแรงเรียกว่า Anaphylaxis (อันนาฟีแลกซิส) ซึ่งปฏิริยาประเภทหลังนี้มักทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแย่ลงอย่างรวดเร็ว และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

    ปกติ Anaphylaxis จะยับยั้งด้วยการใช้ epinephrine (ที่คุณแม่ในกระทู้บอกว่าเด็กบางคนต้องพกติดตัวไว้ฉีดเวลาฉุกเฉิน) มันมีแบบฉีดอัตโนมัติด้วย ในบางคนอาการแพ้รุนแรงก็เกิดดีเลย์ไป 2-3 ชั่วโมงหลังมีอาการแพ้แรกสุด

    ทีนี้ การที่แพ้อะไรสักอย่าง ก็อาจแปลได้ว่า ย่อมจะต้องแพ้อาหารลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้าแพ้กุ้ง ก็น่าจะแพ้พวกสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง (ปู อะไรพวกนี้) หรือถ้าแพ้นมวัว ก็อาจจะแพ้นมแพะ นมแกะด้วย แบบนี้เรียกว่า cross-reactivity (เกิดปฏิกิริยาข้ามกลุ่ม) เกิดขึ้นเมื่อโปรตีนในอาหารชนิดหนึ่งคล้ายคลึงกับโปรตีนในอาหารอีกชนิด

    (นอกจากนี้ยังมี Oral allergy syndrome ซึ่งก็ตามชื่อ อาการจะเกิดบริเวณปาก คอ ลิ้น อาจเป็นหนักถึงขั้นเสียชีวิต มักเกิดจาการแพ้พวกหญ้าตระกูล Ambrosia เมล่อน หรือกล้วย)


    อันที่สองคือ Non-IgE mediated ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการย่อยอาหาร อาการอาจจะเป็นการคลื่นไส้หรือท้องเสีย และอาจจะมีอาการยาวนานกว่าแบบ IgE บางครั้งก็มีปฏิกิริยากลังจากกินอาหารที่แพ้ไป 3 วัน

    อาการแพ้ประเภทนี้ epinen. แบบข้างบนไม่จำเป็น ปกติแค่ให้อยู่ห่างจากอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ก็พอแล้ว

    **เด็กบางคนไม่ได้แพ้อาหาร แต่เป็น food intolerance จะมีปฏิริยากับแลคโตส กลูโคส แค่อยู่ให้ห่างก็พอ หมอให้คำแนะนำได้**


    หลัก ๆ มีแค่นี้ มีสาระที่สุดในชีวิตแล้ว แปลข้ามบางอันหรืออาจทับศัพท์เพราะเราคิดไม่ออกจริง ๆ ว่าจะแปลเป็นไทยยังไง ศัพท์มันวิชาการเกินไป 55555 หวังว่าใครอ่านแล้วจะได้ประโยชน์กับชีวิต

    Stay safe (?) นะคะ ชีวิตเราไม่ควรจบด้วยการกินแล้วตาย เราต้องอยู่เพื่อกินอย่างอื่นไปเรื่อย ๆ ค่ะ /เดี๋ยว


    cover photo credit: http://lexiscleankitchen.com/2014/10/31/8-top-food-allergens-and-their-swaps/

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in