เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First Storylava007
โบยัน สแลต : เด็กหนุ่มผู้ต้องการเก็บขยะพลาสติกให้หมดมหาสมุทรโลก
  •     เมื่อมหาสมุทรของโลกกำลังจะกลายเป็นโต๊ะอาหารที่เต็มไปด้วยอาหารอาบยาพิษแก่เหล่าสัตว์ทะเล...

    ยะพลาสติกปริมาณมหาศาล 8 ล้านตันต่อปีจากการอุปโภคบริโภคของมวลมนุษย์ไหลลงสู่มหาสมุทร สัตว์ทะเลอย่างนกทะเลและเต่าใช้กลิ่นหาอาหาร วาฬปล่อยคลื่นเสียงสะท้อนล่าอาหาร     พวกมันจึงไม่มีโอกาสรู้เลยว่า นั่นไม่ใช่ปลาอันโอชะ แต่คือขยะพลาสติกที่จะเข้าไปอุดตันทางเดินอาหารและสะสมสารพิษไว้ในเนื้อเยื่อ พวกมันจึงได้รับสารพิษ ถูกพลาสติกพันคอ หรือขาดสารอาหารจนหิวตายอย่างไม่ยุติธรรม องค์การ UNESCO ได้ประมาณว่ามีสิ่งมีชีวิตในทะเลกว่า100,000 สายพันธุ์ตายเพราะพลาสติก และสารอันตรายเหล่านั้นก็จะถูกส่งตามห่วงโซ่อาหารมาสู่ร่างกายของเรา


    โบยัน สแลต (Boyan Slat) เด็กหนุ่มชาวดัตช์ผู้ตระหนักเห็นปัญหานี้ จึงลุกขึ้นค้นคว้าหาวิธีแก้ไขช่วยโลกอย่างแรงกล้าจนได้กลายมาเป็นผู้ก่อตั้งและ CEO ของ The Ocean Cleanup องค์กร      สิ่งแวดล้อมด้านวิศวกรรมที่ไม่แสวงหาผลกำไรสัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่มีเป้าหมายยักษ์ใหญ่คือการกำจัดขยะพลาสติกในมหาสมุทรให้หมด 

    จุดเริ่มต้นที่จุดไฟฝันอันยิ่งใหญ่ให้ลุกโชนเกิดขึ้นเมื่อโบยัน สแลตวัย 16 ปีได้ไปเที่ยวดำน้ำลึกในทะเลประเทศกรีซ แต่ที่น่าประหลาดคือ เขากลับเจอถุงพลาสติกมากกว่าฝูงปลาเสียอีกแม้กระทั่งหาดทรายก็เต็มไปด้วยเศษพลาสติก เด็กหนุ่มจึงเริ่มศึกษาปัญหาขยะในมหาสมุทรด้วยตัวเอง 

    อุปสรรคในการจัดการขยะพลาสติกในมหาสมุทรนอกจากปริมาณอันมหาศาลแล้ว มันยังเคลื่อนที่ไปตามกระแสน้ำอยู่ตลอดเวลา หากใช้เรือและตาข่ายไปเก็บขยะเหล่านี้เข้าฝั่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงมากแต่โบยันกลับคิดว่า “การไหลของกระแสน้ำไม่ใช่อุปสรรค แต่มันคือทางออก” 



    ขยะพลาสติกจะลอยเหนือน้ำและถูกกระแสน้ำพัดไหลมารวมกันอยู่ภายในที่วงวนใหญ่ของมหาสมุทร  (gyre) เป็นแพขยะมหึมา 5 แห่งในมหาสมุทรต่างๆ แต่แพขยะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ         แพขยะใหญ่แปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch) ซึ่งอยู่ระหว่างรัฐฮาวายและแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีพื้นที่ขนาดใหญ่ถึง 1.6 ล้านตารางกิโลเมตรหรือใหญ่กว่าประเทศไทยถึง 3 เท่า ขยะพลาสติกเจ้าปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็มาจากทวีปอเมริกาเหนือและเอเชีย นักวิจัยชาร์ล มูร์ (Charles Moore) พบว่าแพขยะใหญ่แปซิฟิกต้องใช้เวลาถึง 79,000 ปีในการทำความสะอาด แต่โบยัน  สแลตเชื่อว่าเขามีวิธีการจัดการแพขยะเหล่านี้ให้สิ้นซากโดยใช้เวลาแค่ ปีเท่านั้น เด็กหนุ่มในวัย 18 ปีจึงได้นำเสนอโปรเจ็คนี้อย่างเป็นทางการในงาน TedxDelft ปี 2012 ประเทศเนเธอร์แลนด์ 

    เขาเสนอการใช้ทุ่นลอยน้ำยาวเป็นรูปตัววี ขยะพลาสติกที่ลอยอยู่จะถูกกระแสลมและน้ำพัดเข้ามาเก็บไว้ตรงกลางโครงสร้างรูปวีนี้เองโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายไปมหาศาล รวมทั้งสร้างรายได้ก้อนโต "หากเรากู้พลาสติกจากแพขยะยักษ์ 5 แห่งมาขาย จะทำเงินได้ถึง 500 ล้านดอลลาร์" 



    ถ้าเราตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงสำคัญกว่าเงิน เงินจะมาหาเรา”  

                                     - โบยัน สแลตกล่าวในงาน TedxDelft ปี 2012 -


    ในปี 2013 ได้พิสูจน์ความเชื่อนั้น โบยัน สแลตได้พักการศึกษาด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ (TU Delft) เพื่อทำตามความฝันก่อตั้งองค์การ The Ocean Cleanup ด้วยเงินตั้งต้นเพียง 300 ยูโรหรือประมาณ 12,000 บาท แต่หลังจากนั้นไม่นานคลิปงาน TedxDelft ก็กลายเป็นไวรัล องค์การของเขาได้เงินระดมทุนประมาณ 2 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 67 ล้านบาทจาก 160 ประเทศทั่วโลกภายในเวลาแค่ 100 วัน



    เครื่องกำจัดขยะ รุ่นที่2 (SYSTEM 002) ในมหาสมุทรแปซิฟิก (ภาพ : The Ocean Cleanup.com)221 The Ocean Cleanup


               เครื่องกำจัดขยะ The Ocean Cleanup รุ่นแรก (SYSTEM 001) ออกทำงานครั้งแรกในปี 2018 เป็นทุ่นรูปตัวยูคล้ายชายฝั่งทะเลยาว 600 เมตร มีชายยาว 3 เมตรแขวนอยู่ใต้น้ำ สัตว์น้ำก็จะว่ายลอดใต้มันได้อย่างปลอดภัย เครื่องจะลอยไปตามกระแสคลื่นและเก็บกักขยะพลาสติก ซึ่งเจ้าเครื่องนี้ใช้เพียงพลังแสงอาทิตย์ พร้อมถูกติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ กล้อง และระบุตำแหน่งได้ด้วยสัญญาณดาวเทียม       เมื่อเครื่องที่เปรียบดั่งถุงขยะแห่งมหาสมุทรนี้เต็มก็จะได้รับสัญญาณให้ไปเก็บเข้าฝั่งและนำมารีไซเคิลสร้างมูลค่าต่อไป แต่เมื่อพวกเขานำไปทำงานจริงกลับประสบปัญหาทุ่นหักจนต้องเก็บเข้าฝั่ง จนกระทั่งในปี 2019 เขาประสบความสำเร็จเก็บขยะจากมหาสมุทรได้ถึง 60 ถุงยักษ์ โบยัน สแลตและทีมยังคงวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอยู่เสมอจนได้ปล่อยเครื่องกำจัดขยะ รุ่นที่ 2 (SYSTEM 002) ที่เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อทดลองครั้งแรก เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้

             ไม่เพียงแต่ดูแลมหาสมุทรเท่านั้น The Ocean Cleanup ยังจัดการกับต้นเหตุอย่างแม่น้ำด้วย    เรือเก็บขยะพลาสติก THE INTERCEPTOR ซึ่งก็ได้นำไปติดตั้งในแม่น้ำหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยเช่นกัน โดยเรือนี้สามารถจัดเก็บขยะได้ถึง 3–4 ตันต่อวัน

              ด้วยผลงานสุดสร้างสรรค์ที่สร้างประโยชน์ต่อโลกมหาศาล โบยัน สแลตจึงได้รับรางวัลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรางวัล Champions of the Earth ประจำปี 2014 ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดด้านสิ่งแวดล้อมจากสหประชาชาติ รางวัลผู้ประกอบการเยาวชน (Young Entrepreneur Award) ประจำปี 2015 รางวัลเลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo Da Vinci Award) ประจำปี 2018 จากสภาวัฒนธรรมโลก และอีกมากมาย

              สุดท้ายภารกิจของเขายันคงดำเนินต่อไป โบยัน สแลตมีเป้าหมายว่า “ จะเก็บขยะพลาสติกในมหาสมุทรให้ได้ 90% ภายในปี 2040 ”  
             ความมุ่งมั่นของเด็กหนุ่มตัวเล็กๆคนหนึ่งในโลกที่เจอปัญหาโดยบังเอิญ พยายามค้นคว้าหาวิธีแก้ไขสู่การเป็นเจ้าขององค์การที่ยิ่งใหญ่กับภารกิจอนุรักษ์ระดับโลก

              แต่ภารกิจใหญ่ครั้งนี้เขาคงแก้ไม่ได้ด้วยตัวคนเดียวเพราะ “การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการแก้ที่ต้นทาง”  โดยการลดการใช้พลาสติกและกำจัดขยะพลาสติกอย่างถูกวิธี ทุกคนเองก็เป็นคนสำคัญในการร่วมปกป้องมหาสมุทร สัตว์ทะเล และมวลมนุษย์ไปด้วยกัน

    ที่มา

    https://theoceancleanup.com/

    https://www.youtube.com/watch?v=O1EAeNdTFHU&ab_channel=TheOceanCleanup

    https://www.npr.org/2019/01/05/682532583/an-engineering-wunderkinds-ocean-                     plastics-cleanup-device-hits-a-setback

    - ข่าวไทยพีบีเอส. (2564, 3 ก.พ.). สุดล้ำ! Interceptor เรือเก็บขยะแม่น้ำเจ้าพระยาลำแรกถึง                ไทย. Retrieved

    https://news.thaipbs.or.th/content/301049

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in