เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
กฎหมายระหว่างประเทศPopeny Teerapan
คำพูดของผู้นำมีผลในทางระหว่างประเทศ
  • คำพูดหรือการประกาศของผู้นำรัฐถือเป็นการกระทำที่แสดงออกโดยรัฐ ซึ่งรัฐในที่นี้คือ บุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ (Subject of international law) แต่ไม่ได้หมายความว่าการกระทำของรัฐสามารถผูกพันในทางระหว่างประเทศได้ทั้งหมด นั้นอาจเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดเพราะ มีการกระทำของรัฐบางอย่างที่อาจจะไม่ได้แสดงถึง เจตนารมณ์ (intentions) และความสมัครใจ (wills) ที่จะก่อให้เกิดผลผูกพันในทางระหว่างประเทศ



    คำพูดของผู้นำจะถูกพิจารณาว่าผูกพันในทางระหว่างประเทศได้นั้น จะต้องปรากฎว่าบุคคลดังกล่าว เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ในทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ หรืออำนาจตุลาการ การใช้อำนาจเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐโดยตรง ตามหลักที่ว่ารัฐสามารถใช้อำนาจอธิปไตยของตัวเองได้อย่างแน่นอนเพียงผู้เดียว (exclusively without any conditions) ในการแสดงออกซึ่งการกระทำที่จะก่อให้เกิดผลผูกพันในทางระหว่างประเทศ


    สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณาคือ บุคคลที่มีความสามารถตามกฎหมายระหว่างประเทศ (subject of international law) ก็คือรัฐ และในรัฐจะต้องปรากฎว่ามีบุคคลหรือองค์กร ที่มีความสามรถที่จะใช้อำนาจอธิปไตยในการแสดงออกถึงการกระทำที่จะก่อให้เกิดการผูกพันกับรัฐ ซึ่งสามารถถ้าวินิฉัยตาม มาตรา 7 ของ Vienna convention on the law of treaties 1969 ที่บัญญัติไว้ว่าจะต้องเป็นบุลคคลดังต่อไปนี้คือ ประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ

    บางกรณีเช่น คดี Nuclear test 1974 คำประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็สามารถสร้างผลผูกพันในทางระหว่างประเทศได้เพราะถือเป็นว่ามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกาศฝ่ายเดียวของรัฐ และปรากฎว่าเป็นการใช้อำนาจในทางบริหารเกี่ยวกับกิจการความมั่นคงของประเทศ

    การประกาศฝ่ายเดียวถือเป็นบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรงหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นบ่อเกิดหลัก (primary sources) คือ สนธิสัญญา กับ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ

    หากจะพิจารณาว่าการประกาศฝ่ายเดียวนั้นเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบของจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยคือ 1. การกระทำที่ทำสืบเนื่องต่อกันมาในช่วงเวลาหนึ่ง (consuetudo) และ 2. จะต้องมีความรู้สึกหรือความเชื่ออันเป็นสามัญว่าการปฏิบัตินั้นถือเป็นพันธกรณีตามกฎหมาย หรือการกระทำดังกล่าวมีผลในทางกฎหมาย (opiniojnssive necessitatis) 

    ซึ่งการประกาศฝ่ายเดียวของรัฐ สามารถก่อให้เกิดเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศได้ ตัวอย่างเช่น การประกาศของ ประธานาธิบดี ทูแมน ของอเมริกา เรื่อง ทรัพยากรชีวภาพและทรัพยากรแร่ธาตุในทะเล ปี พ.ศ. 2488 (Truman Proclamation on the sea's biological resources and on the mineral resources of the seabed and the ocean floor in 1945)

    การประกาศของทูแมนดังกล่าว นั้นต้องการขยายอาณาเขตทางทะเลเพื่อ ประโยชน์ในการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้รัฐอื่นๆ ในแถบ ลาติน อเมริกาต่างพากันประกาศเพื่อขยายอาณาของเขตทางทะเลของรัฐของตนด้วย จนถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติของรัฐ (state practice) จนก่อให้เกิดเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศเกิดขึ้นในเรื่องการขยายอาณาเขตทางทะเล

    การประกาศของผู้นำรัฐ หากต้องการจะทราบถึงความประสงค์อันแท้จริง ที่รัฐหนึ่งได้ประกาศออกมานั้น จะต้องพิจารณา ความหมายอันเป็นสามัญธรรมดา (ordinary meaning) หรือพิจารณาจากความตั้งใจที่จะผูกพันตามคำประกาศในทางระหว่างประเทศ (the legality and legal effects of the action)

    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด จากบทความของคุณอเล็กซานเดอร์ ได้ยกตัวอย่างถึง เจตนารมณ์ของคำประกาศของประธานาธิบดีอเมริกาเกี่ยวกับการโจมตีเหมืองแร่ของนิคารากัว เพื่อหยุดการไหลเวียนของอาวุธ โดยศาลระหว่างประเทศได้การตีความข้อความดังกล่าวในคำประกาศ และได้พิจารณาว่า คำประกาศดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดความรุนแรง รวมถึงการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรม

    สรุปได้ว่า คำพูดหรือการประกาศของผู้นำของรัฐนั้น อาจพิจารณาได้ว่ามีผลในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ในการก่อให้เกิดความผูกพันกับรัฐ เพราะคำพูดหรือการประกาศของผู้นำดังกล่าว ที่ได้พูดหรือประกาศออกไป ในฐานะที่เป็นบุคคลใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐโดยตรงในการแสดงออก จึงมีความสามารถที่จะก่อให้เกิดความผูกพันในทางระหว่างประเทศ

    อ้างอิง

    Marcin Kaldunski, Przemyslaw Saganek, Unilateral Acts of States in Public International Law, 35 Polish Y.B.Int'l L. 343 (2015) page 349

    Camille Goodman, Acta Sunt Servanda - A Regime for Regulating the Unilateral Acts of States at International Law, 25 Aust. YBIL 43 (2006) page 54

    Erzsebet Castlos, The Legal Regime of Unilateral Act of States, 7 Miskolc J. Int'l L. 33 (2010) page 35

    Alexander Orakhelashvili, Interpretation of Unilateral Acts and Statements, (2018) Oxford Scholarship Online page 472

    ธีรพันธุ์ แก้วคง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in