เวลาจะปฏิเสธใครเป็นต้องลำบากใจทุกทีเลยใช่ไหมคะ ทั้งคนพูดเองก็ไม่อยากจะทำร้ายจิตใจ คนโดนปฏิเสธก็รู้สึกไม่ดีไปด้วย การปฏิเสธจำเป็นจะต้องใช้ศิลปะในการพูดมากทีเดียว ยิ่งเป็นคนญี่ปุ่นที่คำนึงถึงความสัมพันธ์เป็นอย่างสูงงงงงมากกกกกกด้วยแล้ว เรียกได้ว่าบางครั้งแทบจะไม่ได้ใช้คำว่า ไม่ ห้าม อย่า เลยทีเดียวค่ะ
แล้วเขาใช้คำอะไรกัน?
ใช่แล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงการปฏิเสธ - การห้ามสไตล์ญี่ปุ่นกันค่ะ
ย้อนกลับไปตอนที่เราเริ่มเรียนญี่ปุ่นกันใหม่ ๆ เวลาจะปฏิเสธเราพูด いいえ (No) กันได้เต็มปากเลยใช่ไหมคะ แต่พอเราเรียนไปเรื่อย ๆ จากคำว่า いいえ ก็กลายเป็น ちょっと… *ทำหน้าลำบากใจ* คำสารพัดประโยชน์ใช้ได้ทุกสถานการณ์ลำบากใจ พอเรียนไปอีกสักพักเราก็จะเริ่มคิดมากและไม่รู้ว่าจะต้องตอบอะไรดีเวลาปฏิเสธ เราจึง *ซีดปาก+ทำหน้าลำบากใจ* แทนคำพูด
เปล่านะคะ ไม่ได้พูดประสบการณ์ของตัวเองค่ะ *เลิ่กลั่ก*
ถ้าเราได้ลองไปอ่านสื่อภาษาญี่ปุ่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ ป้าย หนังสือ อีเมล ฯลฯ เราจะเห็นว่า เวลาต้องการจะบอกว่า ไม่ - ห้าม ภาษาญี่ปุ่นจะไม่ชอบใช้รูปปฏิเสธค่ะ อย่าง できません・ないでください เรียกได้ว่าเจอน้อยมาก ๆ แล้วเขาใช้อะไรกันล่ะ?
วันนี้เราจึงรวบรวมคำที่น่าสนใจและเจอบ่อยเมื่ออยากพูดไม่ - ห้ามมาให้เพื่อเป็นตัวเลือกค่ะ
ไวยากรณ์สำคัญที่ไว้ใช้เวลาปฏิเสธ ความหมายคือ …しようとしてもできない = เป็นเรื่องลำบากใจ ทำไม่ได้จริง ๆ ถึงรูปประโยคจะเป็นบอกเล่า แต่ความหมายเป็นปฏิเสธนะคะ ระวังสับสนล่ะ
ตัวอย่าง
ไวยากรณ์รูปนี้มีเทียบเท่าได้กับ …こと/のは難しいです แต่อัพความสุภาพขึ้นมามากกว่าค่ะ
คำว่า 断り=ปฏิเสธ เมื่อเราทำให้เป็นรูปถ่อมตัวโดยการทำเป็น お+断ります+します = ขอปฏิเสธ… คำนี้เรามักจะพบตามเงื่อนไขในการซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ตามป้ายประกาศก็เช่นกันค่ะ
ตัวอย่าง
→ ขอปฏิเสธการเข้าใช้บริการร้านของผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี (=ห้ามเด็กต่ำกว่า 18 ปีเข้าร้าน)
มีความหมายใกล้เคียงกับ ご遠慮ください ใช้แทนกันได้ ความหมายก็คือ 配慮して自分の行動を抑えてください = ถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้งด…ค่ะ อารมณ์ขอความร่วมมือแบบ no choices จะคล้าย ๆ กับ ご遠慮ください แต่ให้ความรู้สึกเบากว่า
ตัวอย่าง
→ ขอให้งดลุกจากที่นั่งระหว่างการแสดง
คำว่า 遠慮=เกรงใจค่ะ เมื่อนำมาใส่ประโยคจะให้ฟีลประมาณช่วยเกรงใจสักนิด ถ้าแปลตรง ๆ ก็คือประโยคขอร้อง 相手に何をやめてほしい = กรุณางด… นั่นเอง
ตัวอย่าง
→ กรุณางดสูบบุหรี่
→ กรุณางดถ่ายภาพบริเวณนี้
→ ลูกค้าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ กรุณางดเข้า
→ กรุณางดนำอาหารและเครื่องดื่มเข้ามาภายในร้าน
เป็นไงบ้างคะ บางประโยคก็ดูซอฟท์ลง แต่บางประโยคก็รู้สึกแข็ง ๆ เป็นทางการมากสุด ๆ ถ้าเป็นป้ายประกาศก็ยังพอเข้าใจ แต่บางครั้งพอเราเอาไปใช้พูดหรือใช้เขียนโต้ตอบ อาจจะทำให้คนอ่านรู้สึกไม่พอใจได้ เพราะรู้สึกห้วน แล้วจะทำยังไงดี?
สิ่งที่ควรใส่เวลาจะปฏิเสธคือ クッション言葉 (cusion kotoba) หรือคำพูดกันชนนั่นเองค่ะ เป็นคำพูดที่เราจะเกริ่นไว้ก่อนพูดความต้องการจริง ๆ เพื่อให้คำพูดเราดูซอฟท์หวานลง เป็นการถนอมน้ำใจและให้คนฟังเตรียมใจในเวลาเดียวกัน5555
ตัวอย่าง
https://eigobu.jp/magazine/goenryo
https://mayonez.jp/topic/1025381
https://classy-online.jp/lifestyle/17660/
http://keigo.reibun.biz/52.html
https://nihongokyoshi-net.com/2018/07/23/jlptn2-grammar-kaneru/
https://nihon5-bunka.net/japanese-grammar-intermediate-kaneru/
https://paraft.jp/r000018003382
https://eigobu.jp/magazine/osoreirimasu-moushiwake#heading-40627
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in