เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First Storyworking
Mouth To Mouth สมุนไพรกับช่องปาก... ใครคิดว่าไม่สำคัญ
  • รู้หรือไม่ ?
    “จากการศึกษา พบว่าคนไทยได้มีการใช้สมุนไพรกับช่องปากมาตั้งแต่อดีต โดยสมุนไพรที่ใช้มีความหลากหลายมาก”


    โดยเริ่มตั้งแต่ ยุคอดีต บรรพบุรุษของเรานั้นได้มีการนำสมุนไพรมาใช้กับช่องปากกันมาอย่างยาวนาน สมุนไพรไทยที่นำมาใช้กับช่องปากในยุคอดีตนั้น ได้แก่

    กิ่งข่อย


    เมื่อนำมาตัดแต่งและทุบปลาย สามารถนำไปใช้ขัดฟันเพื่อทำความสะอาดฟัน เหลาด้านปลายแหลมก็นำมาใช้แคะเขี่ยเศษอาหารตามซอกฟันได้ด้วย ในคัมภีร์อายุรเวท มีรายละเอียดการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาสุขอนามัยในช่องปากด้วยการทำไม้ชำระฟัน จากกิ่งชะเอมหรือ กิ่งสะเดา ขัดสีฟันเพื่อช่วยขจัดแบคทีเรียในช่องปากแล้วตามด้วยการใช้น้ำมันงาหรือ น้ำมันมะพร้าวกลั้วปากเพื่อช่วยให้ฟันและเหงือกแข็งแรง ในคัมภีร์พระไตรปิฏก สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าให้พระภิกษุทำไม้ชำระฟันซึ่งทำจากไม้โกทำ (Harrisoniaperforata(Blanco) Merr.) เพื่อทำความสะอาดช่องปาก

    การบูร


    ใช้ทำถูฟัน และอมแก้รำมะนาด เหงือกอักเสบ ฟันคลอน

    เกลือ



    ใช้อมหรือพอกบริเวณฟันเพื่อแก้ปวดฟัน เกลือผสมน้ำใช้อมกลั้วคอ สามารถรักษสุขภาพช่องปากและเหงือกได้

    เปลือกมังคุด



    นำเปลือกมาต้มน้ำ แล้วใช้น้ำนั้นอมบ้วนปาก เพื่อแก้อาการปวดฟัน เหงือกบวม เหงือกอักเสบได้

    ใบฝรั่ง



    แม้ว่าในห้องจัดแสดงมีใบฝรั่งจำลองเพื่อบอกเล่าถึงสรรพคุณที่ใช้วางในโลงศพ เพื่อดูดซับหนองศพในสมัยโบรำณ แต่ด้วยรสฝาดขมของใบฝรั่ง คนโบราณก็ยังนิยมนำใบสดมำเคี้ยวแล้วคายทิ้ง เพื่อดับกลิ่นปากและใช้น้ำต้มใบฝรั่งผสมเกลือแล้วนำมาอมแก้ปวดฟัน

    ข่า



    สำหรับคนที่ฟันผุจนเป็นโพรง นำข่าสดแก่จัดมาตำให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อย ใช้อุดฟันที่เป็นรู เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด

    ดอกก้านพลูแแห้ง



    หากนำกานพลูมาเคี้ยวและอมตรงบริเวณที่ปวดฟัน กานพลูจะออกฤทธิ์เหมือนยาชาแก้ปวดฟัน และยังแก้กลิ่นปาก ช่วยให้ลมหายใจหอมสดชื่น


    ในยุคปัจจุบบัน คนไทยยังมีการใช้สมุนไพรกับช่องปากมาอย่างต่อเนื่อง และสมุนไพรไทยที่นำมาใช้กับช่องปากของคนในยุคปัจจุบันนั้นได้แก่

    กานพลู

    เป็นสมุนไพรที่ได้จากดอกตูม ของต้นกานพลู เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นเฉพาะหอมแรง สรรพคุณของกำนพลูจะช่วยกระจายเสมหะ เนื่องจากมีรสเผ็ดร้อนช่วยแก้อาการปวดฟัน, ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน, ช่วยดับกลิ่นปาก, ใช้แต่งกลิ่นยาสีฟัน

    สะเดา


    ในทางสมุนไพรจะนิยมใช้ส่วนของยอดและดอกมาใช้ ช่วยบำรุงสุขภาพช่องปาก บำรุงเหงือกและฟัน, ช่วยลดการอักเสบของเหงือก, ช่วยลดอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก, ช่วยป้องกันฟันผุ, ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน, แก้อาการร้อนใน, ลดอาการเสียวฟัน

    นํ้าผึ้ง


    ช่วยทำให้ชุ่มคอ, ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลเยื่อบุช่องปาก, ช่วยลดคราบหินปูน, ลดแผลในช่องปาก

    มะขามป้อม


    ส่วนของผลที่มีรสเปรี้ยวอมฝาดนิยมเอามาใช้เป็นยา ช่วยละลายเสมหะ, แก้อาการเลือดออกตามไรฟัน, ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

    โหระพา


    สะระแหน่

    ในใบสะระแหน่มีน้ำมันหอมระเหยอย่างเมนทอล ซึ่งเป็นสารที่ให้ความสดชื่นและช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย จึงนิยมนำมาผสมในยาสีฟันที่เราใช้กันทุกวันนี้ และเนื่องจากสะระแหน่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียจึงช่วยดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก ช่วยให้ลมหายใจสดชื่นและรักษาสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้แล้วสะระแหน่ยังช่วยลดอาการปวดฟัน ฟันผุ แผลในช่องปาก อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดกลิ่นปากอีกด้วย

    ผลสำรวจการใช้ยาสีฟันของคนในปัจจุบัน

    จากผลสำรวจ 114 คน เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 72.8 และเพศชายร้อยละ 27.2
    กลุ่มสำรวจอายุตํ่่ากว่า 12 ปี คิดเป็นร้อยละ 72.8
    อายุ 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 21.1
    ที่เหลือเป็นกลุ่มอายุ 31-40 ปี และมากกว่า 40 ปี ตามลำดับจากผลสำรวจพบว่าคนไทยนิยมใช้ยาสีฟันยี่ห้อ คอลเกต มากเป็นอันดับหนึ่ง
    เหตุผลหลักในการเลือกใช้ยาสีฟันคือ คำนึงถึงสุขภาพช่องปาก ความสดชื่นในช่องปาก และคำนึกถึงกลิ่นของยาสีฟัน ตามลำดับ

    สรุปแผนภูมิสำรวจข้อมูลการใช้ยาสีฟันของคนในยุคปัจจุบัน

    จากแผนภูมิข้างต้นสามารถสรุปออกมาได้ว่า จากผู้ตอบแบบสอบถามจานวนวน ๑๑๔ คนส่วนใหญ่มีการใช้ยาสีฟันยี่ห้อคอลเกตมากที่สุด รองลงมาคือเทพไทย ซอลท์ และอื่น ๆ ตามลาดับ จากที่เห็นจะพบว่าในปัจจุบันมีการใช้ยาสีฟันที่เป็นสมุนไพรไม่น้อยไปกว่ายาสีฟันสูตรปกติเลยไม่ว่าจะเป็น เทพไทย ปัญจเวท หรือ กานพลู ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ที่มีการเลือกใช้ยาสีฟันของคนในปัจจุบันคือ ดีต่อสุขภาพช่องปาก, ให้ความรู้สึกสดชื่น, รสชาติดี, ลดอาการของเหงือกอักเสบ, แพคเกจสวยงาม และ มีแพทย์แนะนา ตามลำดับ



    ในปัจจุบันยาสีฟันสมุนไพรนั้นเป็นที่นิยมในระดับหนึ่ง เนื่องจากคนมีความรู้เรื่องสมุนไพรมากขึ้น ร่วมกับการมีผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับยาสีฟันสมุนไพรออกมาสนับสนุน จึงทาให้นับวันยาสีฟันสมุนไพรเป็นที่นิยมมากขึ้น จนบางแบรนด์ที่เป็นยาสีฟันสูตรปกติที่ดัง ๆ ทั่วไปได้ปรับสูตรเป็นสูตรเกลือหรือสูตรสมุนไพรเพิ่มขึ้น เช่น คอลเกต ก็ได้เพิ่มสูตรมาเป็นปัญจเวท และนอกจากนั้นยังทาให้เกิดแบรนด์ยาสีฟันสมุนไพรในท้องตลาดมากขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น เทพไทย ภูมิพฤกษาทิพย์นิยม รวมไปถึงกานพลู

    แบรนด์กานพลู


    แบรนด์กานพลูคือแบรนด์ยาสีฟันสมุนไพรไทยในยุคปัจจุบัน ที่มีส่วนประกอบหลักคือ การบูร นํ้ามันกานพลู เปปเปอร์มิ้นท์ ว่านหางจรเข้ ใบฝรั่ง

    สรรพคุณของยาสีฟันแบรนด์กานพลู

    1. สมานแผลในปาก ลดอาการอักเสบ
    2. ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
    3. ลดการเกิดหินปูน
    4. ลดอาการเสียวฟัน
    5. ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ลดอาการฟันผุ

    สัมภาษณ์แบรนด์กานพลู

    จากการสัมภาษณ์คุณฤดีรินทร์ กิจทวีปวัฒนา กรรมการผู้จัดกำร บริษัท กานพลู (ประเทศไทย) จำกัด ในวันที่ ๒๗ กุมภำพันธ์ ๒๕๖๓ เกี่ยวกับแบรนด์กานพลูและยาสีฟันสมุนไพรในปัจจุบันสรุปข้อมูล
    จากการสัมภาษณ์ได้ดังนี้

    บริษัท กานพลู ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภำพันธ์ ๒๕๕๖โดยกำนพลูเป็นแบรนด์ยาสีฟันสมุนไพรที่       ต้องการเชิดชูวัตถุดิบและวัฒนธรรมของไทย และต้องการเห็นคนไทยมีสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งในปัจจุบันกำนพลูมีเพียงแค่ ๑ สูตรเท่ำนั้น คือสมุนไพรกำนพลูสูตรเข้มข้น แต่จุดเด่นของกำนพลูคือ การทำยาสีฟันสมุนไพรให้เป็นสีขาวเพื่อที่คนจะได้กล้าใช้ ไม่เลอะเสื้อผ้า เพราะปกติแล้วส่วนใหญ่ยาสีฟันสมุนไพรมักจะเป็นสีดำ



    ยุคปัจจุบัน ก็ยังคงมีการใช้สมุนไพรไทยมาดูแลช่องปากเฉกเช่นในอดีต เพียงแต่เมื่อเวลาผ่านไปเพื่อให้มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน จึงได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบจากการใช้สมุนไพรแบบโดยตรงมาเป็นยำสีฟันที่ยังคงส่วนผสมที่เป็นสมุนไพรไว้แทน โดยสมุนไพรไทยที่ได้รับความนิยมในการนิยมนำมาดูแลช่องปากนั้นก็มีหลากหลายชนิด เช่น แก้กลิ่นปากหรือลมหายใจที่มีกลิ่นเหม็น,ใช้แต่งกลิ่นยาสีฟัน







  • ในอนาคตสืบเนื่องจากการสัมภาษณ์คุณฤดีรินทร์ กิจทวีปวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานพลู (ประเทศไทย) จำกัด ทางกลุ่มเราก็ได้สอบถามเพิ่มเกี่ยวกับเเนวโน้มในอนาคตของยาสีฟันสมุนไพรอีกด้วย และสรุปออกมา ได้ว่า ในอนาคตเพื่อให้ยาสีฟันสมุนไพรนั้นทันสมัยเเละเข้าถึงทุกเพศทุกวัยมากยิ่งขึ้น อาจมีการปรับกลิ่น และเพิ่มสีสันให้น่าสนใจมากขึ้น สามารถส่งออกไปตีตลาดในหลากหลายประเทศ และมีผู้สนใจใช้ยาสีฟัน สมุนไพรมากขึ้น และนอกจากนั้นในอนาคตคาดว่ายาสีฟันสมุนไพรจะสามารถตีตลาดและเพิ่มยอดขายได้ อย่างแน่นอน เพราะในปัจจุบันกลุ่มลูกค้าทางยุโรป อเมริกา รวมถึงเพื่อนบ้านของเราก็มีความสนใจในยาสี ฟันสมุนไพรไทยมาก ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์กานพลู ตอนนี้ก็ได้มีการส่งออกไปประเทศจีน ประเทศรัสเซีย ที่ผ่านมาทางแบรนด์ได้ไปออกบูธที่ประเทศไต้หวัน และในเดือนหน้าจะมีออกบูธที่ประเทศพม่าอีกด้วย

  • บทสรุปจากการศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่นำมาใช้กับช่องปากตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคตเห็นได้ว่ามีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง จากอดีตที่ไม่มีนวัตกรรมที่ทันสมัยคนสมัยนั้นจึงใช้สมุนไพรที่หาได้ทั่วๆไป เช่น ต้นข่อย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งมาใช้ในการขัดฟันแทนการแปรงด้วยแปรงสีฟัน เมื่อเวลาผ่านไปก็ได้เปลี่ยนรูปแบบ แต่ยังคงส่วนผสมที่เป็นสมุนไพรอยู่ ซึ่งปัจจุบันพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เริ่มมียาสีฟันที่ผสมสมุนไพรมากขึ้นจากช่วงก่อน และแนวโน้มในอนาคตของยาสีฟันก็ยังจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ยาสีฟันสมุนไพรทันสมัยกับทุกเพศ ทุกวัย ปรับแต่งกลิ่น เพิ่มสีสันให้น่าสนใจ และมีการส่งออกสมุนไพรไทยไปสู่ต่างประเทศมากขึ้นอีกด้วย

  • บรรณานุกรม
    คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (๒๕๕๑). สมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพช่องปาก. กรุงเทพฯ:                          คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 
    ไทยโพสต์. (๒๕๕๗). ยาสีฟันสมุนไพรธรรมชาติ สุขภาพช่องปากที่เลือกเองได้. สืบค้น ๑๗ มกราคม                          ๒๕๖๓, จาก https://health.kapook.com/view86409.html 
    นิสา. (๒๕๖๑). ๘ สมุนไพรดี ของมันต้องมีใน “บุพเพสันนิวาส”. สืบค้น ๑๖ มกราคม ๒๕๖๓,
                      จากhttps://goodlifeupdate.com/healthy-body/82638.html
    ปัจภรณ์ วงศ์วิทยากูล. (๒๕๕๗). พืชสมุนไพรใกล้เหงือกและฟัน. สืบค้น ๑๗ มกราคม ๒๕๖๓,
          จากhttp://www.dentistry.tu.ac.th/Dentistry/Page%20Knowledge/Text/21-4-57.pdf
    ภทรพรรณ อุณาภาค, และสิริรัตน์ ราษฎร์ดุษดี. (๒๕๔๙). การพัฒนาตำรับยาสีฟัน สมุนไพร
                       (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศำสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.                                ฤดีรินทร์ กิจทวีปวัฒนา. ๒๕๖๓. กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานพลู (ประเทศไทย) จำกัด. 
                       สัมภาษณ์, ๒๗ กุมภาพันธ ์ ๒๕๖๓.
     สมตระกูล ราศิริ, ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์, ธิติรัตน์ ราศิริ, และนิพนธ์ แก้วต่าย (๒๕๖๐). กรใช้สมุนไพรบรรเทำโรคในช่องปาก. วารสารทันตาภิบาล, ๒๘
  • คณะผู้จัดทำ นิสิตชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขต
    บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ๐๑๙๙๙๐๒๑ ไทยศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒
     ๖๒๑๑๑๐๑๓๙๒ นายกษิดิ์เดช       ลิ่วธนโชษิตกุล        ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์ 
     ๖๒๑๑๑๐๑๔๓๑ นายธนกร            ธนภูมิสุรกุล            ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์ 
     ๖๒๑๑๑๐๓๑๒๓ นายชนม์ชนก      กุลบุตร                   ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์ 
     ๖๒๑๑๑๐๓๑๔๐ นางสาวชลดา      ชมกลิ่น                  ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์ 
     ๖๒๑๑๑๐๓๒๔๗ นางสาวนภศิริน  อินทรปัญญา          ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์ 
     ๖๒๑๑๑๐๓๒๖๓ นายพริสร            อุปพงษ์                  ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์ 
     ๖๒๑๑๑๐๓๓๑๐ นางสาวภัทราพร   ยงวิภา                  ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์
     ๖๒๑๑๑๐๓๓๔๔ นางสาวเยาวเรศ  น้ำทองคำ              ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์ 
     ๖๒๑๑๑๐๓๓๗๙ นางสาววรญา      วรกำกุล                ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์
     ๖๒๑๑๑๐๓๔๙๒ นางสาวกัญจน์วรัศม์  รัตนรัตน์          ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์
     ๖๒๑๑๑๐๓๕๕๗ นางสาวณัฐณิชา  ทองอยู่เลิศ             ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์ 
     ๖๒๑๑๑๐๓๕๘๑ นางสาวนภัสวรรณ์ บุญชู                    ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์
     ๖๒๑๑๑๐๓๕๙๐ นางสาวนภาพร    สิทธิจิรวัฒนกุล       ชั้นปีที่ ๑ คณะมนุษยศาสตร์
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in