เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First Storyexocbx1cb
อนุรักษ์สัตว์ป่าหายาก
  •        สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่าซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขายต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปสัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้นประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับ     ความร่วมมือระหว่างประเทศในการควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่หรือ CITESซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2535 ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2535

    สัตว์ป่าเหล่านี้เป็นสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์  อย่างเช่น



  • ลิ่น(1758 -)

    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวในโลกที่มีเกล็ดนั่นคือ ลิ่น/ตัวนิ่ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Manis pentadactyla (Linnaeus,1758) และยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีการซื้อขายสูงสุดในตลาดมืดอีกด้วย

    ลิ่นทั้งหมดมีอยู่ด้วยกัน 8 ชนิดสามารถพบในประเทศไทยได้ 2 ชนิด คือลิ่นซุนดาและลิ่นจีน โดยลิ่นจีนจะมีลักษณะสีคล้ำกว่าพวกมันถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและไม่สามารถนำเข้าหรือส่งออกทั้งตัวและซากสัตว์ได้ ส่วน IUCN RedList จัดให้ลิ่นทั้งสองสายพันธุ์นี้อยู่ในเกณฑ์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (criticallyendangered – CR)

    ลิ่นนั้นไม่มีทั้งขากรรไกรและฟันมันกินอาหารด้วยลิ้นยาวๆ แลบออกมาตวัดจับมด แมลง และปลวกตามพื้นดินเข้าปากเป็นอาหารโดยการออกลูกแต่ละครั้งจะตกครั้งละ 1-2 ตัวเมื่อโตขึ้นเกล็ดที่หนาสามารถห่อหุ้มตัวจะกลายเป็นเกราะป้องกันภัยอันตรายขณะที่พวกมันมีนิสัยรักสงบ ไม่ชอบต่อสู้เมื่อเจอภัยมันจึงม้วนตัวขดไว้ใต้เกราะเกล็ดทำให้ถูกมนุษย์ล่าได้อย่างง่ายดาย

    จากกองไซเตสกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในรอบ 10 ปี ระหว่างปี 2008-2017 พบว่าตรวจยึดลิ่นมีชีวิตได้จำนวน 3,649 ตัวซากลิ่น 38 ซาก เนื้อลิ่น 4.5 กิโลกรัม และเกล็ดลิ่น 767.9 กิโลกรัม

    เพราะค่าความเชื่อเกี่ยวกับลิ่นยังคงมีอยู่ทั้งสรรพคุณทางยาอายุวัฒนะ เพิ่มประสิทธิภาพทางเพศเหล่าขบวนการค้าสัตว์ป่าจึงตอบสนองตามใบสั่งด้วยการล่าสิ่งนี้เองเป็นสาเหตุทำให้ลิ่นลดจำนวนลงเรื่อยๆ

    ไม่เพียงภายในประเทศไทยเท่านั้นที่ลิ่นกำลังลดประชากรลงเพราะประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว เขมร และเวียดนามก็ลดจำนวนลงจนแทบจะสูญพันธุ์เช่นกัน

     

    Photographer : Jefri Tarigan
    news.thaipbs.or.th/content/260292
    www.iucnredlist.org/details/12764/0

     


  •  


    เต่ามะเฟือง(1761-)

    เต่ามะเฟืองเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเพราะเมื่อโตเต็มวัยแล้วกระดองจะมีขนาดความยาวถึง 2.5 เมตรและหนักกว่า 1 ตันพวกมันใช้เวลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเลลึก ตามรายงานของ Lutcavage and Lutz ปี 1997 กล่าวว่าเต่ามะเฟืองสามารถดำน้ำลึกได้มากถึง 1,000 เมตรเลยทีเดียวและบางครั้งพวกมันชอบลงไปหาอาหารใต้พื้นทะเลโดยกินพืชและสัตว์ที่ลอยละล่องมาตามน้ำ แต่จะชื่นชอบพวกแมงกระพรุนเป็นพิเศษพวกมันจึงอาศัยอยู่ในทะเลเปิด

    เต่ามะเฟืองในประเทศไทยนั้นเรียกได้ว่าอยู่ในขั้นวิกฤตมากและไม่พบการวางไข่มาหลายปีจากเดิมที่มักมาวางไข่ทุกๆ ปี แต่เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนเต่ามะเฟืองก็เปลี่ยนพฤติกรรมไม่ขึ้นมาวางไข่เช่นดังเดิมความเปลี่ยนแปลงเข้ามาเยือนพื้นที่การท่องเที่ยวในลักษณะที่รบกวนความสงบเพิ่มมากขึ้นเต่ามะเฟืองจะทำเช่นไรเมื่อแหล่งวางไข่ที่เหลือเพียงน้อยนิดในประเทศไทยไม่สงบอีกต่อไป

    นี่ยังรวมไปถึงปัญหาขยะทะเลที่เหล่าเต่าทั้งหลายกินพลาสติกเข้าไปเพราะชิ้นส่วนเหล่านั้นมีลักษณะคล้ายแมงกระพรุนที่เป็นอาหารสุดโปรดจนทำให้พวกมันก็ต้องตาย

    พลังแห่งการอนุรักษ์คนละไม้คนละมือช่วยกันผลักดันเพิ่มเต่ามะเฟืองให้กลายเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวนชนิดใหม่ของไทยตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.. 2535 ที่คณะรัฐมตรีได้อนุมัติตามหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายนปีที่ผ่านมา

    แต่กระทั่งปัจจุบันนี้เต่ามะเฟือง ผู้ถูกจัดให้เป็นสัตว์มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable – VU) โดย IUCN Red List ก็ยังค้างเติ่งได้ราวปีครึ่งและสถานะของเหล่าเต่ามะเฟืองก็ยังเป็น “ว่าที่สัตว์สงวน” เรื่อยมา

    ก็ไม่รู้ว่าเจ้าเต่ามะเฟืองจะต้องรอไปอีกนานแค่ไหนกว่าตัวเองจะถูกบรรจุในรายชื่อสัตว์สงวนและกฎหมายมีผลบังคับใช้ที่จะสามารถคุ้มครองชีวิตของพวกมันได้เอาเป็นว่าระหว่างนี้ช่วยกันรักษาความสะอาดพื้นที่ชายฝั่งและท่องเที่ยวโดยไม่รบกวนระบบนิเวศกันต่อไป

    Photographer : Michael Patrick O’Neill
    เต่าทะเลไทย: ชนิด ชีววิทยา การศึกษาและการอนุรักษ์ – goo.gl/HEbJby
    ชันสูตรซากเต่ามะเฟืองพบถุงพลาสติก – goo.gl/KXYFFh
    www.iucnredlist.org/details/6494/0

     

     


  • นกแต้วแล้วท้องดำ(
    1875-)

    นกแต้วแล้วท้องดำชื่อวิทยาศาสตร์ Hydrornisgurneyi (Hume, 1875) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1875 ซึ่งความสวยงามของเจ้านกชนิดนี้ทำให้ได้รับการจัดอันดับอยู่ใน 1 ใน 30 ชนิดสวยที่สุดของโลก

    ในเวลาต่อมาเนื่องจากไม่พบเจออีกจึงเข้าใจแล้วว่ามันได้สูญพันธุ์ไปโลกแล้ว กระทั่งปี 1986 ผศ.ดรฟิลลิปป์ดี ราวน์ และคุณอุทัย ตรีสุคนธ์ได้พบนกแต้วแล้วท้องดำในพื้นที่ป่าที่ราบต่ำเขานอจู้จี้ จังหวัดกระบี่ อีกครั้ง

    ในอดีตนกแต้วแล้วท้องดำมีเขตการกระจายค่อนข้างกว้างแต่ปัจจุบันพื้นที่ถูกจำกัดลงเหลือเพียงทางตอนใต้ของไทยและแถบเขตเทือกเขาตะนาวศรี (Tenasserim) และทางตอนใต้ของประเทศพม่า

    พฤติกรรมการหากินจะหากินตามพื้นดินบริเวณป่าพื้นที่ราบลุ่มต่ำเป็นนกประจำถิ่น ไม่มีการอพยพฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าสาเหตุหลักของการลดจำนวนลงคือการเสียบ้านที่อยู่อาศัยจากการตัดไม้ทำลายป่า การบุกบุกพื้นที่เพื่อทำการเกษตรในการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันและยางพารา

    อีกมีกรณีการล่าการค้าสัตว์ป่าและศัตรูในธรรมชาติ ได้แก่ งู กระรอก ตัวเงินตัวทอง เป็นต้น สิ่งต่างๆเมื่อนำมาประกอบกันแล้วเป็นเหมือนการเร่งกระบวนการให้นกแต้วแล้วท้องดำสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติเร็วยิ่งขึ้น

    ซึ่งในประเทศไทยนกแต้วแล้วท้องดำถูกจัดให้เป็น 1 ในสัตว์ป่าสงวนของไทยจำนวน 15 ชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และ IUCN Red List ได้จัดให้นกแต้วแล้วท้องดำอยู่ในเกณฑ์ใกล้สูญพันธุ์ (endangered – EN) โดยรวมนั่นหมายถึงการห้ามล่าห้ามเก็บ ห้ามทำอันตรายหรือมีรังของนกแต้วแล้วไว้ในครอบครอง

    เมื่อปีที่ผ่านมามีข่าวครึกโครมเรื่องของนกแต้วแล้วคู่สุดท้ายของไทยได้เข้าโครงการฟื้นฟูประชากรนกแต้วแล้วท้องดำที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประบางคราม จังหวัดกระบี่หลังพบนกตัวเมียหนึ่งตัวในป่าธรรมชาติ

    Photographer : mommam
    www.nationtv.tv/main/program/378502264
    www.iucnredlist.org/details/22698628/0

     

     


  • พะยูน (1776 -)

    พะยูนชื่อวิทยาศาสตร์ Dugongdugon (M?ller, 1776) ได้ถูกค้นพบและตั้งชื่ออย่างเป็นทางการในปี 1776 พวกมันถือเป็นสัตว์โบราณที่ใกล้สูญพันธุ์และสามารถพบเจอได้ค่อนข้างยาก

    ปัจจุบันพะยูนเหลืออยู่ประมาณ 200 ตัวแถบบริเวณฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ส่วนมากอยู่ในจังหวัดตรัง

    โดยเฉลี่ยแล้วพะยูนมีอายุยืนยาวถึง 70 ปีแต่การเรามักจะพบตายทุกๆ ปีซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเครื่องมือประมงที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเราอาจพบเจอพะยูนที่บังเอิญไปติดอวนจนขาดอากาศหายใจตายรองลงมาคือการเจ็บป่วยตามธรรมชาติ

    ขณะที่ปัจจัยเรื่องแหล่งอาหารซึ่งหากระบบนิเวศหญ้าทะเลถูกทำลายหรือได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะด้วยการปล่อยของเสียการถมที่หรือปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ชายฝั่งจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้แหล่งอาหารของพะยูนร่อยหรอ

    เมื่ออาหารเหลือน้อยหรือมีปัญหาผลกระทบย่อมสะเทือนไปถึงพะยูนทำให้พวกมันได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายส่งผลเสียต่อการสืบพันธุ์ และความอ่อนแอของรุ่นลูกจนกระทั่งลดจำนวนลง

    ในช่วงชีวิตหนึ่งนั้นพวกมันสามารถออกลูกได้เพียงแค่ 10 ตัวเท่านั้นโดยใช้เวลาตั้งท้อง 13-18 เดือนครั้งละ 1 ตัวจากที่พะยูนจำเป็นต้องใช้เวลาและออกลูกได้จำนวนน้อย หากมีปัจจัยอื่นๆคุกคามเพิ่มมากขึ้น ก็จะยิ่งทวีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของพะยูนในไทยได้

    ขณะนี้พะยูนเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวนและอยู่ในบัญชี 1 ของบัญชีไซเตสซึ่งห้ามล่าห้ามค้าโดยเด็ดขาด และใน IUCN Red List ได้จัดพะยูนให้อยู่ในเกณฑ์มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable – VU) แต่เรายังสามารถเห็นข่าวพะยูนได้เรื่อยๆซึ่งในส่วนประเด็นเรื่องการล่าพะยูนนั้น ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พยายามอย่างยิ่งที่จะดำเนินแนวทางเพื่อปกป้องอย่างกวดขันมากขึ้น

    Photographer : DOUG PERRINE
    www.matichon.co.th/news/698894
    www.iucnredlist.org/details/6909/0

     


  • นกชนหิน (1776 -)

    นกชนหินชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinoplaxvigil (Forster, 1781) ถือเป็นสัตว์โบราณและเชื่อกันว่ามีความเก่าแก่ถึงขนาดเรียกได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของนกเงือกแห่งเอเชียที่ยังคงมีชีวิตอยู่มาจนถึงปัจจุบันอาศัยในป่าดงดิบ และกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตอนใต้ของไทย บางส่วนของพม่าเรื่อยไปจนถึงมาเลเซีย และอินโดนีเซีย

    นกชนหินเป็นนกที่มีลักษณะแปลกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเองมีจุดเด่นอยู่ตรงโหนกที่ตันต่างจากนกเงือกชนิดอื่น และนั่นเองทำให้ถูกมนุษย์ตีราคาอวัยวะชิ้นนี้ไม่ต่างจากงาช้างโดยให้ชื่อว่า “งาช้างสีเลือด” กลายเป็นสิ่งดึงดูดใจผู้มีความเชื่อผิดๆนิยมบูชางาเป็นวัตถุมงคลแห่งความมั่งคั่ง

    การล่าพ่อนกหนึ่งตัวนั่นหมายถึงการฆ่ายกครัวเพราะแม่และลูกที่ยังไม่ฝักออกมาจากไข่หรือมีอายุยังน้อยจะไม่สามารถหาอาหารกินเองได้

    นอกจากกิจกรรมการล่าแล้วนกเงือกยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ยังคงคุกคามพวกมันอย่างต่อเนื่อง ทั้งศัตรูตามธรรมชาติภาวะการขาดแคลนโพรง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่ออาหารของนกและการทำลายถิ่นอาศัยตามธรรมชาติจากเงื้อมมือมนุษย์

    สิ่งที่นกชนหินพอจะเป็นให้มนุษย์ได้คงไม่ใช่ชิ้นส่วนวัตถุแห่งความมั่งคั่งร่ำรวยเงินทองแต่เป็นความมั่งคั่งด้านความหลากหลายของพันธุ์ไม้ที่พวกมันคอยเก็บเกี่ยวและช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์พืชให้นั่นเอง

    ในเรื่องเศร้าก็ยังมีเรื่องน่ายินดีอยู่บ้างที่วันนี้ยังมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามที่จะอนุรักษ์เหล่านกเงือกไว้มิให้สูญพันธุ์อาทิการที่พวกมันสร้างโพรงเองไม่ได้ต้องไปอาศัยโพรงมือสองตามต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่และสูงพอให้พวกมันได้เข้าไปอาศัยมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกพยายามศึกษาพัฒนาการสร้างโพรงรังให้นกเงือกได้ในที่สุดอีกทั้งหลายฝ่ายได้พยายามทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มแข็ง

    แต่อย่างไรก็ตามนกชนหินเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 และอนุสัญญาไซเตสจัดเอาไว้ในบัญชีที่ 1 ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายรวมถึง IUCNRed List ได้จัดให้นกชนหินอยู่ในเกณฑ์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (critically endangered –CR) ดังนั้นนอกจากการพยายามไม่สร้างผลกระทบต่อถิ่นที่อยู่ของพวกมันแล้วเรายังสามารถเรียนรู้ที่จะเข้าใจ และพยายามลบล้างค่านิยมผิดๆ ให้หมดสิ้นไปจากสังคม

    “Today HORNBILLS, Tomorrow YOU – วันนี้เราสร้างปัญหาให้นกเงือกในอนาคตธรรมชาติจะย้อนกลับมาทำลายเรา” – .ดร.พิไลพูลสวัสดิ์ นักอนุรักษ์นกเงือกไทย 

    Photographer : Hans Hazebroek

    Credit : https://www.seub.or.th/bloging/

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Tungngen Sutthicha (@fb6324251772999)
❤️