เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เด็กสาวเอย นี่ไม่ใช่ความผิดของเธอsunrise king
ลูกสาวไม่เคยรู้สึกดีพอ เพราะแม่เป็น narcissist
  • 0

    ตกผลึกยาขมได้ว่า 
    "ไม่ใช่พ่อแม่ทุกคนที่รักลูก (เพราะไม่ใช่ทุกคนที่รักเป็น) แต่ลูกทุกคนรักพ่อแม่ เพราะเขาเกิดมาก็มีแค่ที่พึ่งเดียวท่ามกลางโลกที่แสนแปลกใหม่ น่ากลัว และโหดร้ายใบนี้"

    0.5
    ในสังคมที่พร่ำอวยว่าพ่อแม่เป็นบุคคลดีงาม ปราศจาก flaws ใดๆ เราค้าน ค้านในแง่ที่ไม่มีสิ่งใดหรือใครที่ perfect เราไม่ได้บั่นทอนในแง่ที่หน้าที่ของการเป็นพ่อคนแม่คนนั้นยาก แต่การนำปัญหาในครอบครัวหยิกยกขึ้นมาพูดก็เป็นสิ่งที่ควรทำ อะไรที่ไม่ดีก็ควรมีการ reflect เพื่อปรับให้ดีขึ้นได้ การละเลยหรือปฏิเสธด้วยการบอกว่า you ungrateful kid! ไม่ใช่การแก้ปัญหา พุทธศาสนาในสังคมไทยที่บอกว่าห้ามเถียงพ่อแม่ เราก็ยังไม่เห็นมี priest คนไหนออกมาบอก ว่าทำไมพ่อแม่ถึง abuse เราทางวาจา และในบางครอบครัวถึงกับลงไม้ลงมือจนลูกอาการสาหัส เราจะตายไปเป็นเปรต เราจะเป็นบาป แล้วต้นเหตุเกิดจากอะไร? เราเคยสาวไส้มันออกมาดูหรือเปล่าว่าทำไมเด็กถึงแสดงผลลัพธ์เช่นนั้น? 

    การปล่อยให้ domestic abuse ดำเนินต่อไปในสังคมเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือเปล่า?

    1

    เรารู้สึกว่าข้างในตัวเองมีบางอย่างผิดปกติมาตั้งแต่เด็ก

    มันเป็นโพรง ตรงที่ที่เป็นของจิตวิญญาณและบางส่วนของกายหยาบ เป็นช่องว่าง โหวง ไม่ว่าจะไปที่ไหน ไม่ว่าจะเปลี่ยนสถานที่อยู่ตามการเดินทางของช่วงอายุ ไม่ว่าจะรายล้อมด้วยคนมากหน้าหลายตาขนาดไหน เจอเพื่อนสนิทที่สะสมตั้งแต่เด็กจนอายุมากขึ้นมาสักเท่าไหร่ สุดท้ายกลับมาที่ห้อง ความรู้สึกราวกับเดินหลงคนเดียวท่ามกลางอวกาศเว้งว้าง ไร้ค่า ท่อนนั้นของเคธี่ เพอร์รีที่บอกว่าเป็นถุงพลาสติกที่ลอยในอากาศ เปราะบาง ราวกับถูกทั้งโลกหันหลังทอดทิ้ง

    ไม่รู้จะหันไปหาใคร คุยกับที่บ้าน เขาก็ฟัง แต่เขาไม่เข้าใจ

    หรือกูผิดเองวะที่ over sensitive?

    ทำไมเขาอยู่ตรงนั้นกับเรา แต่เรากลับรู้สึกไม่มีใครเลย?

    คุยกี่ทีก็ไม่ได้รู้สึกได้รับการ validated ในสิ่งที่รู้สึก กูผิดปกติอะไรป้ะเนี่ย?

    เราอ่านหนังสือ self-help กี่เล่มต่อกี่เล่มไม่รู้ในชีวิต ดีขึ้นประเดี๋ยวประด๋าว พยายามแล้วแต่เหมือนพายเรือในอ่าง การเจริญเติบโต mentally and spiritually ถูกฟรีซในทุนดราที่ไม่มีสิ่งใดโต 

    เราผ่านช่วงนั้นมาได้ด้วย auto pilot คิดว่าตัวเองเป็นซึมเศร้า 

    จากนั้นหลายปีผ่านมา หนังสือเล่มหนึ่งราวกับกุญแจของจักรวาลที่ไขความลับ, บอกทุกคำตอบที่เราสงสัยและสับสนงุนงงมาตลอด

    เป็นเช่นความบังเอิญที่ประสบพบหมอที่ intuitive โคตรแม่นยำ ชี้ๆๆๆๆจุดที่เราคัน แล้วบอกอาการพร้อมชื่อโรค เขียนใบสั่งยาให้พร้อม

    เหี้ย

    เราอุทานแทบทุกหน้าเลยมั้ง ความทรงจำในอดีตหลั่งไหลกลับมาเพื่อให้ทบทวนว่าเพราะเหตุการณ์เหล่านั้นใช่มั้ย เราถึงเป็นแบบนี้

    2

    ชื่อหนังสือเล่มนั้นคือ will i ever be good enough: healing the daughters of narcissistic mothers ของคุณจิตแพทย์ karyl mcbride ตัวเธอเองก็ถูกเลี้ยงมาโดยแม่ที่เป็น narcissist เช่นกัน เธอมี insights และประสบการณ์มากมายใน topic นี้ รวมถึงมีเรื่องราวจาก tribe ของลูกสาวที่ประสบ childhood traumas โดย narcissist mothers 

    (เท่าที่เข้าใจนะคะ ยังไงลองรีเสิชเพิ่มเติมได้ หรือถ้ามีข้อมูลตรงไหนผิดไป คอมเม้นบอก แลกเปลี่ยนข้อมูลกันค่ะ) 

    เริ่มจาก narcissistic personality disorder จะมี traits หลักๆดังนี้: 

    - sense of self importance จะใหญ่เกินความเป็นจริง คิดว่าตัวเองเป็นคนสำคัญ ต้องมีคนใหญ่คนโตมาต้อนรับขับสู้ ต้องได้รับการปฏิบัติที่พิเศษกว่าคนอื่น 

    - มีแฟนตาซีที่ unrealistic เกี่ยวกับความสำเร็จ, อำนาจ, ความรัก 

    - ต้องการความรักขนานใหญ่ อารมณ์ต้องได้รับความสนใจตลอดเวลา (ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้เลยในโลกความเป็นจริง)

    - ลึกๆข้างในเป็นพวก exploitative ชอบเอาเปรียบคน

    - ไม่มี empathy; ไม่สนใจความต้องการของคนอื่น เ ล ย นอกจากตัวเอง

    - อิจฉาคนอื่น ไม่ก็คิดว่าคนอื่นอิจฉาตัวเอง 

    (การจะชี้ชัดว่าใช่มันต้องผ่านการทดสอบจากจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ แต่มันทำงานเป็น spectrum อะ คือไม่ถึงเป็นโรค แต่ถ้า traits พวกนี้หนักๆเข้า ก็สร้างความเสียหายได้เยอะเหมือนกัน)

    เอาล่ะ ต่อมา

    แม่เราแม่ง ติ๊กถูกแทบหมดทุกข้อ

    เหมือนกับแค่นั้นยังว้าวไม่พอ

    เพราะคุณหมอเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างแม่ narcissistic-ลูกสาว ไว้ว่า (ขอยาตย่อเป็นแม่นาร์ฯ)

    - ทำไมถึงยกเป็น daughters มาพูดล่ะ? เพราะแม่นาร์จะเห็นลูกสาวมากกว่าลูกชาย เหมือนลูกสาวเป็น reflection เขาจะปฏิบัติกับลูกสาวตัวเองเหมือนเป็นส่วนขยายของตัวเอง เลยเอาแรงกดดันกดทับไว้ที่ลูก คอย correct และ harshly judge ไม่ได้คิดว่าลูกเป็นมนุษย์อีกคนที่มีความรู้สึกและนึกคิดเป็น ลูกสาวที่โตมาจะไม่ได้รับการ validate หรือ approve ใดๆ เลยต้องคอย serve ให้แม่พอใจอยู่ตลอดเวลา เพราะคิดว่านั่นคือ act of love แต่ไม่เคยทำให้แม่พอใจได้เลย

    - dynamic ระหว่างแม่นาร์-ลูกสาวจะเป็นแบบที่ ลูกสาวต้องเลี้ยงแม่ตัวเอง เพราะแม่ต้องการความสนใจตลอดเวลา ต้องรับใช้ให้แม่พอใจตลอดเวลา เพราะแม่ไม่ได้สนใจลูก, ความรู้สึก, หรือความต้องการของลูก แม่สนใจแต่เรื่องตัวเอง เช่น สถานการณ์ a) ลูกร้องไห้เพราะเรื่องบางอย่าง แม่นาร์จะ ignore ลูกและ shift ความสนใจกลับไปที่ตัวเองว่า ทำไมลูกถึงต้องทำวันดีๆพังด้วยเนี่ย?! (จากประโยค มันคือการมองจากความรู้สึกของแม่ ไม่ใช่โฟกัสไปที่ลูก) ทั้งๆที่เธอควรถามลูกว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมลูกถึง upset? ลูกต้องการอะไร? มีอะไรที่ unfulfilled หรือเปล่า? สถานการณ์ b) แม่ปฏิเสธความต้องการหรือความรู้สึกของลูกด้วยการบอกว่า "แกมีหลังคาคุ้มกะลาหัว มีเสื้อผ้าให้ใส่ มีอาหารให้กิน แกยังจะเอาอะไรอีก?"

    - ลูกสาวของแม่นาร์จะโตมาโดยที่ insecured, มี low self esteem, กลัวการถูกทอดทิ้ง, ไม่กล้าตัดสินใจเพราะกลัวแม่ judge หรือ even ซ้ำเวลาล้มเหลว, sense of self ไม่ชัดเจนเพราะถูกบงการตลอดว่าอันไหนทำได้หรือไม่ได้, รู้สึกว่างเปล่า ไม่ถูกรัก ไม่รู้สึกดีพอเสียที doubt ตัวเองเสมอๆ ถูกเชปให้เป็น natural people pleaser และ good girl เพราะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ได้ความรักและ respect ที่เรา crave มาตลอด

    - PHONY -- แม่นาร์สนแต่ภาพลักษณ์ ไม่ได้สนใจความรู้สึกของลูกสาวจริงๆ ก็คือ picture perfect ครอบครัวตัวเองดีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ข้างในเน่าหนอน

    - แม่นาร์อิจฉาลูก อาจแสดงออกโดยการพูดเสียดสีเวลาลูกสาวใช้เวลากับพ่อ หรือใช้คำพูดตำหนิเรื่องรูปลักษณ์ของลูกสาว ไม่ต้องการให้ลูกสาวเด่นกว่าตัวเอง ในบางกรณียังประชันความสวยกับลูกอีกด้วย

    - แม่นาร์จะไม่สนับสนุน/ไม่พอใจ เวลาลูกซัพพอร์ตเฮ้วตี้ช้อยสในชีวิต โดยเฉพาะถ้ามันไปคุกคามเซฟโซนของเธอ มีลูกสาวคนนึงที่เล่าว่าแม่เธอไม่ยอมไปงานจบการศึกษาเพราะทนไม่ได้ที่ลูกประสบความสำเร็จ

    - ทุกเรื่องในบ้านขึ้นอยู่กับแม่ ทุกอย่างหมุนรอบแม่ โดยเฉพาะพ่อ/พาร์ทเนอร์ที่ pair มากับแม่นาร์ มี 2 ประเภท ถ้าไม่หย่ากัน ก็เป็นพ่อที่ยอมสยบต่อการ abuse ของแม่ เพราะฉะนั้น พ่อจะเป็นคนกลาง พยายามไม่ให้เกิดการทะเลาะทุ่มเถียงกัน/ rock the boat ซึ่งลูกสาวอาจเกิด frustration และคำถามว่า ทำไมพ่อไม่ปกป้องหนูบ้างล่ะ? ทำไมหนูต้องเป็นคนยอมตลอดเวลาล่ะ? พ่อไปอยู่ที่ไหนเวลาแม่ด่า/ตัดสิน/ทำร้ายจิตใจหนู? dynamics ในบ้านอาจทำให้คนแตกกัน แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ในบางครอบครัวที่แย่ยิ่งกว่านั้น พ่ออาจโทษลูกสาวอีกว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้บ้านไม่สงบสุข

    - แม่นาร์จัดการกับความรู้สึกตัวเองไม่ได้ มีอะไรเลยต้องลงที่คนอื่น/โทษคนอื่นเสมอ เพราะแม้แต่เธอยังไม่กล้าลงไปสำรวจ emotions ของตัวเองเลย emotional relationship กับลูกสาวจึงมีน้อยมากๆ

    - ลูกสาวที่โตมาจะไม่มี boundaries หรือ privacy กับแม่เลย เพราะแม่นาร์ไม่อยากให้ลูกสาวเป็น independent individual แม่อาจจะเล่าเรื่องไม่น่าเล่า เช่น เรื่องน่าอายของลูกสาวให้คนอื่นฟังโดยไม่ได้รู้สึกทุกข์ร้อน

    - ลูกสาวมีแนวโน้มที่จะเกลียดคนไม่จริงใจ / liars เพราะแม่ชอบจัดพาเหรดผักชีโรยหน้า, แสดงให้คนอื่นดู

    - ลูกสาวมีแนวโน้มที่จะดึงดูด other narcissists เข้ามาในชีวิต รวมถึงถูกถ่ายทอด narcissistic traits พ่วงมาด้วย

    ฯลฯ

    โอเค อันนี้เป็นใจความครา่วๆ ถ้าใครไม่อยากตกหล่น แนะนำให้อ่านหนังสือ จริงๆ ละเอียดกว่าและมีตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นได้ชัดกว่า childhood traumas พวกนี้มันเป็นสิ่งที่ go undetected ได้อะ อย่างเราก็เพิ่งมารู้ พอรู้ปุ๊บ เหมือนทุกอย่างมันจ้าไปหมด ห้องมืดๆข้างในเปิดสวิตซ์กันให้รึ่ม เห็นแผลเหวอะหวะ รวมทั้งข้าวของสกปรกรกรุงรังทางอารมณ์ที่ตัวเองต้องทำความสะอาดและรักษา

    คือเราโฟกัสผิดที่มาตลอด

    ยาผิดขนาน ไปรักษาแผลที่ตกสะเก็ด แผลตื้นๆ โดยไม่ได้รู้ตัวเลยว่าแผลฉกรรจ์ใกล้หัวใจถูกละเลยจนแมลงเริ่มวางไข่

    นี่เลยเหมือนเป็น awakening ที่ทำให้เราสามารถเติบโตทางจิตวิญญาณได้ต่ออย่างรวดเร็วมากๆ โปรเกรสการเติบโตทุกด้านพุ่งพรวดๆ อารมณ์แบบ ที่ผ่านมามีท่อนไม้มากั้นอะ น้ำเลยไหลไม่ได้

    3

    วิธีฮีลหลักๆคร่าวๆ สรุปมาแน้ว

    - ยอมรับก่อน ว่าแม่เราแม่ง incapable of love เว้ย คือเขารักตัวเองไม่ได้อะ เลยรักคนอื่นไม่ได้ไปด้วย แล้วพาลฟาดงวงฟาดงาเพราะความไม่มีความสุขทางใจ เพราะเขาไม่รู้ (หรือปฏิเสธที่จะไม่รับรู้) เพราะเขาไม่ยอม break family curse ไม่ยอมที่จะเติบโต ยอมรับว่าเราไม่ได้มีแม่ที่ nurturing, caring อย่างที่สังคมวาดภาพไว้นะ เราไม่ได้มีเขาเป็นเซฟโซน และแม่เรามีแนวโน้มว่าจะไม่เปลี่ยน เพราะงั้นเราต้องยอมรับด้วยว่าการพยายามที่จะเอาชนะความรักเขามาให้ได้จะไม่ได้ผล ไม่ว่าจะ put efforts เท่าไหร่ เราก็เปลี่ยนให้เขากลายมาเป็น loving mother ไม่ได้

    - GRIEVE เสียใจซะให้พอที่เราไม่มีแม่ที่เป็นเซฟโซน ถ้าเรามีแม่เป็นนาร์ เรามีแนวโน้มจะไม่ค่อยแสดงอารมณ์ได้อย่างถูกที่ถูกทางอะ เพราะที่ผ่านมาถูกกักกดเอาไว้เสมอ อย่างคุณจิตแพทย์คือตอนไม่มีใครอยู่บ้าน เขาปิดม่าน แล้วร้องไห้ใส่หมอนในห้อง every once in a while

    - ไปเทอราปีกับแม่ -- คุณจิตแพทย์เขาบอกว่า มีส่วนน้อยมากๆที่ยอมเข้าการรักษาเพื่อที่จะฮีลความสัมพันธ์กับลูกสาว คนไข้บางรายคือ ไปเทอราปีกับลูกสาวนะ แต่พังกลางงาน ทนฟังไม่ไหวว่าการเป็นแม่/การเลี้ยงดูของเขามันทำให้ลูกมี traumas เดินออกไปเลยไรงี้ ส่วนใหญ่เลยแนะนำให้รักษาระยะห่าง การอยู่ห่างจากแม่จะทำให้เรามี sense of self ที่ชัดเจนขึ้น เพราะไม่มีคนคอย criticize แรงๆ เราจะรู้ว่าชอบอะไร ต้องการอะไร มีแพสชั่นกับอะไรในชีวิต อยากใส่เสื้อผ้าแบบไหน อยากกินอะไรเป็นอาหารเย็น อยากมีชีวิตแบบไหน เราจะกล้าตัดสินใจมากขึ้นเพราะได้ reconnect กับ authentic self เพราะฉะนั้น เลือกตัวเองและความสงบของจิตใจ > ความสบายใจของแม่นาร์ เ ส ม อ

    - การวาง boundaries also คือการบอกไปเลยว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร เช่น ถ้าแม่ตัดสินเราหรือพูดกลายๆบังคับให้เราเลือกในเรื่องใดเรื่องนึง บอกกับเธอว่า ขอบคุณสำหรับการซัพพอร์ตนะแม่ แต่เรื่องนี้เกี่ยวกับหนู หนูจะตัดสินใจเอง ถ้าเขาไม่เคารพการตัดสินใจของเรา ก็ remove ตัวเองจากสถานการณ์นั้นเลย ไม่ก็พูดอย่าง assertive จนกว่าเขาจะฟัง

    - เรียนรู้ว่าประวัติครอบครัวเราเป็นมายังไง เพื่อที่จะรู้ว่าเราส่งต่ออะไรกันมาบ้าง ไม่ว่าจะ patriarchy หรือเรื่อง toxic อื่นๆ เราจะได้เข้าใจต้นกำเนิด และเข้าใจแม่มากขึ้นว่าเขาถูกเลี้ยงดูมายังไง

    - คือถ้าเราโกรธและเสียใจมามากพอแล้ว มันจะมีอีกจุดนึงที่เราต้องผ่านคือการให้อภัยและปล่อยวาง ดูจะยากเนอะ แบบ เขาทำเราแบบนี้ ทำไมถึงยังต้องให้อภัยอีก หรือมันจะมีโมเม้นที่รู้สึกผิดว่า ทำไมเราถึงไม่พอใจ/เกลียดแม่ตัวเอง ทั้งๆที่อารมณ์มันก็คืออารมณ์อะ มันมาให้เรารู้สึก เขาทำร้ายเรา เราที่ถูกทำร้ายก็มี every right ที่จะรู้สึก แต่การเลือกที่จะแสดงออกและเอาตัวออกมาจากสถานการณ์ยังไงเป็นเรื่องของ inner work และพอเราฮีลตัวเองได้แล้ว มันจะไปถึงจุดนั้นที่พร้อมจะปล่อยวางได้เอง (ทางจะขรุขระ และยาก แต่คุ้มค่าที่จะปลดปล่อยตัวเองจากทรอม่าสในวัยเด็กอันหนักอึ้งเสมอ)

    - ********************อันนี้คือ inner work ที่เรคคอมเมน เป็นยาใช้แล้วชะงัดนัก นั่นก็คือ สร้าง nurturing, loving mother ขึ้นมาให้กับตัวเอง เช่น ถ้ามีเหตุการณ์ที่ทำให้เรากลัว/upset/ไม่มั่นใจ/เสียใจ นึกภาพเราในวัยเด็ก จากนั้นนึกภาพเราอีกคนในปัจจุบัน เข้าไปกอดเขา โอ๋ๆ ลูบหัวเขา ถามว่าเขาอยากได้อะไร พูดกับเขาอย่างนุ่มนวล คอยบอกเขาว่าเขาเป็นที่รักนะ เขาปลอดภัย เราจะอยู่ตรงนี้เพื่อเขาเสมอ เราไม่มีวันทิ้งเขาแน่ ไม่เป็นไรนะ เราจะไม่เป็นไร 

    หมดแล้ว 

    พอถึงตรงนี้เราสบายใจขึ้นมาก คิดว่าจะเขียนบทความนี้มาเป็นอาทิตย์แล้ว เรามี strong urge ที่อยากแบ่งสิ่งที่ได้รู้ให้ใครก็ตามที่ผ่านมาได้เห็น เผื่อคุณประสบความเจ็บปวดมาแบบเรา ถึงไม่ได้ในรูปแบบเดียวกัน แต่ก็สะบักสะบอมไม่ต่างกัน 

    ขอให้คุณมองเห็นบาดแผล เพื่อที่จะรักษาให้หาย

    5

    เป็นกำลังใจให้เสมอสำหรับ journey of self love ต่อจากนี้ค่ะ 

    ที่เหลือและดีเทลสตั่งต่าง แนะนำอีกครั้งว่าหาอ่านได้ในเล่ม (kindle มี เราไม่แน่ใจว่าคิโนะหรือ asiabook มีมั้ย ยังไงลองเช็คดูอีกทีนะคะ) 

    สุดท้าย เราขออวยพรให้คุณได้พบเสียงในหัวที่เป็นของคุณจริงๆ ไม่ใช่เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากข้างนอก เสียงที่อ่อนโยนและปลอบโยน เสียงที่สนับสนุนและให้กำลังเหมือนกับโต๊ะประชุมที่เหล่าเพื่อนมานั่งรวมตัวกันเพื่อเชียร์บอลโลก ขอให้คุณได้ค้นพบตัวตนที่แท้จริง และขอให้เขาหรือเธอพาคุณไปหาแพสชั่น, แรงบันดาลใจ, ทุกสิ่งที่คุณชอบ, ทุกเป้าหมายที่คุณใฝ่ฝัน ขอให้คุณเติบโตขึ้นในทุกด้านที่นำไปสู่ชีวิตที่ดีที่คุณสมควรได้รับมาตลอด 

    ขอให้คุณได้ใช้ชีวิตที่เป็นอิสระ และจะไม่เสียใจในภายหลังค่ะ

    ด้วยความปรารถนาดีอย่างแท้จริง, จากใจ

    s.



เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
janeiiz (@janeiiz)
ขอบคุณที่มาแชร์นะคะ