เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เตรียมตัวไปทำประชามติ - สำหรับคนที่ไม่เคยสนใจการเมืองsecondstarrr
All you need to know 01: วันไหน ที่ไหน ให้ไปทำอะไร อย่างไร lost มาก
  • Q1. ประชามติวันไหน

     วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหา วันเดียวเท่านั้นไม่มีล่วงหน้า ไม่มีย้อนหลัง 


    Q2 ที่ไหน

    โหวตได้ที่เขตตามที่มีชื่อในทะเบียนนะคะ คิดว่าน่าจะเป็นที่เดียวกับที่ที่ไปเลือกตั้งนั้นแหละค่ะ ถ้าใครไม่รู้ว่าเขตตัวเองโหวตที่ไหน ถามแม่ ถามพ่อ ถามยามหมู่บ้าน ถามกระเป๋ารถเมลล์ ถามลุงร้านน้ำชา ถามไปค่ะ เดี๋ยวรู้แน่นอน 

    อีกอย่างคือ อายุ มากกว่า 18 หรือว่า เฉพาะคนที่เกิดก่อนวันที่ 9 สค 41 เท่านั้นที่โหวตได้นะ 


     Q3. เอาอะไรไปบ้าง

     สติ กับบัตรประชาชน ถ้าบัตรหายเอาบัตรที่มีหน้าตัวเองไป ไม่ต้องเอา 2b ไปนะคะ 


    Q3.  ไม่ว่าง ไม่ได้กลับบ้าน บล้า บล้า 

    ไปโหวตนอกเขตได้ ไม่ต้องกลับไปบ้านในทะเบียนบ้านก็ได้ แต่ว่าต้องไปลงทะเบียนก่อน ลงทะเบียนก็ง่ายมาก ทำได้ออนไลนน์ ใช้เวลาน้อยกว่าเล่นเฟส ง่ายกว่ากดบัตรคอน 5555    
       
         1. เข้าไปเว็บนี้ -> http://election.dopa.go.th          

         จะเจอแบบนี้ หน้าเว็บเรียบง่ายสวยงาม

         2. กดเลือกตรงลงทะเบียนตรงแบนเนอร์แรก ไอตัวเขียวๆ แล้วจะขึ้นหน้าต่างแบบนี้มาให้           ข้อมูลที่ต้องมีในมือก่อนลงทะเบียน คือ บัตรประชาชน และเลขรหัสทะเบียนบ้านค่ะ เพราะงั้นโทรไปมาเลขทะเบียนจากแม่ก่อนนะ ไม่งั้นก็ให้แม่ไลนน์มา 


              3. กรอกเสร็จก็เสร็จค่ะ รอตรวจชื่อตัวเองได้ ที่ตรงลิงค์สีเหลือข้างหลัง หรือไม่งั้นก็ไว้ใจรัฐบาลละกันค่ะ คิดว่าระบบไม่ล่มกรอกแล้วยังไงก็น่าจะมีชื่อ 


              4. สำคัญมาก คือต้องลงทะเบียนก่อนวันที่ 30 มิถุนายน ตอนเที่ยงคืนนะ ย้ำว่า ก่อนปลายเดือนนี้นะคะ แต่ว่าไปโหวตจริงๆเดือนสิงหา 

            

    Q4. แล้วนี่ให้เข้าไปโหวตอะไร คือ งง ขออีกรอบ

    หน้าตาบัตรโหวตเป็นแบบนี้ค่ะ 

                       (อ้างอิง http://www.ect.go.th/th/?page_id=8583)



    Q5. อ่านไม่รู้เรื่องเลย ภาษาคนรึเปล่า ขอคำอธิบายภาษาชาวบ้าน 

             คำถามมีสองคำถาม แปลเป็นภาษาชาวบ้านดังนี้ 

               1. ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 เปล่า      
                -> ฉบับนี้ค่ะ โหลดไปบูชาได้ ขอลงลิงค์อีกครั้ง           http://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=429&filename=index

               การตัดสินใจข้อนี้เดี๋ยวจะมีโพสต์อื่นๆตามมาค่ะ รอหน่อยนะ



              2. ข้อสองงงมากค่ะ ขออธิบายช้าๆ ทีละสเต็ปนะคะ 

           ถ้ามีรัฐธรรมนูญก็จะมีการเลือกตั้งถูกมั้ย ซึ่งเวลาเลือกตั้ง (เผื่อใครยังไม่รู้) เราไม่ได้เลือก นายกรัฐมนตรีโดยตรงนะ แต่ว่าเลือก สส เข้าไปในสภา แล้วให้ สส จะเป็นตัวแทนเราในการโหวตในสภาเพื่อเลือกนายก 

                    ประชาชน->สส-> นายก 

           ตามนี้เหมือนที่เคยเรียนมาตั้งแต่ประถม

          ประเด็นหลักของคำถามข้อนี้ คือ เราเห็นด้วยรึเปล่าถ้าจะไม่ทำตามแบบเดิมๆตามรัฐธรรมนูญแบบนี้ แต่จะทำอีกแบบแทน


    ซึ่งแบบใหม่ที่ว่าเป็นไง ก็เขียนไว้ชัดเจน(ตรงไหน?)ในคำถามแล้วค่ะ มาแตกประเด็นจากคำถามกัน 

    1. ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า 

    2. เพื่อให้การปฎิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ
     >>> เพื่อให้มีการปฎิรูปตามแผน ซึ่งแผนนั้นยังไม่เกิด ยังไม่ได้ร่าง ไม่รู้ว่าจะมีอะไรในนั้นบ้าง 

    3. สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า 
    >>> ควรจะเพิ่ม ข้อยกเว้น ไปในรัฐธรรมนูญว่า 

    4. ในระหว่าง 5 ปีแรกนับตั้งแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้
     >>> ใน 5  ปีแรกหลังจากที่รัฐธรรมนูญผ่านและพวกเราได้เลือกตั้ง สส กันเข้าสภาอย่างเรียบร้อยและมีความสุข 

    5. ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
    >>> ‘ที่ประชุมร่วม’ ที่หมายถึง สส และ สว นั้น 

    6. เป็นผู้พิจารณา>>> จะโหวต 
    7. ให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควร
    >>>หาคนที่เหมาะสม (ใครก็ด้ายยยยยยย)

    8. ได้รับการแต่งตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรี
     >>> มาเป็นนายกรัฐมนตรี 


    ประเด็นหลัก คือ 

          1.
    ตอนนี้ ทั้ง สส และ สว มีสิทธ์โหวต ทั้งๆที่ปกติมีแต่ สส ที่โหวตเลือกนายกได้ ความพีคอยู่ที่ สว นั้น คสช เป็นคนเลือกจร้าาา คิดว่า สว ควรมีสิทธิ์โหวตมั้ย ให้ข้อมูลไปหมดแล้ว ควรมิควรแล้วแต่จะคิดเลย


        2. ‘บุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้ง’ แปลว่า ใครก็มาเป็นนายกได้ ไม่จำเป็นต้องสส หรือร่วมพรรคการเมืองใดๆ ค่ะ 

        3. ระยะเวลา 5 ปี ประเด็นนี้มีการหลอกลวงด้วยตัวเลขเบาๆ ความพีคอยู่ตรงที่ ปกติแล้ว รัฐมนตรีจะมีวาระสี่ปีค่ะ สมมุตคือ สส กับ สว เลือกนายกขึ้นมาคนนึงในปีแรก นายกคนนี้ก็อยู่ได้นานสุดคือ 4 ปี ถ้าไม่ลาออก หรือตาย หรือมีปัญหาอะไรซะก่อน พอคนแรกครบวาระ สส กับ สว ก็ยังได้เลือกต่ออีกคนในปีที่ 5 แปลว่า นายกคนที่ถูกเลือกในปีที่ 5 นั้นจะอยู่ไปอีกอย่างนานที่สุดคือ อีก สามปี ก่อนจะครบวาระ 4 ปีเลือกตั้งใหม่ 

          รวมแล้ว สส กับ สว มีแววว่าจะเลือกนายกรวมกัน 2 สมัย หรือว่า 8 ปี นั้นเอง 



    จบพาร์ทนี้ค่ะ เดี๋ยวพาร์ทหน้าจะมาเขียนว่าเราควรเตรียมตัวอย่างไร อ่านอะไรดี มีประเด็นไหนน่าสนใจบ้าง ฝากติดตามด้วยนะคะ แล้วถ้าข้อมูลมีความผิดพลาดช่วยแย้งได้เลยนะคะ จะรีบแก้ไขค่ะ 




    อ้างอิง และอ่านเพิ่มเติม 

    1. เรื่องการใช้สิทธ์นอกเขต ใครโหวตได้บ้าง และควรเตรียมตัวอย่างไร 

    2. เรื่องคำถามพ่วงประชามติค่ะ 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in