ประเด็นเรื่องพื้นที่ที่น่าสนใจในภาพยนตร์เรื่องThe Square มีความน่าสนใจหลายด้านแต่ประเด็นที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือเรื่อง พื้นที่ทางสังคมภายใต้งานศิลปะที่ชื่อ “TheSquare”
รูเบนออสต์ลันด์ผู้กำกับชาวสวีเดนมีมุมมองต่อการดิ้นรนเอาชีวิตรอดของมนุษย์ได้อย่างเฉียบขาดเขาเป็นกลาง ไม่ตัดสิน และเป็นมุมมองที่เต็มไปด้วยความมีอารมณ์ขันและตลกร้ายภาพยนตร์เรื่อง TheSquare จึงเป็นเหมือนกุญแจดอกหนึ่งที่เปิดให้ผู้ชมได้สำรวจจิตใจตัวเองและทำความเข้าใจผู้อื่นและเข้าใจถึงการแบ่งพื้นที่ส่วนตัวและความระแวงต่อบุคคลอื่นมากขึ้น
ในภาพยนตร์เรื่องThe Square มีการกล่าวถึงขอบเขตความสัมพันธ์ที่กล่าวอ้างมานี้ได้ครบและครอบคลุมทุกระดับ โดยเริ่มจากขอบเขตที่กว้างที่สุดคือขอบเขตสาธารณะและลดหลั่นลงมาจนถึงขอบเขตชั้นใน มีชั้นเชิงการเล่าเรื่องที่ชาญฉลาดซึ่งในขณะเดียวกันก็จิกกัดสังคมไปด้วย
ภาพยนตร์เริ่มเล่าเรื่องจากชีวิตการทำงานของคริสเตียนเขาเป็นคิวเรเตอร์ประจำพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย คริสเตียนต้องกล่าวปราศรัยในที่สาธารณะขอบคุณผู้ให้เงินบริจาคกับพิพิธภัณฑ์
ภาพยนตร์ได้สะท้อนให้เห็นว่าระยะห่างของคนในครอบครัว“ยิ่งใกล้ก็ยิ่งได้ใจ” อย่างเช่น คริสเตียนเข้าไปโอบไหล่และขอโทษลูกสาวคนเล็กหลังจากที่เขาได้ระเบิดอารมณ์ใส่เธอซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรักในครอบครัวตรงข้ามกับเมื่ออยู่ในที่สาธารณะคนเรามักจะกลัวสิ่งที่อยู่ตรงหน้าจึงทำให้เกิดความรู้สึก“ยิ่งใกล้ยิ่งไม่ไว้ใจ” อย่างเช่นขณะที่คริสเตียนเดินมาทำงานได้มีผู้หญิงปริศนากรีดร้องและวิ่งมาขอความช่วยเหลือคริสเตียนได้พยายามประนีประนอมและระวังตัวไม่ให้ชายผู้คุ้มคลั่งเข้ามาใกล้เขา มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ระแวดระวังมักจะสงวนระยะห่างหรือระยะปลอดภัยอยู่เสมอ เพราะความกลัว
เมื่อเรารู้แล้วว่าคนทั่วไปนั้นมักหวงแหนอาณาเขตของตัวเองราวกับว่าเมื่อออกไปที่สาธารณะจะมีสี่เหลี่ยมที่มีด้านยาว กว้างล้อมรอบพวกเขาอยู่ ไม่ค่อยมีใครชอบอยู่ใกล้คนที่ไม่รู้จักและถ้าอยู่ๆ มีตะโกนขอความช่วยเหลือในที่สาธารณะผู้คนส่วนมากมักจะไม่กล้ายื่นมือเข้าไปช่วยในทางตรงกันข้ามถ้าหากเข้าไปขอความช่วยเหลือเป็นรายบุคคลจึงจะมีโอกาสได้รับการช่วยเหลือมากกว่าซึ่งนั่นก็ทำให้มีศิลปินที่ออกมาเรียกร้องความเห็นใจน้ำใจและความเท่าเทียมต่อบุคคลอื่นในสังคม
พื้นที่ “The Square” งานศิลปะที่เป็นอินสตอลเลชันสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนพื้นที่สาธารณะล้อมกรอบไว้ด้วยไฟสีขาว และสลักข้อความไว้ว่า “The Square is a sanctuaryof trust and caring. Within it we all share equal rightand obligations.” แปลเป็นไทยได้ว่า “จัตุรัสแห่งนี้คือเขตแห่งความเชื่อใจและความห่วงใยภายในจัตุรัส เราทุกคนจะมีสิทธิและหน้าที่ที่เท่าเทียมกัน” เมื่อใครก็ตามที่เข้ามาอยู่ภายในพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้ทุกคนมีหน้าที่ช่วยเหลือกันอย่างเท่าเทียม
แต่เมื่อเดินออกจากพื้นที่แห่งนี้ความเชื่อใจความห่วงใย ความเท่าเทียมก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญอีกต่อไป ดังนั้น “
ซีนงานมนุษย์ลิงขอบคุณสื่อในโรงแรมหรูเป็นซีนที่อธิบายถึงขอบเขตระยะห่างและการปรับตัวเอาชีวิตรอดของมนุษย์ได้ดีในซีนนี้ผู้ร่วมงานเป็นคนชนชั้นกลางและเป็นปัญญาชน การแสดงสำคัญของงานนี้คือมีการใช้มนุษย์ธรรมดามาเปิดตัวเป็นลิงเจ้าป่าที่มีนิสัยดุดัน เมื่อมนุษย์ลิงเกิดคลั่งผู้ที่อยู่นิ่งยอมไหลตามน้ำจะเป็นผู้ที่อยู่รอดปลอดภัยในขณะคนที่ลุกขึ้นมาต่อสู่ก็จะได้รับบาดเจ็บและต้องเผชิญหน้ากับอันตราย
ภายใต้พื้นที่สี่เหลี่ยมในห้องนี้ ที่นี่เปรียบเหมือนสังคมป่าดงดิบมนุษย์ยิ่งเป็นคนฉลาดก็ยิ่งรู้จักเอาชีวิตรอดนี่จึงเป็นซีนที่วัดใจว่ากลุ่มปัญญาชนเหล่านี้จะมีมนุษยธรรมแค่ไหน
ระยะห่างระหว่างชนชั้นก็มีช่องว่างตรงกลางและเป็นเหมือนเส้นขนานที่ไม่สามารถมาบรรจบกันได้สังคมกลุ่มชนชั้นกลางเป็นสังคมที่มารยาทและกาลเทศะในขณะที่สังคมชนชั้นล่างเป็นสังคมปากกัดตีนถีบและชุมชนของพวกเขาก็มีการเกิดอาชญากรรมสูง ดังนั้นจึงมีช่องว่างระว่างคนรวยกับคนจนเกิดขึ้นเพราะบริบททางสังคม เช่น สังคม วัฒนธรรม, เศรษฐกิจและการเมือง ของแต่ละชนชั้นมีความแตกต่างกัน
ความน่าเชื่อถือของแต่ละชนชั้นก็มีความแตกต่างกันเห็นได้ชัดว่าคริสเตียนมีความน่าเชื่อถือและเป็นผู้ดีกว่าพ่อครัวที่ร่างกายกำยำและสักลายสักเต็มแขนการตอบรับของผู้คนที่มาร่วมงานก็ยอมรับคริสเตียนมากกว่า
ช่องว่างระหว่างชนชั้นเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความเข้าใจสิ่งหนึ่งที่จะเป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดช่องว่างให้ค่อย ๆให้เข้าใกล้ชิดสนิทกันได้ก็คือความเชื่อใจ เห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์
The Square (2017)
Director: Ruben Östlund
*
อ้างอิง:
ต่อพันธุ์มาริษพงศ์. (2554). อ่านคนจากภาษากาย. กรุงเทพฯ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in