เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บันทึกการเดินทาง ณ สำนักพิมพ์นาฬิกาทรายNATTANAN NATCHAN
สัปดาห์ที่ 1 : ปวดหลังนิดหน่อย แต่ใจยังสู้
  •  สวัสดีค่ะ จากที่เราเปิดอีพีแรกไปแล้ว ตอนนี้ก็ได้เวลาที่จะมาเล่าถึงการฝึกงานจริง ๆ เสียทีค่ะ! เนื่องจากทางสำนักพิมพ์ไม่ได้มีออฟฟิศ และเน้นการทำงานแบบออนไลน์เป็นหลักทำให้เราสะดวกสบายตรงไม่ต้องเดินทาง รวมถึงแปลว่าเราต้องจัดการเวลาทำงานให้ได้ด้วยตัวเองนั่นเอง

     โดยในวันแรกที่ได้เริ่มฝึกงานเป็นการ meeting กับพี่ทราย เจ้าของสำนักพิมพ์ Sandclock พี่นิดนก ผู้ดูคอนเทนต์ออนไลน์ พี่เปย์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ การพูดคุยก็เป็นกันเอง สบาย ๆ เพื่อละลายพฤติกรรม ซึ่งก็มีคำถามเชิงว่าทำไมเลือกสำนักพิมพ์นี้ ถนัดสิ่งไหนบ้าง นิทานที่ชอบมีเล่มไหนเป็นพิเศษ (เราตอบเซตมี้จังไป) จากนั้นก็เป็นการแจงรายละเอียดงานต่าง ๆ โดยพวกเราทีมฝึกงาน (เรา จอนนี่ เปตอง) จะได้เน้นการทำงานเป็นซัพพอร์ตฝั่งออนไลน์ และจะได้ไปดูโรงพิมพ์ โกดังหนังสือ ออกบูธ (ตรงนี้ได้เงิน สุดยอด!?) และก็จบไปกับวันแรก first meeting

     ต่อมาในงานแรกที่ได้รับมอบหมาย โอ้ แต่ก่อนได้รับงานจะเป็นการประชุมเพื่อฟังการทำงานต่าง ๆ จากพี่เปย์ก่อน ทั้งการซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือของสำนักพิมพ์ การอีดิทและการทำรูปเล่มของ Sandclock นอกจากนี้จะมีโอกาสได้อ่านงานอีดิทจากพี่ ๆ ด้วย แล้วจึงได้รับมอบหมายงานจากพี่ทรายที่เข้ามาร่วมฟังด้วยว่าให้พวกเราสามหน่อวรรณเด็กช่วยสำรวจแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของสำนักพิมพ์ ทั้ง website, facebook, instagram และ line โดยให้ช่วยหาจุดเด่นจุดด้อย ควรเพิ่มหรือแก้ไขอะไรตรงไหนบ้าง ทำตัวเป็นลูกค้าที่มาใช้บริการคอมเพลนได้เลย 

     งานที่สองในวันถัดมาก็ไม่ได้แตกต่างกันจากงานแรกเท่าไหร่ เป็นการรีเสิร์จแพลตฟอร์มออนไลน์ของสำนักพิมพ์อื่น ๆ ว่าเขามีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง เรียกว่าเปิดเว็บเปิดแอพต่าง ๆ หัวหมุนไม่น้อย แต่ก็ได้สังเกตถึงรายละเอียดที่แตกต่างกันในแต่ละสำนักพิมพ์เลยละ ซึ่งทั้งสองงานนี้ก็ทำให้รู้สึกว่าตัวเองต้องช่างสังเกตมาก ๆ เพื่อจับจุดให้ได้

     จากนั้นในวันที่สี่ก็ได้ enjoy meeting อีกครั้งในหัวข้อ TikTok ของสำนักพิมพ์นั่นเอง แต่ด้วยเราไม่ค่อยได้เล่นเท่าไหร่เลยต้องศึกษาเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม  โดยเราเองก็ได้เสนอในการทำเป็น challenge ที่คิดมาจากหนังสือของสำนักพิมพ์ และพวกเราทั้งสามคนก็ได้ลองเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมไปให้พี่ ๆ ด้วย และจากการเสนอนี้เองทำให้พวกเราได้รับงานมาอีกชิ้น คือ ให้ลองคิดคอนเทนต์ของ TikTok ที่เหมาะสมกับทางสำนักพิมพ์ ซึ่งจะต้องมีการช่วยคิดต่อไป

     และงานต่อมา คือ การออกแบบเทมเพลตโควท ซึ่งจะนำมาใช้ประกอบการขายหนังสือใน facebook และ instagram ซึ่งเราก็ต้องขุดสกิลที่ครูแจ๊พฝากฝังไว้ที่ ai ออกมาใช้งานอย่างเต็มความสามารถ เมื่อเราได้รับรูปหน้าหนังสือจากเล่มที่เลือก ก็ต้องมาหาโควทด้วยตัวเองก่อนจะนำมาคิดแคปชั่นประกอบ เป็นอีกงานที่ฝึกสกิลการเขียน การคิดเชื่อมโยงมากมาย 

     ซึ่งในงานล่าสุดจะเป็นงานที่เราต้องทำบ่อย ๆ หลังได้หนังสือจากสำนักพิมพ์ (10 - 15 เล่ม/คน) แน่นอนว่าตอนนี้ก็เฝ้ารอหนังสืออย่างใจจดจ่อ เพราะอยากรู้ว่าจะได้อะไรมาบ้าง จะมีนิทานและพอกเกตบุ๊คเล่มไหนมาบ้างที่จะให้เราได้นำมาขาย อ้อ จะสุดท้ายแล้ว คือนอกจากพวกเราสามหน่อทีมวรรณเด็ก ก็จะมีเพื่อนอีกคนที่จะได้มารวมทีมเด็กฝึกงาน และได้ร่วมกันทำโปรเจคใหญ่ คือ การจัดกิจกรรมทั้งเล่านิทาน การทำผลงานศิลปะหรืออย่างอื่นให้เด็ก ๆ คุณพ่อคุณแม่มาร่วมกิจกรรมกัน ซึ่งพวกเราทั้งสี่คนจะต้องได้ลงมือตั้งแต่วางแผน หาสถานที่ตลอดจนได้ทำงานนี้เสร็จลุล่วง โดยมีพวกพี่ ๆ เป็นทีมซัพพอร์ตและให้คำปรึกษา พี่นิดนกอาจจะเรียกประชุมเรื่องนี้ตอนเพื่อนคนสุดท้ายเริ่มฝึกงานไปกับพวกเรา 

     สำหรับอาทิตย์แรกก็ยังคงดูสบาย ๆ ใช่ไหมคะ แต่เราเชื่อว่าในช่วงเวลาที่เหลือเราจะได้ทำอะไรอีกมากมาย และได้สะสมประสบการณ์จากที่นี่ได้อีกเยอะแยะ ดังนั้นอย่าลืมเป็นกำลังใจให้พวกเราทั้งสามหน่อ (เรา จอนนี่ เปตอง) ผ่านการฝึกงานตลอดสองเดือนอย่างราบรื่นด้วยนะคะ!


    ปล. เราจะมาอัพเดตทุกวันอาทิตย์เพื่อรวบยอดการฝึกงานทั้งสัปดาห์นะคะ
    ปลล. ถ้าได้ออกบูธหรือไปดูสถานที่อื่น ๆ จะเอารูปมาฝากด้วยค่ะ
    ปลลล. อย่าลืมติดตามสำนักพิมพ์ Sandclock ได้ทุกช่องทางนะคะ ทั้ง facebook instagram TikTok เพื่อจะได้ไม่พลาดผลงานของพวกเราสามหน่อ ฮา 
     

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in