การวิจารณ์ดนตรี : “T chaikovsky V Concert” โดย Bangkok Metropolitan Orchestra และ KU String Ensemble ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างกรุงเทพมหานคร โดย กลุ่มงานดุริยางค์ซิมโฟนี กองการสังคีต สำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ร่วมกับ ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกลุ่มนิเวศสุนทรีย์
วันที่-เวลา : วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ( 17.00 น. )
สถานที่ : หอประชุม ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ราคาบัตร : ฟรี
การเดินทาง : รถบุคคลหรือรถโดยสารสาธารณะ
รถโดยสารประจำทาง : ฝั่งประตูพหลโยธิน สาย 26, 34, 39, 59, 107, 114, 126, 129, 185, 503, 512, 513, 522, 524, 543
ฝั่งประตูงามวงศ์วาน สาย 24, 34, 63, 104, 144, 177, 522, 528, 545
ฝั่งประตูวิภาวดีรังสิต สาย 26, 29, 52, 69, 134 ( จอดฝั่งตรมข้ามประตูวิภาวดีรังสิต ), 187, 191, 206, 504, 555
รถไฟฟ้ามหานคร : ลงที่สถานี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ทางออก 1)
สาเหตุที่เลือกการแสดงนี้ เพราะเป็นการแสดงดนตรีออร์เคสตรา โดยผู้อำนวยเพลง และนักดนตรีที่มีชื่อเสียง รวมทั้งวัน/เวลาในการจัดงานเหมาะสม อีกทั้งสถานที่ในการจัดงานแสดงยังเดินทางได้สะดวก ด้วยรถไฟฟ้า นอกจากนั้นยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชมการแสดงในครั้งนี้อีกด้วย เพลงที่เลือกมาแสดง ล้วนเป็นเพลงที่มีชื่อเสียง เป็นที่โด่งดังมาตั้งแต่อดีต เช่น Symphony No.5
ก่อนวันจัดงานแสดงดนตรี มีการประกาศถึงรายชื่อผู้อำนวยเพลง นักดนตรี และตัวบทเพลงที่ใช้ในการแสดงในครั้งนี้ออกมาแล้ว ทำให้ฉันมีโอกาสได้ไปสืบค้นประวัติคร่าว ๆ ของพวกเขา ประสบการณ์ รวมทั้งผลงานอื่น ๆ ที่ผ่านมา เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นที่สำคัญในการรับชมการแสดงในครั้งนี้ด้วย
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อ COVID – 19 นั้น ส่งผลให้จำนวนที่นั่งสำหรับเข้าขมการแสดงนั้นน้อยลง จำเป็นต้องมีการเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง และต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ตามประกาศจากทางรัฐบาล
ก่อนการแสดงจะเริ่มต้นขึ้น มีช่วงการพูดคุย หรือ Pre-concert Talks! ใช้เวลาประมาณ 15 นาที เป็นการพูดคุยกัน ระหว่าง พงศ์สิต การย์เกรียงไกร (หัวหน้าวง) สรพจน์ วรแสง (ผู้อำนวยเพลง) และ ดร.วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร (ศิลปินอิสระ) กล่าวถึงความเป็นมาของการแสดง ที่มาที่ไป บทเพลงที่จะนำมาแสดง เป็นต้น โดยการแสดงจะแบ่งเป็น 2 ช่วง
การแสดงในช่วงแรก จะเริ่มต้นด้วยบทเพลง “Finlandia, Op.26” ผลงานของ Jean Sibelius (ชอง ซิเบลิอุส) ซึ่งบทเพลงนี้เป็นที่รู้จักอย่างมากตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน บทเพลงนี้หยิบยกเอาบนนยากาศทางการเมืองของฟินแลนด์ในปี 1899 ภายใต้การปกครองของรัสเซีย ซึ่งกำหนดนโยบายการปราบปราม การสื่อสารสาธารณะหรือข้อมูลอื่น ๆ ต่อประเทศอาณานิคม ในเดือนตุลาคมปีนั้นเอง
บทเพลงเริ่มด้วยเสียงของกลุ่มเรื่องลมทองเหลือง ที่แสดงถึงความคลุมเครือ ลางร้าย กระตุ้นให้เกิด “พลังแงความมืด” ในทางกลับกันมีการสะท้อนให้เห็นความสนุกสนาน ความร่าเริง แต่ส่วนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบทเพลงก็คือ ทำนองเพลงสวดที่ขับร้องโดยนักร้องประสานเสียง สื่ออารมณ์ถึงบรรยากาศแห่งความอิสระ ในช่วงท้ายของบทเพลงดนตรีได้แสดงถึงการประกาศชัยชนะและเสรีภาพของฟินแลนด์
การแสดงที่สองของช่วงแรกคือ “Concerto for Trumpet and Orchestra” ผลงานของ Alexandra Pakhmutova บทเพลงนี้ มีลักษณะเป็นแบบท่อนเดียว เริ่มต้นจากบทนำที่มีการนำเสนอทำนอง 4 ประโยคเปิดทำนอง (Theme) ช่วงเริ่มต้นของบทเพลงที่มีความลึกลับ ด้วยทำนองที่ช้าและมีความไพเราะ ทำนองหลักมีส่วนประกอบจาก Relative Minor Key ซึ่งเป็นการแสดงถึงบางส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในบทประพันธ์นี้
แนวทำนองของผู้เดี่ยว นำเสนอการเล่นเสียงต่ำของเครื่องดนตรีทรัมเป็ต เข้ากันได้ดีกับเสียงของกลุ่มเครื่องสายที่เล่นคลอประกอบ แม้ว่าจะแฝงไปด้วยความเคร่งขรึม หากแต่อารมณ์ของเพลงจะค่อยๆเปลี่ยนไปพร้อม ๆ กับการประโคมของวงออรเ์คสตราในท่อน Allegro ต่อไป
เทคนิคการใช้ลิ้นในแบบ Double-Tonguing และการกดนิ้วอย่างรวดเร็ว (Fast-Paced Finger) เป็นหัวใจหลักของท่วงทำนองในส่วนนี้ ประกอบกับการใช้กลุ่มจังหวะ (Motif) ในแบบสามพยางค์ (Triplets) กับโมทีฟในแบบสี่พยางค์ที่นำมาด้วยโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้นประจุด (Dotted Rhythms) สลับไปมาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการนำเสนอการพัฒนาแนวทำนอง (Theme) ไปด้วยเช่นกัน ต่อด้วยการับส่งต่อแนวทำนองระหว่างผู้แสดงเดี่ยวกับวงออรเ์คสตรา เพื่อพัฒนาไปสู่ส่วนถัดไปที่แนวเดี่ยวทรัมเป็ตเล่นโมทีฟแบบ Dotted Rhythms บนโน้ตเสียง เรต่ำ(Low D)
ในส่วนถัดไปแนวทำนองจะมีจังหวะช้าลงเล็กน้อย และในช่วง 16 ห้องแรก ทำหน้าที่บทนำ โดยใช้ทรัมเป็ตเป็นเสียงชูโรง ท่วงทำนองนี้มีความไพเราะมากและมีการพัฒนาทำนองที่ยาวกว่าในช่วงบทนำ ช่วงกลางของบทเพลง ทรัมเป็ตจะเข้ามาบรรเลงเบา ๆ ในตอนท้ายของช่วงนี้ และนำไปสู่อัตราจังหวะที่เร็วขึ้น ซึ่งจะมีการเล่นโน้ตจังหวะขัด (Syncopation) อยู่ตลอดเวลา และตามด้วยความเงียบช่วงสั้น ๆ ก่อนที่เราจะได้ยินเสียงโน้ต ลาแฟลต(Ab) จากวงออรเ์คสตราและแนวเดี่ยวทรัมเป็ต จะนำเขา้สู่ท่วงทำนอง ที่เคลิบเคลิ้มราวกับอยู่ในความฝัน ซึ่งทำนองนี้จะมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับทำนองอื่น ๆ ที่ผ่านมา ในบทเพลงนี้ท่วงทำนองดังกล่าว มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก โดยแนวเดี่ยวทรัมเป็ตจะบรรเลงด้วยการใส่ อุปกรณ์ลดเสียง (Mute) เพื่อเพิ่มสีสันของแนวทำนองก่อนที่ทำนองใหม่จะแทรกเข้ามาแทนที่ต่อไป
ส่วนของท่อนเร็วนี้ ให้ความรู้สึกคล้ายกับการกระเด้ง กระดอน โดยจะใช้โมทีฟแบบ Dotted Rhythms เป็นหลัก ในส่วนนี้ลักษณะดนตรีจะคล้ายกับดนตรีในรูปแบบ Scherzo ซี่งอาจจะเป็นหนึ่งในส่วนที่มีีความน่าทึ่งมากที่สุดของบทประพันธ์นี้ก็เป็นได้
โทนเสียงที่สว่างสดใสในบันไดเสียง อีเมเจอร์ (E Major) ส่งผลให้ท่วงทำนองในช่วงนี้ เป็นทำนองที่ฟังดูเบาสบายที่สุดของบทประพันธ์ ทำนองหลัก (Theme) ในตอนต้นเพลงจะหวนกลับมาอีกครั้ง และเมื่อแนวเดี่ยวทรัมเป็ต รับช่วงต่อจากแนวทำนองของวงออร์เคสตรา จะเป็นการเน้นที่ช่วงเสียงสูง แนวทำนองถัดไปจะเชื่อมเข้าสู่แนวทำนองที่สอง ซึ่งได้รับการพัฒนาแล้วแนวทำนองที่ได้รับการพัฒนานี้จะ เป็นทำนองหลักที่จะนำเข้าสู่ส่วนท้ายของบทประพันธ์ ซึ่งเราจะเคยได้ยินแนวทำนองนี้มาก่อน หากแต่ในครั้งนี้จะมีความแตกต่างเล็กน้อยจากการผสมเสียงของวงออรเ์คสตราและความดังเบาของเสียง
ท่วงทำนองที่ช้าและไพเราะนี้ จะนำเข้าสู่จุดไคลแมกซ์ของบทประพันธ์ พร้อมกับการกลับมาของแนวเดี่ยวทรัม เป็ตที่สง่างามและกล้าหาญ ช่วงท้ายสุดของบทประพันธ์จบลงด้วยอัตราจังหวะที่กระชั้นมากขึ้น และการซ้ำชุดทำนองช่วงคู่แปด (octave Sequence) อย่างแข็งแกร่งและทรงพลัง
การแสดงช่วงที่สอง บทเพลง “Symphony No.5 inE minor, Op.64” ซิมโฟนีหมายเลข 5ในบันไดเสียงอีไมเนอร์ไชคอฟสกีได้ประพันธ์ขึ้นในฤดูร้อนของปีค.ศ.1888 แบ่งออกเป็น 4ท่อน ดังนีเ
ท่อนแรก ดนตรีเริ่มขึ้นอย่างเคร่งขรึมช้า ๆ ก่อน (Andante) ด้วยคลาริเน็ต 2 เลา เล่นเสียงต่ำ ไชคอฟสกีได้สร้างแนวทำนองหลักนี้ให้เป็นตัวแทนของ “ชะตากรรม” (Fate) ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเมื่อเราได้ฟังก็จะจำได้โดยไม่ยาก เมื่อดนตรีได้คลี่คลายไประยะหนึ่งก็จะดำเนินไปอย่างเร็ว (Allegroconanima) เมื่อถึงช่วงนี้ดนตรีจะเร้าให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ที่ระคนปนกันไป สำหรับเนื้อหาของท่วงทำนองที่อยู่ในช่วงนี้ นัยว่า ไชคอฟสกีได้นามาจากเพลงพื้น เมืองบทหนึ่งของโปแลนด์ เมื่อมาถึงช่วงสุดท้ายของท่อนแรกนี้ดนตรีจะจบลงด้วยความรู้สึกหม่นหมองและเหนื่อยหน่าย
ท่อนที่สอง ไชคอฟสกีได้กำหนดให้ดนตรีดำเนินไปอย่างช้า ๆ ในลักษณะแบบการขับร้องเพลง (Andante cantabile) และที่พิเศษขึ้นมาอีกก็คือ เขายังกาหนดให้บรรเลงแบบ con alcuna licenza ซึ่งหมายถึง ผู้บรรเลงมีอิสระที่จะถ่ายทอดอารมณ์ของตนเองที่มีต่อบทเพลง โดยยืดให้จังหวะช้าลงหรือ หดให้จังหวะเร็วขึ้นได้ในบางตอนเริ่มแรกของท่อนนี้ฮอรน์จะเดี่ยวแนวทำนองที่มีีความงดงามชวนฝันและ นับได้ว่าเป็นทำนองเดี่ยวของฮอรน์ที่งดงามละเมียดละไมที่สุดทำนองหนึ่งเท่าที่เคยมีมาในงานประเภท บทเพลงที่บรรเลงด้วยวงออรเ์คสตรา การที่ไชคอฟสกีสร้างแนวทำนองของฮอรน์ที่ไพเราะเช่นนี้เชื่อได้ว่า ธรรมชาติที่งดงาม ณ สถานที่ที่่ขาแต่งบทเพลงนี้ขึ้นมามีส่วนช่วยเขามากดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว
ท่อนที่สาม ดนตรีดำเนินไปในจังหวะเร็วปานกลาง (Allegro moderato) แบบจังหวะวอลทซ์ แม้จะเป็นท่อนที่มีความสดใส คลายเครียดลงบ้าง แต่ในบางครั้ง ก็ยังมีความหม่นหมองเข้ามาสอดแทรก โดยเฉพาะแนวทางของกลุ่มเครื่องสายจะนำมาซึ่งความรู้สึกดังที่กล่าวนี้
ท่อนที่สี่ ในท่อนนี้มีโครงสร้างบทประพันธ์ในรูปแบบของ โซนาตา (Sonata Form) แนวทำนองหลักของท่อนแรก อันเป็นตัวแทนของชะตากรรมได้กลับมาอีก หากแต่ในคราวนี้ “ตัวแทนของชะตากรรม” กลับมาด้วยความสง่างาม ผ่าเผยอย่างช้า ๆ ก่อน (Andante maestoso) จากนั้นดนตรีจะดำเนินไปอย่างเร็ว มีชีวิตชีวา (Allegro vivace) แสดงถึงการต่อสู้ของผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ยอมคุกเข่าให้แก่ชะตากรรมและสามารถเอาชนะมันได้้ในที่สุด
สิ่งที่ได้จากการไปชมการแสดงในครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่ความเพลิดเพลิน แต่ยังเป็นประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้รับ การชมดนตรีวงออร์เครสตาไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่ออีกต่อไป ดนตรีออร์เครสตาเป็นดนตรีอีกประเภทหนึ่ง ที่ใช้ความประณีตและทักษะในการบรรเลงดนตรีเป็นอย่างสูง สามารถให้ความเพลิดเพลิน เหมือนกับการฟังบทเพลงอื่น ๆ บรรยากาศในการรับชมคอนเสิร์ตเต็มไปด้วยความเพลิดเพลิน ฉันได้ฟังดนตรีที่มีความหลากหลายมากขึ้น ได้เรียนรู้วัฒนธรรม มารยาท ในการรับชมการแสดง สิ่งที่น่าประทับใจที่สุด คือ ความสามรถของผู้บรรเลงทุกคน ที่ต้องผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนัก จนทำให้บรรเลงสอดประสานกันได้อย่างไพเราะและน่าติดตามไปจนจบการบรรเลงเพลงเลย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in