วิชา 2201394 คติชนวิทยา
เอ วิชาอะไรชื่อไม่คุ้นเลย แล้วทำไมมีนิทานพื้นบ้าน?
วิชา คติชนวิทยา ความหมายตามรูปศัพท์ก็คือ “คติ” หมายถึง วิถี ทาง และ “ชน” หมายถึง กลุ่มคน
ดังนั้น “คติชน” จึงหมายถึง วิชาที่ศึกษาวิถีของกลุ่มคนที่มีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรม ประเพณี หรือความเชื่อ
นิทานพื้นบ้าน ก็เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอความคิด ความเชื่อ ในกลุ่มชนนั้นๆ เช่นกัน ไม่ใช่แค่นิทานพื้นบ้านนะ รวมถึงตำนาน เรื่องเล่า พิธีกรรม เพลง ภาษิต และวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่จับต้องได้ด้วย นอกจากนี้ ยังได้เรียนทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์นิทาน (สอบวิเคราะห์จริงๆ) ได้เห็นความเชื่อมโยงของนิทานพื้นบ้านไทยกับนิทานพื้นบ้านอินเดีย (ที่คล้ายกันจนน่าตกใจ) ที่สำคัญคือ ได้เรียนเกี่ยวกับการวิจัยภาคสนามซึ่งเป็นหัวใจของการศึกษาคติชน และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาต่ออย่างมาก
อาจารย์ที่สอนใจดี เสียงนุ่ม ตั้งใจสอน สอนดีมากๆ เข้าใจง่าย มีกิจกรรมให้ทำเกือบตลอดเทอมไม่ใช่แค่นั่งเลคเชอร์เฉยๆ ได้ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ รู้สึกว้าวววว ตลอดเวลากับนิทานพื้นบ้าน ตำนาน และเพลงพื้นบ้านที่มีวิทยากรรับเชิญมาเล่นให้ฟังจริงๆ !!
พูดเลยว่าประทับมากๆ วิชาดีๆ แบบนี้ 2 ปี เปิดทีนะจ๊ะ เปิดแล้วต้องรีบลงกันให้ไว! รับทุกคณะ ทุกภาควิชา ทุกชั้นปีเลยจ้า
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in