เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First Storyvanillasky
Review concert Mahidol Brass Band and Desford Colliery Band
  • บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจารณ์ดนตรีวิชาสังคีตนิยม(2737110) โดย น.. รชยา เจริญฉัตรชัย 6240121124

     คุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือไม่! อยู่บ้านกักตัวเหงาๆอยากไปดูคอนเสิร์ตฟังเพลงดีๆสักที่แต่ก็ไม่มีที่ไหนจัดแสดง วันนี้เรามีทางออกให้กับคุณ!

    ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสCOVID-19 เช่นนี้งานแสดงดนตรีก็พากันยกเลิกไปกันระนาวทำให้คนที่มีเสียงดนตรีในหัวใจแบบเราๆเหี่ยวเฉากันไปตามๆกัน แต่ด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยีสมัยนี้ทำให้เราสามารถดูบันทึกการแสดงสดอยู่ที่บ้านสบายๆได้อย่างง่ายดายทุกที่ทุกเวลาและที่สำคัญฟรี!!!

    สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มหาบันทึกการแสดงดนตรีสดดูได้จากที่ไหนเราแนะนำYouTube channel “Mahidol Channel มหิดล แชนแนลช่อง YouTubeของมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งจะลงคลิปวิดีโอหลากหลายรูปแบบรวมไปถึงบันทึกการแสดงดนตรีสดต่างๆที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอีกด้วยโดยในวันนี้เราจะมารีวิวการแสดงดนตรีของวง Mahidol Brass Band จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ที่แสดงเป็นวงเปิดให้กับวง DesfordColliery Band วงเครื่องเป่าทองเหลืองที่ดีที่สุดวงหนึ่งของโลกซึ่งจัดแสดงเมื่อวันที่31 ตุลาคม 2557 ณหอแสดงดนตรีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาลัยมหิดล ศาลายา

    เราว่าหลายคนอาจจะสงสัยแล้วว่าทำไมบันทึกการแสดงสดนี้ถึงMustwatch ง่ายๆเลยเพราะว่าทั้งสองวงนี้มีความสามารถและมีความน่าสนใจมากๆอย่างวง Mahidol Brass Band ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในปีพ.. 2555 โดยนักศึกษาจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดลกลุ่มเครื่องทองเหลืองและเครื่องกระทบที่ศึกษาอยู่ช่วงเวลานั้นภายใต้การควบคุมดูแลโดยอาจารย์ภมรพรรณ โกมลภมร Brass bandเป็นการรวมกลุ่มในรูปแบบกลุ่มทองเหลืองแบบดั้งเดิมของประเทศอังกฤษ ซึ่ง MahidolBrass Bandเป็นวงแรกของประเทศไทยที่มีการประสมวงรูปแบบดั้งเดิมแบบนี้ขึ้น  โดยนักดนตรีในวงนี้จะต้องมีทักษะการเล่นที่ดีสำหรับการเล่นโน้ตดนตรีที่สูง,จำนวนโน้ตเยอะและเร็วเหมือนกับกลุ่มเครื่องลมไม้แต่ยังคงความเป็นกลุ่มเครื่องทองเหลืองที่มีสีสัน สว่างไสว ลุ่มลึกและเข้มแข็ง

    ส่วน DesfordColliery Band ประกอบไปด้วยนักดนตรี25คนมาจากเมืองCoalville ซึ่งเป็นเมืองเหมืองแร่เล็กๆในภาคกลางของประเทศอังกฤษที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศเพราะมีการแสดงที่หลากหลายแนวตั้งแต่คลาสสิกยุคบาโรกจนกระทั้งแจ๊ส และได้รับรางวัลต่างๆมากมายถือได้ว่าเป็นวงดนตรีแถวหน้าของประเทศอังกฤษเลยทีเดียว

    แค่backgroundของวงก็น่าสนใจขนาดนี้แล้วเราว่าทุกคนน่าจะอยากอ่านรีวิวคอนเสิร์ตนี้แล้วแน่ๆแต่ก่อนที่จะไปอ่านกันอย่าลืมเปิดการแสดงคอนเสิร์ตนี้ไปพลางๆระหว่างอ่านเพื่อเพิ่มความเข้าถึงทางอารมณ์และความสุนทรีย์ด้วยนะคะ  ถ้าทุกท่านพร้อมแล้วเราไปอ่านกันเลยดีกว่าค่ะ

    เริ่มต้นกันด้วยการแสดงของวงMahidol Brass Band กับบทเพลง Vitae Aeternum ประพันธ์ดนตรีโดยPaul lovatt-cooper วาทยกร: ภมรพรรณโกมลภมร เพลงนี้เป็นเพลงแรกที่ Paul lovatt-cooperแต่งหลังจากที่เขาได้เป็น Composerin Residence ให้กับวง Black Dyke เลยนะคะซึ่งคำว่า “Vitae Aeternum” แปลว่าชีวิตนิรันดร์โอ้โห!แค่ชื่อก็ไม่ธรรมดาแล้วแต่ที่เด็ดกว่านั้นแน่นอนว่าก็ต้องเป็นความไพเราะของบทเพลงค่ะโดยเพลงนี้จะแบ่งทั้งหมดออกเป็น3ช่วงด้วยกัน

    ช่วงที่1เปิดมาด้วยเสียงอันทรงพลังของเหล่าเครื่องทองเหลืองอย่าง Tenorhorn, TubaและBrass Trombone คลอเบาๆไปกับเสียงของTrumpetและFlugel hornการเล่นเครื่องดนตรีเหล่านี้พร้อมกันทำให้เกิด Tone colorที่หลากหลายสร้างสีสันให้กับบทเพลงเป็นอย่างมากบทเพลงในช่วงที่หนึ่งให้ความรู้สึกแข็งแรง สนุกสนาน น่าตื่นเต้นเร้าใจ เนื่องด้วยมีPitchที่ต่ำ มีDynamicและTempoสูง ยิ่งเพลงถูกบรรเลงไปนานเท่าไหร่ก็จะยิ่งไต่ระดับอารมณ์ของผู้ชมตามไปด้วยแต่ทว่าก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกเหนื่อยจนเกินไปเพราะหลังจากไต่ระดับขึ้นไปสูงสุดแล้วจังหวะและแนวทำนองของเพลงก็ถูกเปลี่ยนให้ช้าลงกว่าเดิมเนื่องจากมีDynamicและTempoต่ำซึ่งจะให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลแต่ยังคงความสนุกสนานเอาไว้เป็นโดยเล่นเป็นแพทเทิร์นแบบนี้3ครั้ง

    ช่วงที่2เป็นช่วงที่เราประทับใจที่สุดเพราะส่วนตัวเป็นคนที่ชอบฟังเพลงช้ามากๆในช่วงแรกของช่วงที่2นั้นเราจะได้ฟังเสียงของเครื่องดนตรีอย่างTuba, Brass TromboneและEuphonium ได้อย่างชัดเจนก่อนเครื่องดนตรีที่เหลือจะค่อยๆเล่นผสานเข้ามาซึ่งจะให้Polyphonictexture บทเพลงในช่วงที่2นั้นมีความนุ่มนวลให้ความรู้สึกสงบและล่องลอย เนื่องด้วยมีDynamicและTempoต่ำและมีการบรรเลงวนแนวทำนอง(Melody) 3ครั้งทำให้รู้สึกว่าเพลงนั้นติดหูก่อนจะเข้าท่อนที่เราชอบที่สุดซึ่งจะเป็นท่อนที่ Tenor horn,French hone, Flugel horn เล่นพร้อมกันในจังหวะที่ช้าๆเราชอบการผสมผสาน Tone color ที่เกิดขึ้นในท่อนนี้มากเรียกได้ว่าถูกจริตเราสุดๆโดยเฉพาะหลังจากที่เครื่องดนตรีที่เหลือเล่นสมทบคลอเบาๆตามขึ้นมาเพราะมันให้ความรู้สึกที่สมบูรณ์และถูกเติมเต็มมากขึ้นรวมไปถึงมีการเล่นแนวทำนองซ้ำอีกครั้งโดยใช้เครื่องดนตรีแบบครบวงทำให้ได้ความรู้สึกที่แตกต่างจากครั้งแรกที่ได้ฟังแถมยังทำให้ติดหูอีกด้วย

    ช่วงที่3 ดนตรีกลับมาสนุกสนานอีกครั้งทำให้นึกถึงช่วงแรกของบทเพลงโดยกลับมามี Pitch, DynamicและTempoที่สูง รวมไปถึงการค่อยๆไต่ระดับขึ้นไปจุดสูงสุดอีกครั้งมีการเล่นแนวทำนองตอนเปิดของช่วงแรกซ้ำอีกครั้งหนึ่งแต่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างเพราะในครั้งนี้เครื่องดนตรีทุกชนิดเล่นประสานกันอย่างขันแข็งให้ความรู้สึกสมบูรณ์กว่าครั้งแรกที่ได้ยิน

    ต่อกันด้วยบทเพลงที่สองของวงMahidolBrass Band กับบทเพลง Panache ประพันธ์ดนตรีโดยRobin Dewhurst วาทยกร: ภมรพรรณ โกมลภมร เพลงนี้น่าสนใจมากๆเพราะเป็น Euphonium concerto solo ซึ่งเป็นการบรรเลงเครื่องดนตรีเดี่ยวนั้นก็คือ Euphonium สอดประสานและประชันไปกับวงออร์เคสตราที่มีเครื่องดนตรีเช่นTrumpet, Trombone, Tuba ไปด้วย เพลงนี้ให้ความรู้สึกล่องลอยชวนฝันเนื่องจากมี Pitch, DynamicและTempoที่ไม่สูงมาก แต่ก็มีบางช่วงที่สลับไปมีจังหวะที่เร็วทำให้รู้สึกไม่น่าเบื่อเพิ่มสีสันและความสนุกสนานให้กับเพลงซึ่งท่อนนี้เป็นท่อนที่เราชอบที่สุดเพราะเครื่องดนตรีอื่นๆในวงจะช่วยกันเล่นรับและส่งให้กับEuphonium ทำให้บทเพลงนี้มีความน่าสนใจ เกิดความไพเราะที่มาจากการผสมผสานสุทรียะของซิมโฟนีกับสุนทรียะของการบรรเลงเครื่องดนตรีเดี่ยว ลีลาจังหวะที่แตกต่างกันของการบรรเลงจากวงออร์เคสตราและ Euphonium ทำให้รับรู้ได้ถึงความทรงพลังและความนุ่มนวลอย่างลงตัว ก่อนที่การบรรเลงจะค่อยๆลดระดับTempoแต่เพิ่มDynamicขึ้นเพื่อสร้างความอลังการก่อนจะจบเพลง

    และแล้วก็มาถึงช่วงที่ทุกคนรอคอยกับการแสดงของวงDesfordColliery โดยเราจะขอเขียนรีวิวเฉพาะเพลงที่รู้สึกประทับใจมากเป็นพิเศษเริ่มต้นกันด้วยเพลง Fanfare and Flourishes for a Festive Occasion ประพันธ์ดนตรีโดย James Curnow วาทยากร:Nigel seaman ขอบอกว่าเปิดเพลงได้อย่างอลังการมากระเบิดพลังเสียงของเครื่องดนตรีสุดๆ มีDynamicของเพลงที่สูงมากแต่ไม่ถึงกับหนวกหูเพราะมีการสมดุลDynamicของแต่ละช่วงได้ดี เพลงนี้ให้ความรู้สึกที่สนุกสนาน ร่าเริง อลังการตอนฟังเราแอบรู้สึกว่ามันเหมือนเพลงมาร์ชหรือเพลงที่จะได้ยินตามงานเทศกาลต่างๆเลย ซึ่งเพลงนี้เราจะได้ยินเสียงของTrumpetและTromboneค่อนข้างชัดเจนกว่าเครื่องดนตรีอื่นๆแต่ก็ยังมีเสียงดนตรีของเครื่องดนตรีอื่นๆในวงที่เล่นประสานเกิดเป็นPolyphonic texture ทำให้เพลงนี้มีมิติมากขึ้น 

    เพลงLightCavalry Overture ประพันธ์ดนตรี Nigel Seaman วาทยากร:Nigel seaman เป็นอีกหนึ่งเพลงที่ให้ความรู้สึกสนุกสนานและน่าตื่นเต้นแต่ในขณะเดียวกันก็มีช่วงที่เปลี่ยนแนวทำนองและจังหวะให้มีความช้าลงซึ่งให้ความรู้สึกสบายๆ โดยในช่วงแรกของบทเพลงจะมีDynamicที่สูงเครื่องดนตรีทุกชนิดมีการเล่นประสานกันอย่างลงตัวโดยจะได้ยินเสียง Trumpet, Tuba, Trombone อย่างชัดเจน มีTempoที่สูงให้ความรู้สึกถึงพลังและความน่าตื่นเต้น ก่อนจะเปลี่ยนBeat,DynamicและTempoอย่างทันทีในท่อนถัดไปซึ่งเป็นท่อนที่เสียงTrumpet มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ เครื่องดนตรีชนิดอื่นจากที่เล่นพร้อมๆกันเปลี่ยนเป็นเล่นคลอไปกับเสียงTrumpet แทนให้ความรู้สึกนุ่มนวลน่าหลงใหลก่อนจะกระชากอารมณ์อีกครั้งด้วยการเพิ่มDynamicและTempoอย่างฉับพลันพร้อมค่อยๆไต่ระดับขึ้นไปที่จุดสูงสุดโดยการเล่นแนวทำนองดนตรีซ้ำไปเรื่อยๆ

     

    รีวิวนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของบันทึกการแสดงสดMahidolBrass Band and Desford Colliery Band เพียงเท่านั้น ส่วนใครที่อยากจะสัมผัสประสบการณ์ความสนุกอลังการและความประทับใจแบบที่เราได้ดูมาก็อย่าลืมไปดูกันที่ YouTubechannel “Mahidol Channel มหิดล แชนแนลได้เลยรับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนกักตัวอยู่บ้านเหงาๆแบบนี้ให้ดนตรีดีๆอยู่เป็นเพื่อนทุกคนนะคะ 

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
cxxryn (@cxxryn)
เนื้อหาน่าสนใจมากค่ะอ่านเสร็จแล้วรีบไปเปิดเพลงฟังตามที่แนะนำเลย
Oil Phunnita (@fb3373648259409)
อ่านง่ายและเนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณนะคะ
Jean Supapich (@fb3510319722381)
เนื้อหาดีมากค่า
Lily Lalyn (@fb1254038124953)
ขอบคุณค่ะ จะลองฟังนะคะ?
namfon.bs (@namfon.bs)
ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดี ๆ นะคะ เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ
Patawee Charoenchatchai (@fb3967539403260)
เนื้อหาน่าสนใจมากครับ
Pudding-jelly (@Pudding-jelly)
ขอบคุณที่แนะนำ ไว้จะลองไปฟังบ้างค่ะ
Montri​ (@fb3588461861248)
อ่านเข้าใจง่ายดีครับ