นิสิตพาร์ทไทมมมมมมมมมมม์
.
.
.
.
มาค่ะ
หายไปน๊านนาน นิสิตยังสบายดีนะคะ (กักตัวมาแล้ว 14 วันด้วย แฮ่ะ)
หลังจากผ่านช่วงมิดเทอมกันไป วิชาเรียนก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาใหม่ เปลี่ยนอาจารย์ใหม่ (ถ้าเป็นวิชาที่ครึ่งแรก - ครึ่งหลัง เป็นอาจารย์คนละคนกัน) อย่างวิชาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจที่เราเพิ่งเจออาจารย์ใหม่ ก็เปิดตัวมาพร้อมกับความยิ่งใหญ่ ที่ชวนเด็กทั้งห้องตะโกนพร้อมกันสามครั้ง (??) ว่า
Abstract MUST die!!!
แต่ช้าก่อน อาจารย์ไม่ได้ชวนนิสิตไปทะลวงไส้ใครตายที่ไหนนะคะ แง้
แต่หมายความว่าในการเขียนเชิงธุรกิจ ไม่ควรจะเขียนอะไรให้มีความกำกวม หรืออ้อมโลกจนคนอ่านไม่เข้าใจนั่นเอง
เอ๊ะ แต่ไม่เห็นเหมือนกับวิชาภาษาญี่ปุ่นเลยนี่นา TT
แถมความ 'Abstract' (曖昧 - พูดกำกวม/พูดอ้อมๆ)คือหนึ่งในวิธีการ "พูดให้ชาญฉลาด" ในภาษาญี่ปุ่นด้วยซ้ำ!
แล้วภาษาญี่ปุ่นต้องอ้อมแค่ไหนนะ
ต้องอ้อมแบบคลิปนี้รึเปล่า?
อันนี้ก็เกินค่ะ 19 วิยังไม่เห็นเข้าเรื่องเลย
(บล็อกนี้ก็ยังไม่เห็นจะเข้าเรื่องเลย)
.
.
.
การพูดอ้อม ๆ กำกวมในภาษาญี่ปุ่น มีประโยชน์ที่เห็นได้ชัดอยู่ 2 ข้อด้วยกันคือ
1) หลีกเลี่ยงคำที่รุนแรงหรือไม่ดี (生々しさ)
生々しさ ในที่นี้ก็คือคำที่คนฟังได้ยินแล้วจะจินตนาการถึงภาพที่ไม่น่ามอง หรือเป็นเรื่องที่ไม่ควรพูดกถึงตรง ๆ นั่นเอง ซึ่งการเลี่ยงไปใช้คำสวย ๆ อ้อม ๆ หน่อย ก็ทำให้ดูน่าฟัง ดูรักษาน้ำใจผู้ฟัง และดูเป็นคนรอบรู้ทางภาษา (?) มากขึ้นในภาษาญี่ปุ่น
ตัวอย่าง
รูป: https://twitter.com/Kintetsu50101F/status/1101593982432231424 ขอบคุณค้าบ
ถ้าใครขึ้นรถไฟที่ญี่ปุ่นบ่อย ๆ อาจจะเคยเห็นคำนี้ที่สถานีบ่อย ๆ เวลาที่รถมาไม่ตรงเวลา
人身事故
(じんしんじこ)
อุบัติเหตุเกี่ยวกับคน? มีใครเป็นอะไร มีใครกรี๊ดเพราะนายสถานีหล่อจนเป็นลมเหรอคะ!?
ความจริงแล้ว คำนี้ส่วนมากใช้เวลาที่ มีคนกระโดดรถไฟ นั่นเองค่ะ y-y
ซึ่งถ้าเรากำลังนั่งรถไฟชมวิวเพลิน ๆ แล้วได้ยินประกาศว่า
ขออภัยค่ะ รถไฟจะช้า 5 นาที เพราะเราทับน้องทานากะแบนแต๊ดแต๋ไปแล้ว
.
.
.
.
แง
2) ปกป้องความเป็นส่วนตัว(プライバシーを守る)
บางเรื่องที่เป็นเรื่องส่วนตั๊ววว ส่วนตัว ที่คนอื่นไม่ต้องรู้รายละเอียดมาก เราก็ไม่จำเป็นต้องพูดตรง ๆ เหมือนกัน เพราะถึงพูดไป คนฟังเองก็คงไม่อยากรู้เหมือนกัน..
เช่น
先生: ジーンさん、どうして遅刻しましたか?
ジーン: すみません、下痢が原因で30分もトイレにいました。
(ขอโทษค่ะ พอดีหนูท้องเสีย ไปอึอึ๊มาตั้งครึ่งชั่วโมง)
先生: ^^;;;あ、、そう?
ตรงนี้อาจจะเป็นเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ในภาษาไทยเราอาจจะพูดกับเพื่อนว่า แก ปวดฉี่ ไปฉี่กัน ได้ หรือบอกอาการป่วยกันได้ตรง ๆ แต่ในภาษาญี่ปุ่นนั้น การบอกรายละเอียดอะไรที่ 'มากเกินไปหน่อย'
อาจดูไม่สุภาพ ดูไม่เป็นผู้ดี
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการเลือกเลี่ยงคำเวลาพูดในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะประกาศ หรือการสนทนากับคนอื่น ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง
การเลี่ยงมาใช้คำที่ 曖昧 หรือการเปลี่ยนคำ 言い換え
แล้วเราจะทำยังไง ถ้าไม่อยากพูด
田中さんが死んじゃった
うんこ?
เราจะเลือกใช้คำสวย ๆ ยังไงดี? จะไปหามาจากไหน ก็ไม่ได้เก่งภาษาญี่ปุ่นซักหน่อย YY
ตัวช่วยของเราในวันนี้ก็คื๊ออออ...
類語辞典(るいごじてん) หรือพจนานุกรมคำเหมือน จะช่วยหาคำที่มีความหมายเหมือนกับคำที่เราต้องการสื่อในแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดอ้อม การใช้คำเชิงเปรียบเทียบ หรือใครที่อยากเปลี่ยนคำง่าย ๆ เด็ก ๆ ให้กลายเป็นศัพท์คันจิ(漢語)ยาก ๆ เหมือนคนเรียนเก่งแล้ว ก็ได้เหมือนกัน
แต่การใช้ 類語辞典 ด้วยตัวเองก็มีข้อควรระวังอยู่ว่า คำบางคำอาจมีความหมายเหมือนกัน แต่ไม่ได้ใช้แทนกันได้เสมอไป เช่น:
死ぬ
永眠(えいみん)
他界(たかい)
昇天(しょうてん)
生命(せいめい)を終(お)える
คำกลุ่มนี้แปลว่า "เสียชีวิต" หมดเลย แต่คำไหนนะ? ที่ใช้ไม่ได้ในบางกรณี??
.
.
.
คำตอบคือ 昇天(しょうてん)
ที่มาจากตัวคันจิ 昇る (ขึ้น) และ 天 (ฟ้า/สวรรค์) ซึ่งการขึ้นสวรรค์เป็นความเชื่อของศาสนาคริสต์ ดังนั้น การใช้ 昇天 เพื่อสื่อถึงการเสียชีวิต จึงใช้กับคนที่นับถือศาสนาคริสต์เท่านั้นนั่นเองงง
ตัวคันจิน่ะ ยุ่งยากที่สุดเล้ย!
ดังนั้น นอกจากการเปิดพจนานุกรมหาด้วยตัวเองแล้ว เรายังหาคำศัพท์ใหม่ ๆ สวย ๆ ได้จากประสบการณ์การใช้ภาษา สร้างความคุ้นเคย ดูตัวอย่างที่ Native Speaker เลือกใช้จากสื่อต่าง ๆ เช่น
「ブス ⇒ 愛嬌のある顔」。“ホンネ⇒建前”、言い換えフレーズ10
เว็บนี้จะเป็น Ranking การเลี่ยงคำที่เราจะเห็นได้ชัดว่า คนญี่ปุ่นเลือกใช้คำที่ 曖昧 ในการพูด หรือเปลี่ยนไปใช้คำแง่บวก (ポジティブな言葉)เยอะมาก เช่น
無職 (ว่างงาน) → 家事手伝い (ช่วยงานบ้าน)
老けている (แก่) → 大人っぽい (ดูเป็นผู้ใหญ่)
ダサい服 (เสื้อเชย ๆ) → 個性的なファッション (แฟชั่นเฉพาะตัว)
การที่มีพจนานุกรมคำเหมือนออกมาหลากหลายฉบับ (แถมถ้าซื้อเป็นแอพฯ หรือหนังสือ ราคาก็แพงพอตัว) และมีคนจัด Ranking วิธีเลี่ยงบาลีออกมาหลายต่อหลายครั้ง สื่อให้เห็นได้ชัดว่า การใช้ภาษา สะท้อนวัฒนธรรมของเจ้าของภาษานั้นจริง ๆ อย่างเรื่องนี้ก็ทำให้เรารู้เพิ่มขึ้นว่า คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับความรู้สึกของผู้ฟัง และชอบการพูดอ้อม ๆ เป็นอย่างมาก
คำที่พูดได้และคำที่ควรเลี่ยงในแต่ละภาษาก็แตกต่างกัน อย่างนิสิตพาร์ทไทม์ก็หน้าชา ๆ ไปหลายช็อตเหมือนกัน อย่างตอนที่อาจารย์บอกว่า เราไม่สามารถพูด 下痢 (ท้องเสีย) ได้ ให้เลี่ยงเป็น 体調が悪い(สุขภาพ/สภาพร่างกายไม่ดี) แทน เพราะถ้าเราชินกับภาษาไทย เวลาบอกว่าป่วยก็มักจะบอกกันว่าเป็นอะไร แล้วแค่อาการท้องเสียหรือปวดท้องก็ไม่ใช่เรื่องแย่ถึงขนาดพูดกันไม่ได้ แล้วห้องน้ำก็เป็นเรื่องปกติ
ตอนที่ทำงานล่ามอยู่แล้วปวดท้อง นิสิตพาร์ทไทม์ก็เลยเคยบอกคนญี่ปุ่นไปว่า
お腹が痛いのでトイレに行きたいです
ไปแล้ว
คนเราสามารถอายตัวเองย้อนหลังได้มั้ย ฮืออ...
Tips อันนี้ถือว่าเป็นประโยชน์กับเรามาก แค่ค้นคว้าหาคำศัพท์เพิ่มเติม ก็ทำให้เราพูดได้อย่างชาญฉลาดขึ้น แถมดูเป็นคนมีมารยาทน่าคบหาในสายตาคนญี่ปุ่นด้วย ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลยนะ :D
(อ้อ แล้วก็คำว่าห้องน้ำ นอกจาก トイレ แล้ว ยังสามารถเลี่ยงไปใช้คำว่า お手洗い (ถ้าดูคันจิจะเห็นเขียนว่า ไปล้างมือ) หรือห้องน้ำผู้หญิงยังใช้คำว่า 化粧室 (ห้องแต่งหน้า) เพื่อให้ดูสวย ๆ เหนียมอายได้ด้วยเหมือนกันนะ)
เพราะฉะนั้น
Abstract does not die in Japanese น้า :)
ฝากให้ดูความแอบสแตรกต์ไม่ตายในภาษาญี่ปุ่นกันเล่น ๆ อีกหนึ่งตัวอย่าง
(https://twitter.com/NungNing/status/1237630313452322817)
หรือว่าตัวอย่างนี้ของไทยจะ 曖昧 กว่าญี่ปุ่นกันแน่นะ..
.
.
.
นิสิตพาร์ทไทม์
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in