- สิ่งที่ค้นพบระหว่างการนั่งเฉยเฉย -
เขียนโดย นิ้วกลม
(อยากให้ทุกคนได้เห็นหนังสือเต็มๆ ขอโทษด้วยนะคะที่รูปเป็นแนวนอนอย่างนี้ จริงๆเราถ่ายแนวตั้งน้า)
"อุนนุน"
คือชื่อนิยามสั้นๆของหนังสือกวีเล่มนี้ พี่นิ้วกลมได้ให้คำจำกัดความกับประเภทของกวี .. ซึ่งจะเรียกว่าแคนโต้ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะไม่ได้จำกัด
บรรทัดไว้แค่เพียงสามบรรทัดเสมอ
จะเป็นไฮกุก็ไม่ใช่ บางประโยคก็ไม่ได้จำกัดไว้ตรงตามสูตร ๕ - ๗ - ๕ ...
พี่นิ้วกลมตัดสินใจเรียกหนังสือเล่มนี้ว่า 'อุนนุน'
ตอนที่ฉันเห็นหนังสือเล่มนี้ครั้งแรก ที่ร้านนายอินทร์ เป็นหนังสือเล่มเล็ก จับถนัดมือ ความหนาพอประมาณ ไม่ได้ถูกวางโชว์ปกหน้าเหมือนเล่มอื่นๆ แต่ได้วางโชว์เพียงสันพร้อมชื่อหนังสือเพียงเท่านั้น .. ฉันหยิบเล่มนี้ขึ้นมาในช่วงที่กำลังกวาดสายตาหาหนังสือความหมายดีๆสักเล่มแล้วก็ไปสะดุดตากับตัวอักษรบนสันหนังสือสีครีม เมื่อได้เปิดอ่านคร่าวๆดูก็แปลกใจกับตัวหนังสือไม่กี่บรรทัด .. แต่กัดกินใจแปลกๆ จะเป็นเหมือนกวีนิพนธ์ก็ไม่เชิง แต่กลับให้ความรู้สึกที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเข้าถึงจิตใจ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของเราในชั่วขณะหนึ่ง
เหมือนบทกลอนที่อ่านแล้ว ฟุ้งกระจายในความรู้สึก ช่องไฟที่ห่างกันในแต่ละบรรทัดเหมือนกับให้เราได้ปลดปล่อยไ
ความคิดให้ตกตะกอน แล้วก็ถูกกวนกลับมาคละคลุ้งอีกครั้งในบรรทัดต่อไป ..เรียกได้ว่า ทุกบรรทัดมีความหมายที่ชัดเจนในตัวมัน
เราสามารถเลือกอ่านอารมณ์ของเราตอนนั้นตามหน้าสารบัญได้ เช่น ความรัก ความเศร้า ความอ้างว้าง การจากลา ฯลฯ หรือเรียกได้ว่า .. ทุกอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นของเรานั้นได้ถูกรวบรวมและกลั่นกรองออกมาเป็นกวีเล่มนี้มาปลอบประโลมความไหวหวั่นในจิตใจ หรือเป็นผู้สังเกตกราฟความรู้สึกขณะนั้นของเรา แล้วถ่ายทอดออกเป็นประโยคแค่สามบรรทัด
สามบรรทัด ที่แช่สายตาไว้นานอย่างน่าเหลือเชื่อ
เพราะอะไร?
แน่ละ...เมื่อเราเจออะไรก็ตามที่ดันไปกระทบสภาพจิตใจของเราในตอนนั้น ไม่ว่าอะไรก็ตาม เราอาจสตั้นไปชั่วขณะหนึ่งให้สมองได้ประมวลภาพเหตุการณ์บางอย่างแล้วส่งผ่านความรู้สึกนึกคิดออกมา
'เออว่ะ' - บางประโยคสะกิดใจเรามากๆจนเผลอร้องขึ้นมาในใจ
จริงๆก็เพิ่งจะรู้ว่า เราไม่จำเป็นต้องใช้ประโยคยาวๆบรรยายความรู้สึกตัวเองก็ได้ - ทว่าคำสั้นสั้นง่ายง่ายแต่สื่อออกมาได้เข้าใจ ก็ .. กินใจไม่แพ้กัน
เหมือน อุนนุน เล่มนี้
?
๒๔ - ๙ - ๖๐
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in