เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Produce48 Series : ไอดอล บทพิสูจน์ ความฝันmxjr98
CHAPTER 1 : Same But Different กำแพงวัฒนธรรมที่แตกต่างแต่เหมือนกัน


  • J และ K ถึงแม้ตัวอักษรจะอยู่ติดกันแต่ใช่ว่าจะถูกเขียนด้วยลายเส้นเดียวกัน

    นี่คงจะเป็นนิยามย่อๆของสิ่งที่เรียกว่า Kpop และ Jpop ได้ดี


              ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าถึงแม้ประเทศเกาหลีกับประเทศญี่ปุ่นสองประเทศที่มีคาบสมุทรเล็กๆคั่นกลางเอาไว้จะมีวัฒนธรรมไอดอลหรือศิลปินในวงการบันเทิงที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งด้านภาพลักษณ์ แนวเพลง การตลาด วิธีการฝึกฝน ทุกอย่างล้วนต่างแตกต่างกันหมด ในตอนที่หนึ่งนี้เราจะมานั่งไล่เรียงกันดีกว่าว่ามันแตกต่างกันอย่างไร และแตกต่างได้มากน้อยขนาดไหน


    highlight parts of chapter1

    • ความสมบูรณ์แบบ นิยามของเหล่าไอดอลเคป็อป
    • ระบบ 48 การเลือกตั้งเซ็นบัตสึ
    • การแสดงในรอบประเมินแรกที่น่าสนใจ


    เกาหลี

    เกาหลีใต้ เป็นประเทศที่ส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงเป็นอันดับต้นๆของโลก ไม่ว่าจะภาพยนต์ ซีรี่ส์ เพลง รวมไปถึง ไอดอล ไอดอลของเกาหลีนั้นเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกว่าขึ้นชื่อด้วยความจริงจังในการฝึกฝนหรือขัดเกลาศิลปิน ไอดอล บุคลากรทางในวงการให้ออกมามีความสามารถที่เพียบพร้อม ความสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการร้อง การเต้น บุคลิคภาพ ทัศนคติ อื่นๆ โดยคนที่ต้องการที่จะเป็นศิลปินหรือไอดอลจะต้องผ่านการฝึกฝนมาไม่หกเดือน จนไปถึงสิบปีกว่าจะได้เดบิวต์สู่วงการไอดอลเลยก็มี



    และเพราะว่าในวงการไอดอล Kpop นั้นมีการแข่งขันที่สูง จากการคาดคะเนแล้ว ในปีๆนึงจะมีไอดอลที่เดบิวต์ใหม่ออกมาไม่ต่ำกว่าห้าสิบวง แต่ทว่าเพราะการแข่งขันที่สูงมากนี้ ในแต่ละปีจึงมีเพียงไม่กี่วงที่จะถูกคนภายนอกจดจำหรือติดตาม มีชื่อเสียงและทำตามความฝันของตัวเองได้สำเร็จ ถึงกระนั้นการจะเป็นดาวดวงใหม่ที่สามารถเจิดจรัสบนท้องฟ้าที่มีดาวอยู่เป็นล้านดวงได้ นอกเสียจากปัจจัยภายนอกอื่นๆแล้ว ความสามารถก็เป็นอีกหนึ่งใบเบิกทางได้ไม่แพ้กัน

    รูปแบบของวงไอดอลกรุ๊ปของเกาหลีส่วนมากแล้วจะมีจำนวนสมาชิกที่ค่อนข้างแน่นอน โดยจะมีจำนวนสมาชิกตั้งแต่3คนเป็นต้นไป และอาจจะมีมากถึง13คนเลยก็มี ในบอยแบนด์หรือเกิร์ลกรุ๊ปแต่ละวงนั้น สมาชิกทุกคนจะมีหน้าที่เป็นของตัวเอง อาทิ ตำแหน่งนักร้องหลัก (Main Vocal) ตำแหน่งนักร้องเสริม (Sub Vocal) ตำแหน่งนักเต้นหลัก (Main Danver) ตำแหน่งเซ็นเตอร์ (Center) ตำแหน่งภาพลักษณ์ของวง (Visual) ตำแหน่งหัวหน้าวง (Leader) เป็นต้น


    gd



    ญี่ปุ่น

    AKB48 หรือ 48กรุ๊ปวงอื่นๆ เป็นไอดอลหญิงของญี่ปุ่นที่มีรูปแบบในการโปรโมตต่างจากวงอื่นๆ เพราะว่าระบบของวงนี้จะเป็นการเปิดรับสมาชิกเข้ามาใหม่ได้เรื่อยๆ มีสมาชิกได้ไม่จำกัดจำนวน มีการผลัดเป็นคนไปเรื่อยๆ ไม่มีการฝึกฝนสมาชิกอย่างเป็นเป็นระบบจริงจังเฉกเช่นเกาหลี สมาชิกทุกคนส่วนใหญ่จะฝึกการร้องและการเต้นด้วยตนเอง ไม่มีการยึดติดกับความสามารถเป็นหลัก เพราะว่าสำหรับวงนี้แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความเอนเตอร์เทนหรือมอบความสุขแก่ผู้ชมและแฟนคลับผ่านการแสดง

    แถมในการแสดงแต่ละครั้ง สมาชิกที่ขึ้นแสดงก็ยังถูกสลับไปมา ไม่ว่าจะทั้งเซ็ตลิสต์ของเพลงที่มีมากกว่าหนึ่งร้อยเพลง สมาชิกที่ขึ้นด้วยกันเปลี่ยนไปมา แม้กระทั้งท่าเต้นยังถูกปรับเปลี่ยนไปตามที่ตำแหน่งที่เปลี่ยนไปเหมือนกัน ลองนึกภาพผู้หญิงคนหนึ่งที่เต้นไม่เก่ง พื้นฐานในการเต้นไม่ได้ดีอะไร แต่สามารถจดจำท่าเต้นได้มากกว่าหนึ่งร้อยเพลงและจดจำตำแหน่งได้มากกว่ายี่ิสิบตำแหน่ง นั่นแหละคือสิ่งที่วงมี



    และอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ AKB48 ไม่เหมือนกับไอดอลวงอื่นๆก็คือ การแข่งขันภายในวง 

    ขึ้นชื่อว่า 48กรุ๊ป ย่อมมีการการแข่งขันภายในวงที่ไม่แพ้การแข่งขันระหว่างวงในสังคมไอดอลเกาหลีเลย ด้วยความที่สมาชิกของวงนั้นมีไม่จำกัด แต่พื้นที่หรือจำนวนคนที่จะถูกโปรโมตในแต่ละซิงเกิลนั้นถูกจำกัดจำนวนมาแล้ว ทำให้การแข่งขันความนิยมจึงมีมากและหนักหน่วงมาก โดยนอกจากซิงเกิลปกติที่ทีมบริหารของวงจะเป็นเลือกสมาชิกแล้ว  AKB48 จะมีอีเว้นท์ประจำปีอย่าง "การเลือกตั้งเซ็นบัตสึ"



    การเลือกตั้งเซ็นบัตสึ เป็นงานกิจกรรมประจำปีของ AKB48 ที่เปิดโอกาสให้แฟนคลับร่วมโหวตสมาชิกที่ตัวเองชอบให้เป็นเซ็มบัตสึหรือสมาชิกที่ถูกเลือกในซิงเกิลนั้นๆได้ (จำกัดพื้นที่สมาชิกในเพลงหลักและแต่ละเพลงคือ16คน) โดยกิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2009 และก็ถูกจัดขึ้นอีกทุกปีเรื่อยมา 

    ปล.ก่อนที่ล่าสุดปีนี้ มีการประกาศออกมาว่าในปี2019จะไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ถือเป็นครั้งแรกที่มีการพักการเลือกตั้งเซ็นบัตสึตลอด10ปีที่ผ่านมา


    สรุปฝั่งเกาหลี

    • ความสามารถเป็นบันไดสู่การได้เดบิวต์เป็นไอดอล
    • สมาชิกภายในวงมีจำนวนที่แน่นอน
    • ทุกคนมีตำแหน่งและหน้าที่ของตัวเองชัดเจน
    • ระบบการฝึกจริงจัง ตั้งแต่พื้นฐานจะมีครูฝึกคอยสอน


    สรุปฝั่งญี่ปุ่น

    • หน้าที่หลักคือร้องและเต้น ทำการแสดงที่สนุกสนาน มอบความสุขให้กับผู้ชม
    • การฝึกซ้อม จะซ้อมกันเอง โดยดูคลิปจากรุ่นพี่ หรือการแสดงที่มีอยู่แล้ว
    • ความนิยมเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าความสามารถ เพราะจะช่วยให้ขึ้นไปยืนบนแถวหน้าได้
    • ไม่มีตำแหน่งภายในวงอย่างชัดเจนแบบเกาหลี
    • สมาชิกในแต่ละเพลงจะถูกผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทีมบริหาร หรือแฟนคลับ


    ความแตกต่างที่น่าตกใจ

    เบยุนจอง ครูฝึกของรายการProduce กล่าวไว้ว่าไอดอลKpopนั้นขึ้นชื่อด้านความพร้อมเพรียง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝน แต่ในประเทศญี่ปุ่น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญอย่างนั้นเหรอ?

    ฮือ มันแทงใจทั้งคนที่กำลังดูรายการกับเด็กญี่ปุ่นที่อยู่ตรงนั้นพอสมควรเลย...



    อิมาดะ มินะ HKT48 ตอบว่าสำหรับไอดอลญี่ปุ่นแล้ว ความน่ารักสำคัญกว่าการเต้นพร้อมและความสมบูรณ์แบบ ก่อนที่ครูฝึกจะได้พูดออกมาด้วยน้ำเสียงที่เริ่มจะเข้าใจว่า เพราะวัฒนธรรมต่างกันสินะ


    ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก มันก็เป็นแค่เพราะความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม


    สำหรับเด็กญี่ปุ่นที่มารายการนี้นั้น ทุกคนเห็นตรงกันว่าในวัฒนธรรมที่ตัวเองคลุกกคลีอยู่ในชีวิตประจำวัน การแสดงความสนุกสนานสำคัญมากกว่าการร้องและการเต้น เพราะว่ามันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเป็นนักเอนเตอร์เทน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของตัวเอง และใน48Groupsนี้ ก็มีหลายคนที่มีชื่อเสียงและความนิยมขึ้นมาได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ร้องเพลงเพราะหรือเต้นเก่งก็ตาม 



    มิยาวากิ ซากุระ HKT48 หนึ่งในผู้เข้าแข่งขันที่ปัจจุบันมีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่นและได้รับอันดับ3จากการเลือกตั้งของ AKB48 ในปี2018ก็เคยบอกกล่าวออกมาว่า "ฉันได้อันดับสูงก็จริง แต่ฉันไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะความสามารถของฉัน หรือเพราะว่าฉันอยู่ญี่ปุ่นกันแน่" ยิ่งทำให้เราเข้าใจกันเข้าไปใหญ่ว่าทำไมความต่างวัฒนธรรมตรงนี้ถึงกำลังถูกผสมผสานเกิดขึ้นเป็นรายการนี้ขึ้นมา ก็เพื่อที่จะนำเสนอให้เห็นว่าถึงแม้ทั้งสองประเทศนี้จะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาก แต่สิ่งที่เหมือนกันคือความเป็นไอดอล ไม่มีใครพอใจกับการที่ตัวเองจะถูกว่าว่าเป็นไอดอลที่ไม่มีความสามารถ ทุกคนมีความมุ่งมั่นและความพยายามที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเด็กเกาหลีหรือเด็กญี่ปุ่นก็ล้วนแล้วต้องการที่จะเป็นไอดอลนี่น่าภาคภูมิใจเหมือนกัน


    และถ้าจะให้เห็นภาพเพิ่มเติมถึงความแตกต่างของสิ่งที่เราร่ายยาวกันมาทั้งตอนก็ต้องยกให้การแสดงของกลุ่มน้องสาวคนเล็กจากฝั่งเกาหลีและญี่ปุ่นอย่างในคลิปนี้เป็นตัวอย่าง



    เกาหลี เด็กฝึกหัดค่าย CNC
    • ฮงเยจี (2002) 
    • คิมดายอน (2003)
    • ยุนอึนบิน (2004)
    • อียูจอง (2004)
    • คิมดามิน (2004)


    ญี่ปุ่น AKB48 รุ่นที่16 / ดราฟรุ่น2
    • อาซาอิ นานามิ (2000)
    • ชิบะ เอรี่ (2003) 
    • ซาโต้ มินามิ (2003)


    จะเห็นภาพชัดเลยว่านี่แหละคือความแตกต่างระหว่างการฝึกฝนของไอดอล เด็กสองกลุ่มที่ถูกฝึกมาต่างกัน ต่างวัฒนธรรม ต่างภาษา ต่างมีข้อดีที่แตกต่างกันไป 

    สำหรับเด็กฝึกเกาหลีกลุ่มที่อายุน้อยที่สุดจากค่าย CNC Ent. ที่ถึงแม้จะพึ่งผ่านการเป็นเด็กฝึกมาได้แค่ปีเดียวก็ตาม แต่ก็สามารถสร้างอิมแพคให้กับผู้ชมเป็นอย่างดี เรียกได้ว่าเล็กพริกขี้หนูกันจริงๆ เก่งกันจนสาวญี่ปุ่นถึงกับซุบซิบกันเลยว่าฝึกซ้อมมาได้ปีเดียวทำได้ขนาดนี้ นี่คงเป็นเรื่องปกติของเกาหหลีสินะ...

    ส่วนเด็กญี่ปุ่นอายุน้อยจาก AKB48 ก็สามารถแสดงให้เห็นถึงการแสดงในรูปแบบของ AKB48 ครูฝึกกล่าวไว้การการแสดงของเด็กๆกลุ่มมีความสดใสบริสุทธิ์ มีพลังบางอย่างที่พร้อมจะมอบให้กับผู้คน



    แต่ใช่ว่าเพราะวัฒนธรรมที่แตกต่างตรงนี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าฝั่งญี่ปุ่นเสียเปรียบไปหมดซะเมื่อไหร่ กลับกันอาจจะเป็นข้อได้เปรียบบ้างก็ได้ ไหนๆเราก็จั่วหัวถึงรอบประเมินค่ายรอบแรกมาแล้ว มาดูกันดีกว่าว่ามีกลุ่มไหน ค่ายไหน เด็กเกาหลีหรือเด็กญี่ปุ่น ที่สร้างความประทับใจกันไว้บ้างในรอบประเมินนี้




    1.Playing With Fire - ทาคาฮาชิ จูริ / โคจิมะ มาโกะ / มุโต้ โทมุ AKB48

    : เป็นการแสดงของสามทหารเสือนำทัพของฝั่ง AKB48 เลยทีเดียว เพราะหยิบเพลง Playing with fire เพลงฮิตเพลงฮอตอีกเพลงของ BLACKPINK ในเวอร์ชั่นเกาหลีร้องและเต้นได้สูงกว่ามาตรฐานการแสดงอื่นๆของเด็กฝั่งญี่ปุ่นอยู่มาก ถึงแม้โทมุจะมีหลุดๆเนื้อเพลงผิดอยู่บ้างเล็กน้อยก็ตาม แต่ทั้งสามคนไม่มีหลุดความประหม่าออกเลย อาจจะเพราะว่าทั้งสามคนเป็นถึงสมาชิกระดับโปรของ AKB48 ที่ผ่านทุกเวทีการแสดง ไม่ว่าจะเป็นเธียเตอร์เล็ก คอนเสิร์ตใหญ่ก็ผ่านมาแล้วทั้งหมด ประสบการณ์ไม่เป็นรองใครเลย

    • ทาคาฮาชิ จูริ AKB48 รุ่นที่12 กัปตันทีมBของ AKB48 อดีตเป็นกัปตันทีม4 ติดเซ็นบัตสึในการเลือกตั้งครั้งแรกในปี2016 และติดเซ็นบัตสึซิงเกิลทั่วไปของAKB48 ยาวมาจนถึงการเลือกตั้งในปี2018ที่เป็นปีล่าสุดด้วยอันดับที่12  (ปัจจุบันประกาศจบการศึกษาแล้วเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2019)
    • โคจิมะ มาโกะ AKB48 รุ่นที่14 สามทหารเสือของรุ่น เคยถูกวางตัวให้เป็นเอซของวงในอนาคต (ปัจจุบันประกาศจบการศึกษาแล้วเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2019)
    • มุโต้ โทมุ AKB48 รุ่นที่12 ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดตอนปี2018 ได้อันดับที่7ของการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นหนึ่งในคามิ7การเลือกตั้งประจำปี (คามิ = คนที่ได้อันดับการเลือกตั้งอันดับที่1-7)




    2.Move - ชเวเยนา / หวังอี๋เหริน / คิมชีฮยอน Yuehua Ent.

    : สำหรับโชว์จากเด็กฝึกค่าย Yuehua Ent. ที่เปิดการแสดงมาได้สดใสมากจนถึงขนาดได้รับคำชมจากครูฝึกกันถ้วนหน้า ความเอนเตอร์เทนคนดูได้อยู่หมัดของชเวเยนา ท่าเต้นที่ผสมผสานกับยิมนาสติกลีลาของหวังอี๋เหริน และพรแสวงของคิมชีฮยอน เมื่อสามคนมาโชว์ด้วยกันทำให้รู้สึกว่านี่เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่มีความลงตัวของเคมีได้ดี ทำให้คนดูรู้สึกคาดหวังกับการแสดงครั้งต่อไปของกลุ่มนี้ จึงสามารถคว้าเกรด A (เยนา) B (อี๋เหริน) B (ชีฮยอน) จากครูฝึกไปอย่างง่ายดาย

    • คิมชีฮยอน อดีตเด็กฝึกหัดที่เคยมาออกรายการ Produce101 ในซีซั่นแรก ในตอนนั้นชีฮยอนไม่ได้สังกัดค่ายใด เป็นเด็กฝึกอิสระที่ได้รับความสนใจชั่วขณะหนึ่งและได้รับอันดับที่ 40 จากรายการกลับไป




    3.Warota People - NMB48

    : ต้องเรียกว่าสมกับเป็นนัมบะ! การแสดงของ ชิโรมะ มิรุ / มุราเสะ ซาเอะ / นาอิคิ โคโคโระ / คาโต้ ยูกะ / อุเอมูระ อาซึสะ สมาชิกจาก NMB48 โดยใช้เพลงของตัววงเองมาแสดงเอาซะเลย การแสดงด้วยเพลงที่มีทำนองติดหู บวกกับท่าเต้นที่เต้นตามง่าย และสร้างความสนุกให้กับคนทั้งรายการ นี่คือสเน่ห์ของความเป็น 48 กรุ๊ปที่ไม่สามารถหาวงไหนมาเทียบได้


    • ワロタピーポー หรือ Warota People เป็นซิงเกิลที่17ของ NMB48 ที่พึ่งออกไปเมื่อปลายปี2017 โดยมี ชิโรมะ มิรุ เป็นเซ็นเตอร์ จึงไม่แปลกใจเลยที่จะหยิบเพลงนี้มาใช้แสดง แถมยังแสดงออกมาได้ดีมากๆจน ชิโรมะ มิรุ ได้เกรดB จากครูฝึกไปอย่างไม่ผิดหวัง


    4.Seleb Five - คิมมินซอ หวังเค่อ ยูมินยอง HOW Ent.

    : ทำทุกอย่างให้ฉีกจากมาตรฐานทั่วไป— โชว์ที่สุดแสนจะประทับใจที่สามารถครองใจคนที่ดูรายการนี้ เด็กฝึกหัดค่าย HOW Ent. อย่างคิมมินซอ หวังเคีอ ยูมินยอง กับเพลง Seleb Five ที่สุดแสนจะฮาหลุดโลก ขอชื่นชมความกล้าแสดงออกในการแสดงเพลงนี้จากใจจริงเลย...



    5.Dancing Hero - ทาเคอุจิ มิยู / โกโต โมเอะ / อิวาตาเตะ ซาโฮะ AKB48

    : โจทย์ความยากของเด็กญี่ปุ่น โชว์นี้ถูกแสดงต่อจากโชว์ของกลุ่มเด็กฝึกหัด HOW Ent. โดยเพลงนี้ Dancing Hero แต่แรกเดิมที่เป็นเพลงดังของนักร้องชาวญี่ปุ่น ก่อนที่จะเกาหลีนำไปรีเมคเป็นเพลง Seleb five ล่าสุดนั่นเอง แต่ถึงแม้จะใช้เพลงเดียวกันกับกลุ่มก่อนหน้านี้ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะในโชว์นี้ เพลงได้ถูกนำมาเรียบเรียงให้ในแบบฉบับของทาเคอุจิ มิยู สมาชิกจาก AKB48 ที่มากความสามารถอีกคนนึง และได้เกรด A ไปสมกับความพยายาม อีกด้านของโกโต โมเอะ สมาชิกในทีมนี้ที่ประสบปัญหาเป็นภูมิแพ้ ไม่มีเสียง ทำให้ไม่สามารถร้องเพลงได้ก็ต้องได้รับผลประเมินระดับสุดท้ายไปโดยปริยาย



    6.Ah-Choo&Bad - ควอนอึนบี / คิมแชวอน / คิมซูยุน / คิมโซฮี Woolim Ent.

    : ไปสุดทั้งสองด้าน เป็นครั้งแรกที่ค่าย Woolim Ent. ส่งเด็กฝึกหัดในสังกัดของตัวเองมาแข่งในรายการ PRODUCE หลายคนก็คงต่างแต่คาดหวังว่าค่ายคุณภาพที่มีไอดอลมากความสามารถนั้นจะส่งเด็กฝึกแบบไหนมากันแน่ ซึ่งก็ไม่ผิดหวังเลย เพราะไม่ว่าจะหยิบเพลงแนวสดใสของ Lovelyz หรือเพลงแนวดุดันของ INFINITE ซึ่งเป็นรุ่นพี่ในค่าย เด็กฝึกหัดค่ายนี้ก็สามารถแสดงออกมาได้ดีจนทั้งสตูต้องตกตะลึง โดยเพราะควอนอึนบี เด็กฝึกหัดที่มีอายุมากที่สุดในกลุ่ม เพียบพร้อมจนครูฝึกถึงกับออกปากเลยว่าทำไมยังไม่ได้เดบิวต์อีก ความสามารถพร้อมถึงขนาดนี้แล้ว



    7.Dear J - มัตสึอิ จูรินะ SKE48

    : ประสบการณ์10ปีไม่เคยแพ้ใคร— จุดเด่นการแสดงของมัตสึอิ จูรินะในเพลง Dear J ก็คือความมั่นใจ ไม่ว่าจะการร้อง การเต้น สีหน้า และท่าทาง ทั้งหมดล้วนแต่แสดงออกมาด้วยความมั่นใจ ไม่มีความประหม่าเลยแม้แต่นิดเดียว ครูฝึกทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าจูรินะเป็นคนที่ฝีมือดีรอบด้านที่สุดในบรรดาเด็กญี่ปุ่นทุกคน

    • มัตสึอิ จูรินะ SKE48 รุ่นที่1 ได้เข้าร่วมโปรโมตกับ AKB48 ตั้งแต่ปี 2008 ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาได้ผ่านผลงานต่างๆมามากมาย อีกทั้งในการเลือกตั้งเซ็นบัตสึครั้งที่ 10 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดยังสามารถคว้าบัลลังก์อันดับ 1 ไปครองได้อย่างไม่มีใครคัดค้าน



    8.Havana - อีกาอึน / ฮอยุนจิน Pledis Ent.

    : สองดูโอ้ยีราฟจากเพลดิสกับเพลงฮิตระดับโลกอย่าง Havana โชว์ที่มีความลงตัวของ

    • อีกาอึน เคยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของวงเกิร์ลกรุ๊ปชื่อดังอย่าง After School เมื่อปี2012 ก่อนที่วงจะไม่มีผลงานมาจนถึงทุกวันนี้ เหตุผลที่กาอึนเข้าร่วมรายการก็เพราะหวังว่าจะเป็นโอกาสที่ทำให้ตัวเองได้กลับมาแสดงบนเวทีอีกครั้ง



    9.Black Angel - มิยาวากิ ซากุระ HKT48

    : ความคาดหวังอันดับ1ของรายการ ถึงแม้ว่าการแสดงของมิยาวากิ ซากุระกับเพลง Black Angel ของ AKB48 จะเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในช่วงเวลานึงว่าไม่เหมาะสมกับเกรด A ที่ได้รับมา แต่ทว่าสิ่งที่ครูฝึกต่างเห็นพ้องต้องกันและมอบเกรดที่สูงที่สุดให้กับเธอก็เพราะว่า นอกจากความสามารถทีีสามารถพัฒนาต่อไปได้ ความมุ่งมั่น การมี ครูฝึกเบฝึกเบยุนจอง




    10.Mister - ชิตาโอะ มิอุ / นากาโนะ เซรินะ / ฮอนดะ ฮิโตมิ AKB48

    : โชว์ดีแต่ไม่มีซีน ความผีที่เลื่องลือของ MNET ที่พยายามจะตัดต่อออกมาให้เด็กญี่ปุ่นเสียเปรียบเรื่องความสามารถ ตัดช็อตพลาดๆมารวมใส่ไว้ในตอนจริง แต่โชว์ของเด็กญี่ปุ่นดีๆอย่างโชว์นี้กลับไม่มีอยู่เลยแม้แต่น้อย มิอุ เซรินะ ฮิโตมิ เป็นสมาชิกของ AKB48 ทีม 8 ที่พ่วงความสามารถมาเกาหลีได้ครบเครื่อง โดยการเลือกเพลง Mister เวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นที่เป็นอีกเพลงดังตลอดกาลของ KARA มาใช้ในรอบประเมินนี้ถืิอว่าตีโจทย์แตกความผสมผสานของเกาหลีและญี่ปุ่นมาก ใครยังไม่เคยดูต้องขอแนะนำเลย


    /

    และนี่เป็นเพียงแค่10โชว์ที่ถูกยกขึ้นมาพูดถึงในตอนนี้ จริงๆโชว์รอบนั้นยังมีอีกหลายโชว์ที่น่าประทับใจ

    ไม่ว่าจะเป็นโชว์ของ WM girls ที่นำทีมโดยอีแชยอน  โชว์สายแฮปปี้ของ NGT48 

    หรือจะโชว์ของยาบุกิ นาโกะ + ทานากะ มิคุ ... (อันนี้mnetไม่ปล่อยมาให้ดูด้วยนะ อุแง)

    เยอะมาก แนะนำให้กลับไปนั่งไล่ดูเลยค่ะจริงๆ แฮปปี้ที่สุดแล้ว

    ตอนต่อไป CHAPTER 2 : It’s Mine เมื่อความสามารถถูกแบ่งออกเป็นระดับ

    แล้วเจอกันตอนหน้านะค้าบ(*´ω`*)

    /


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in