เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Fashion BlogAunyanat Rattanasang
Fashion กับความรุนแรง
  • หากแฟชั่นคือ การแสวงหาความสวยงามความแปลกใหม่ หรืออาจจะไม่ใช่ทั้งสองอย่าง หรือตัวของแฟชั่นเองมันอาจอยากเปลี่ยนก็เปลี่ยนแบบไม่มีเหตุผลใดเพราะแฟชั่นก็คือแฟชั่นนั้น ก็ไม่ได้จะบอกว่าจะถูกจะผิดแต่อย่างใดเพราะบางครั้งแฟชั่นก็เป็นไปในทำนองนั้นเช่นกันหากแต่วันนี้ผู้เขียน Blog จะมานำเสนอถึงแฟชั่นในอีกมุมหนึ่งที่เป็นเสมือนการเรียกร้องหรือการแสดงออกถึงบางอย่างเข้ามาเขียนในเรื่องของวันนี้

    ซึ่งอาจจะไม่ได้อยู่ในเทรนด์ของช่วงนี้มาสักพักหากแต่การที่แบรนด์ดังทำอะไรทำนองนี้ก็ถือว่ายังคงมีความน่าสนใจเสมอ จากภาพ campaign ของการร่วมงานกันระหว่างแบรนด์ Gucci กับ Adidas ที่ได้ setting ภาพตามภาพยนตร์ของ Stanley Kubrick ซึ่งถือเป็นผู้กำกับชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ด้วยสไตล์การเล่นแสงสีที่จัดจ้าน บทที่หนักหน่วงกดดัน และการจัดวางองค์ประกอบภาพในหนังที่นำเสนอออกมาได้อย่างมีมิติและมีเอกลักษณ์ ทั้งนี้ด้วยแนวคิดของครีเอทีฟไดเร็กเตอร์อย่าง Alessandro Michele ที่ต้องการผสมผสานของทั้งสามสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงเกิดเป็น campaign ที่ชื่อว่า Exquisite collection ขึ้นมาเพื่อนำเสนอความเข้ากันของ collection ให้เสมือนว่ากลมกลืนมีอยู่จริงในหนังเรื่องนั้น และที่สำคัญก็เพื่อเป็นการระลึกถึงผลงานของผู้กำกับท่านนี้ไปด้วยนั่นเอง


    Exquisite Gucci Campaign

    - สิ่งที่ทำให้collection นี้มีความน่าสนใจนัยหนึ่งอาจเป็น “ความรุนแรง” ที่แอบแฝงมากับหนังที่ตัวแบรนด์หยิบยืมมาทำเป็นcampaign ครั้งนี้

    หลายคนอาจมองว่า collection ที่ทำร่วมกันของ Gucci กับ Adidas นั้นอาจไม่ได้เกี่ยวกับความรุนแรง เพียงสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและให้ความเคารพต่อผลงานของ Stanley Kubrick หรืออาจเพียงต้องการทำให้เห็นว่าเสื้อผ้าที่ Gucci คอลแล็บอยู่กับ Adidas นั้นสามารถเข้าไปอยู่ในหนังของผู้กับกำผู้นี้ได้อย่างกลมกลืนซึ่งทั้งนี้ก็ไม่ได้บอกว่าผิดแต่อย่างใดเพราะ ผู้จัดทำภาพเซทนี้ก็ได้กล่าวไว้ว่าชื่นชอบและชื่นชมผลงานของผู้กำกับท่านนี้ไว้แล้วในการให้สัมภาษณ์

    หากแต่สิ่งที่ ผู้เขียน blog นี้กำลังจะพาไปนั้น คงเป็นนัยยะหนึ่งที่ผู้สร้างอาจไม่ได้ตั้งใจพาเราไปดูแต่อาจเป็นสิ่งที่คนดูอย่างเรา ๆ เชื่อมโยงได้ด้วยตัวเองจากประสบการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นจากการดู collection นี้ นอกจากสีสัน ความสมมาตร บท และการวางสถานที่ หรือตัวละคร อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจ คือความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายใต้ภาพการนำเสนอของแต่ละภาพ แต่ละscenes อย่างที่เราจะเห็นได้จากภาพยนตร์ของ Stanley Kubrick 

    การที่แคมเปญนี้ได้เลือกแต่ละเรื่องมานำเสนอนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 2001:A Space Odyssey (1968),   A Clockwork Orange (1971), Barry Lyndon (1975), The Shining (1980) และ Eyes wide shut (1999) นอกจากสีสันที่ฉูดฉาดของแต่ละเรื่อง composition ความแปลกประหลาด หรือชื่อเสียงของตัวหนังเองแล้ว หนังใน collection นี้ล้วนมีความรุนแรงเป็นองค์ประกอบร่วมกันในหนังแทบทั้งสิ้นความรุนแรงความกดดันที่เกิดขึ้นทั้งภายในครอบครัว สังคม ความกดขี่ต่อเพศสภาพหนึ่งที่อ่อนแอกว่า ล้วนแอบแฝงอยู่ในหนังที่ collection นี้หยิบมาทำเป็นแคมเปญ 

    ซึ่งนี่คือส่วนที่เราจะพูดใน blog นี้ ว่าเหตุใดกัน แฟชั่นถึงมีการพูดถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นผ่านนัยยะของบางcampaign หรือผ่านหน้าแม็กกาซีนอย่าง Vogue ด้วยเช่นกัน พวกเขาต้องการจะสื่ออะไรกันแน่กับภาพที่ปรากฎขึ้นมาในภาพของการโปรโมทนั้น


    The shining (1980)

    ก่อนอื่นต้องกล่าวว่านี่ไม่ใช่สิ่งใหม่ในโลกของแฟชั่นหากย้อนกลับไปในปี 2014 ที่ปก Vogue Italia ของเดือนเมษายนเองก็ได้มีการนำเสนอถึงภาพที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากฟิล์มภาพยนตร์ด้วยเช่นกันโดยเฉพาะ Horror film โดยใช้ชื่อหัวเรื่องว่า Horror Movie ผู้ถ่ายภาพเซ็ท นี้คือ Steven Meisel และในช่วงนั้นบรรณาธิการของ Vogue Italia ที่ถือเป็นคนสำคัญที่นำเสนอideas นี้ก็คือ Franca Sozzani


    VOGUE ITALIA 2014 APRIL
    horror movie : Steven Meisel

    ด้วยทัศนคติของ Franca Sozzani ในตอนนั้นไม่ต้องการที่จะให้หนังสือ Vogue เป็นเพียงแค่แม็กกาซีนของคนอิตาเลียนธรรมดาเพียงเท่านั้น เพราะเธอมองว่าอิตาลีเป็นเพียงประเทศเล็กๆ เมืองเล็ก ๆ ดังนั้นเธอเลยต้องหาอะไรที่มองข้ามไปไกลกว่านั้นไม่ใช่แค่สนใจเพียงแค่เรื่องภายในประเทศของตัวเอง

              “ Italian Vogue should not be only an Italian magazine,”

              “ You know, Italy is only a small country… we need to look abroad. We cannot only be  

    focused on ourselves.” - Franca Sozzani

    และด้วยทัศนคตินี้ผสมกับการมีวิสัยทัศน์ของเธอทำให้ช่วงเวลาที่ Sozzani เป็นบรรณาธิการของ Vogue นั้นเป็นอะไรที่น่าสนใจและน่าติดตามเป็นอย่างมากเลยทีเดียว แต่ย้อนกลับมาที่เรื่องของเรา จากภาพภายในนิตยสาร vogue ของเดือนเมษาอีกครั้ง เราจะเห็นได้ว่าทั้งโทนสี องค์ประกอบภาพ สีหน้าท่าทางของนางแบบที่ฉายชัดถึงความหวาดกลัว เลือดและความรุนแรงที่ส่งผ่านออกมาจากรูปนี้มันเป็นอะไรที่น่ากลัวมากสำหรับคนธรรมดาคนหนึ่งที่ต้องมาเผชิญชะตากรรมอะไรแบบนี้...โดยเฉพาะผู้หญิง 

    ซึ่งแน่นอนว่าตัว campaign นี้ต้องการนำเสนอถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ตัวของ Sozzani เห็นภาพเหล่านี้ทุกๆ วันในทีวีและไม่เพียงแค่ในทีวี แต่รับรู้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดทั่วทุกมุมโลก โดยที่เราไม่รู้ได้เลยว่ามีผู้หญิงอีกมากมายเท่าไรที่ต้องถูกทำร้าย ถูกคุกคาม ถูกฆ่าตายจากคนรอบตัวของพวกเธอ หรือสังคมที่พวกเธอเหล่านั้นอาศัยอยู่ ราวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังสยองขวัญที่เราดูผ่านฟิล์มหนัง หากแต่มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและมันเป็นหนังสยองขวัญที่เกิดขึ้นในชีวิตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง

    …especially that the horror of life is bigger than the one that you can see in the movies. This is really a horror show, what we are looking at and what we see every day in every newspaper around the world is how fragile the woman still is today, and how she can be attacked, can be abused, can be killed.” 

    - Franca Sozzani

    และแม้การทำ campaign ในทำนองนี้จะไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ เป็นเรื่องใหม่และอาจดูไม่เกี่ยวกับแฟชั่นที่ต้องนำเสนอเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับ หรือการอัปเดตเทรนด์แต่อย่างใด หากแต่สิ่งที่คนสร้างนั้นต้องการจะนำเสนอคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องการที่จะเตือนถึงเรื่องราวเหล่านี้

    ในมุมมองของ Sozzani เองนั้นมองว่า แฟชั่นในทุกวันนี้สามารถเข้าถึงได้ทุกคน สามารถอ่านเรื่องเกี่ยวกับแฟชั่นผ่านอินเทอร์เน็ต ทุกคนสามารถเป็น blogger หรือวิเคราะห์เกี่ยวกับแฟชั่นได้ทั้งนั้นแฟชั่นจึงเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของพวกเราทุกคน ซึ่งต่างจากอดีตที่แฟชั่นเข้าถึงยาก ดังนั้นเราจึงใช้แฟชั่นเป็นตัวกลางสื่อสาร message บางอย่างได้ซึ่งตรงนี้เธอมองว่ามันน่าสนใจ

    “ Especially today, fashion is approachable by everybody. Everybody knows about fashion through the internet, everybody can become a blogger or fashion critic, so fashion is part of the life of everybody today, more than it was in the past. So, to use fashion in away to communicate something else, I think, is very interesting.” 

    Franca Sozzani

    แต่ในทางกลับกันก็มีบางกลุ่มมองว่าการทำอะไรแบบนี้มันเป็นการขายฝันที่อยากมีโลกสันติ แต่ก็ทำได้แค่เขียนลงในนิตยสารแฟชั่น แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ในชีวิตจริงอยู่ดี ซึ่งตัวเธอเองกลับมองว่าสิ่งที่เธอทำนั้นมัน คือการให้พื้นที่ในการใช้เสียงเพื่อเรียกร้องให้คนหันมาสนใจถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมนี้ได้ เป็นเสมือนการเตือนให้คนที่รับสารเข้าใจถึงสิ่งที่เธอกำลังจะพูดมากกว่า

    “ We sell the dream because we are a magazine; we are the dream, no? Vogue...But at the same time, we can give people the opportunity to have a voice, for awareness.”      - Franca Sozzani

    และกล่าวต่อไปอีกว่า สิ่งที่เธอกำลังทำคือ ใช้สิ่งที่เธอมีเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่เข้มแข็งมันไม่มีทางเลือกหากเราต้องการที่จะสื่อสารกับผู้คนทั่วโลก และตัวเธอนั้นเองก็คิดว่าแฟชั่นไม่ได้จำกัดแค่เพียงเสื้อผ้า หากรวมไปถึงวัฒนธรรม สถานที่อยู่อาศัยมันรวมไปถึง social movement เศรษฐกิจ เชื้อชาติและทุกๆ สิ่งได้นั่นเอง

    ...For me, they were my tool. So, that's why probably some ofthe images, they really look very strong, but I have no other choice but totalk worldwide; to talk to everybody. And I think that fashion is not only about dresses, but about culture, it's about where you live, it's about social movement, it's about economical movement, it's about racism, it's about everything.” Franca Sozzani

    horror movie : Steven Meisel

    มาถึงตรงนี้เราน่าจะตอบได้แล้วว่าการที่ความรุนแรงนั้นปรากฎในโลกของแฟชั่นนั้นเป็นนัยยะไปถึงการเรียกร้องบางอย่างเพื่อให้คนตระหนักถึงว่าการใช้ความรุนแรงนั้นไม่เป็นผลดีแต่อย่างใดรังแต่จะทำให้เกิดข้อผิดพลาด หรือผลเสียต่าง ๆ ตามมา ก่อให้เกิดอาชญากร ผู้คนหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ทำให้สังคมที่อยู่นั้นไม่ปลอดภัย ไม่น่าอยู่ส่งผลต่อเศรษฐกิจลามไปเรื่อยๆ จนเป็นปัญหาของสังคม เป็นปัญหาระดับประเทศยากเกินกว่าที่จะแก้ไขให้อะไรกลับมาดีขึ้น 

    ดังนั้นในอีกมุมหนึ่งแฟชั่นจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนการเรียกร้องต่ออะไรบางอย่างในสังคมของเราได้ด้วยเช่นกัน ไม่ได้เป็นเพียงแค่การนำเสนอเรื่องความสวยงาม หรือความแปลกใหม่ หรือความไม่มีเหตุไม่มีผลเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หากเรียกร้องเพื่อให้คนตระหนักถึงปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมและช่วยกันแก้ไขก่อนที่จะถลำลึกในปัญหาไปมากกว่าเดิมนั่นเอง 


    อ้างอิง

    Alexander, F. (2014). Domestic violence inVogue? Franca Sozzani takes a stand on fashion’s glossiest pages. RetrievedOctober 28, 2022, from: https://www.independent.co.uk/life-style/fashion/features/domestic-violence-in-vogue-franca-sozzani...

    La rédaction. (2022). Gucci’s tribute to director Stanley Kubrickdeciphered. Retrieved October 28, 2022, from: https://www.numero.com/en/mode/campaign-gucci-films-kubrick-alessandro-michele

    _______. (2014). Death As A Fashion Statement. RetrievedOctober 30, 2022, from: https://photographingthefourthwave.wordpress.com/2014/04/08/death-as-a-fashion-statement/

    VOGUE. (2565). คุยกับ AlessandroMichele กับการรังสรรค์ผลงานของ Stanley Kubrick ราวกับว่าอยู่ในโลกภาพยนตร์. สืบค้นเมื่อวันที่28 ต.ค. 65 จากเว็บไซต์: https://www.vogue.co.th/fashion/article/alessandro-michele-stanley-kubrick

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in