วันนี้เราจะมาลองรีวิวเพลงแบบเขียนยาวๆ กัน
โดยเพลงที่จะเอามารีวิว และมันนั่งเขียนเกินความจำเป็นก็คือเพลง
ก่อนอื่นก็เลยมาพูดถึงว่าผมรู้จักเพลงนี้ได้ยังไง ก็คือตอนนั้นกำลังไปนั่งส่องทวิตเตอร์ของชาวต่างชาติที่แบบ จะแนะนำเพลงแปลกๆ เพลงแนวทดลอง เพลงที่แบบ โอ้ว มีเพลงแบบนี้อยู่ด้วนเด๋อ ไปจนถึงเพลงที่แบบ “อินดี้มาตรฐาน” แล้วก็ไปเจอเพลงหนึ่งมา ซึ่งเพลงที่เจอไม่ใช่เพลงนี้นะครับบบ
เพลงที่เจอตอนนั้นจะเป็นอีกเพลงนึงของวงเดียวกัน ชื่อว่า Beatrix
ตอนแรกก็ฟังไปก็แบบว่า เออ เพลงแนวทดลอง แนว experimental แหล่ะ แต่แบบเอ๋? ทำไมปกภาพอัลบั้มมันดูเก่าแปลกๆ ก็เลยหาข้อมูลดู แล้ววก็ wow! เพลงในอัลบั้มนี้ออกมาในปี 1986 ก็แบบ อู้ว เก่าจัง (แอะๆ ผมเกิด 2003 เพลงนี้ออกก่อนผมเกิดตั้ง 17 ปี) เลยว่าแบบมันเก่า แต่เพลงฟังดูไม่เก่าเลย ดู timeless ดูเหมือนกับเพลงใหม่ๆ เพลงหนึ่ง อาจจะเป็นที่เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิคจ๋าด้วยมั้งนะ
ก็เลยเก็บไว้ในเพลย์ลิสต์ไป ไม่ได้เอามาฟังบ่อยๆ เพราะมันเป็นเพลงที่ฟังแบบ อ่ะ จะอธิบายในอีกย่อน่านึงเลยละกัน
เพลงแนว experimental หรือแนวทดลองนี้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่เพลงที่มีรูปแบบทั่วไปเหมือนเพลงแนวอื่นๆ อยู่แล้ว จะมีเป็นช่วงสเปกตรัมตั้งแต่ เพลงที่ยังคล้ายๆ อยู่จนถึงการที่เราสามารถตั้งคำถามว่าสิ่งๆ นี้ยังคงเป็นเพลงอยู้หรือไม่ โดยส่วนตัวแล้วผมจะชอบมองเพลงพวกนี้เป็นงาน art เป็นผลงานทางศิลปะรูปแบบหนึ่ง คือทุกทีเราจะฟังเพลงเพื่อที่จะขับ mood ขับอารมณ์ไปตามเนื่อเพลง และทำนองของเพลง แต่เพลงพวกนี้ต้องลองฟัง ซึ่งเราอาจจะไม่เข้าในโดยทันทีเช่นเดียวกับงานศิลปะประเภท modern art หรือภาพแบบนามธรรมที่เราต้องยืนดู พิจารณาเป็นเวลาประมาณหนึ่ง แล้วเราอาจจะรู้ความหมายของมัน หรือบางที่เราเองต้องเป็นคนกำหนดความหมาย ความรู้สึกให้มันเอง ดังนั้นเพลงแนวนี้ก็จะมีแนวทางประมาณนี้ แต่เพลงด้านบนนี้ก็ไม่เชิงแนวทดลองขนาดนั้น ยังนับเป็นเพลงร็อค เพลงฟังก์ได้อยู่
แล้วพอเพิ่มเพลง Beatrix ไปในคลัง (ผมใช้ apple music) ด้วยความว่ามันฉลาดมาก มันแนะนำอัลบั้มนี้ขึ้นมาบนหน้าฟีด ก็แบบลองฟังก็ได้ เลยเกิดสุ่มไป ฟังไปเรื่องๆ และมาเจอเพลงนี้ เพลง Cherry-colored Funk นี่เอง
ให้ลิงค์ไปอีกรอบ เผื่อลืมไปละ ผมออกทะเลบ่อยเกิดไป
พูดถึงทะเล เรามาออกทะเลกันอีกรอบนึงดีกว่า มาพูดถึงวงนี้กันก่อนดีกว่า
วง Cocteau Twins หรือที่วิกิภาษาไทยอ่านว่า “ค็อกโททวินส์” เป็นวงดรีมป็อปจากสกอตแลนด์ในช่วงปี 1979 ถึง 1997 มีสมาชิกวง 3 คน เอลิซาเบธ เฟรเซอร์ (ร้องน้ำ) โรบีม กัทธรี (กีตาร์และดรัมแมชชีน) และ วิล ฮิสกี้ (เบส)
สิ่งต่อไปนี้ผมจะเขียนจะเป็นความคิดเห็น และมุมมองของผมเองนะครับ
โอเคขี้เกียจละ มาเข้าประเด็นกันเลยดีกว่า เพลงนี้เปิด intro มา ให้ผมผู้ที่ไม่ได้เก่งเรื่องดนตรีมากเดาเครื่องดนตรี น่าจะเป็นเสียงกีตาร์ และซินธิไซเซอร์ที่ครอบคลุมบรรยากาศโดยรวมตามรูปแบบดรีมป็อปฟังก์ และมีเสียงกลองกับแทมโบรีน ที่ฟังๆ ดูแล้วให้บรรยากาศแบบการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง และยังมีความหยาบที่เรียบเนียนจากกีตาร์ และซินธิไซเซอร์ประกอบกำเสียงร้องของเฟรเซอร์ที่ร้อง เมโลดี้หลักที่ฟังละเป็นการร้องคีย์ต่ำๆ ในช่วง Verse และการขึ้นคีย์เสียงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง Chorus ถัดมาที่จะยกอารมณ์ขึ้นไปชั่วครู่ ก่อนจะถูกดึงลงมาและกลับลงไปที่คีย์ตำ่ใน Verse ที่สอง และตามมาด้วย Chorus ที่สองที่มีคีย์สูงเหมือนเดิม และตามมาด้วยท่อน Bridge ที่ในประโยคแรกจะยังคงร้องคีย์และเมโลดี้เดียวกันกับ Chorus อื่นๆ แต่จะดึงอารมณ์ลงมาในระดับกลางๆ ในประโยคที่สอง ก่อนจะขึ้น Chorus ครั้งที่สามที่มีเนื้อหา และระยะเวลาที่มากว่า Chorus แรกๆ สองเท่าที่ 4 ประโยค และเพลงก็ตัดจบลงแบบเร็วๆ โดยทิ้งอารมณ์ให้อยู่บนนั้นอรชีกต่อไป โดยความรู้สึกตอนที่เพลงจะจบจะทำให้ความรู้สึกเว้งว้าง เหมือนกับเหตุการณ์ที่พึ่งจะจบไป เหลือแต่ความว่างเปล่า แต่เวลาก็ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยรวมดนตรีผมให้ดี ถึงดีมากเลยครับ
โดยเพลงนี้จะคงคอร์ด A-E-D ในช่วง Verse และคอร์ด F#m-C#m-D ในช่วง Chorus และ Bm-E-A-D โดยจะเล่นวน 2 3 หรือ 4 ครั้ง ซึ่งก็จะไม่ต่างไปจากเพลงป็อป เพลงร็อคอื่นๆ แต่ combination ที่ให้มาก็เข้ากับเครื่องดนตรี และอารมณ์โดยรวมของเพลงได้อยู่เป็นอย่างดี
มาพูดถึงเนื้อเพลงกันครับ ก็บอกได้เลยว่าฟังไม่ออก ด้วยสำเนียงอันเป็นเอกลักษณ์ของวงนี้แล้ว ถ้าไม่เปิดดูเนื่อเพลงก็จะฟังไม่ออกเลยครับ (ก็ไม่ถึงขนาดนั้น คือฟังออกในบางท่อน และในช่วงที่กึ่งร้องกึ่งพูดนี่ฟังออกชัดแจ่มแจ้งเลยครับ) ก็ลองมาวิเคราห์เนื้อเพลงกันต่อ
ผมคิดว่าคนแต่งอาจจะมีความหมายที่ต้องการสื่อยู่แล้ว โดยการสื่อสารที่ส่งมานั้นจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อหา หรือความหมายของเพลง โดยสังเกตจากวิธีการร้องจะมีการร้องเชื่อมเสียง คือไม่ได้ออกเสียงให้ฟังได้ชัดเจน แต่อยู่ที่อารมณ์ที่ถ่ายทอดโดยน้ำเสียง และการเปล่งเสียง โดยเนื้อเพลงนั้นมีการเปรียบเทียบอุปมา metaphor ที่มากจนยากที่จะเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อ โดยอยากให้มองในมุมนี้มากกว่า มองว่าเสียงที่ร้องออกมานั้นเป็นเหมือนเครื่องดนตรีอีกชิ้นนึง เป็นแค่การขับเพลง ที่ไม่ได้สื่อความหมายในเชิงคำพูดวาธี แต่อยู่ในรูปของอารมณ์ทั้งจากน้ำเสียง เครื่องดนตรี องค์ประกอบอื่นๆ และรูปแบบต่างๆ อย่างที่ผมบอกไป ฟังเพลงนี้เหมือนกับงานศิลปะ ตั้งคำถาม และตอบคำถามด้วยตัวของคุณเอง ถึงแม้ว่าคำถามนั้นจะไม่มีอยู่จริงก็ตาม สนุกกับเพลง เพลิดเพลินไปกับเสียง บางอย่างไม่ต้องมีความหมายเสมอไปก็ได้
บ้ายบัย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in