หลังจากที่พม่าเสียดินแดนทางใต้ให้อังกฤษแล้ว การเมืองของพม่าก็มีแต่ความวุ่นวายมีการชิงบัลลังค์กันเนืองๆจนถึงสมัยของ พระเจ้ามินดง(พ.ศ.2394-2421)ซึ่งชิงบัลลังค์มาจากพระเจ้าพุกามมิน ในสมัยนี้เป็นสมัยรุ่งเรืองสุดท้ายของพม่า
พระเจ้ามินดงจัดเป็นสาย พิราบ ทรงเห็นว่าต้องยอมโอนอ่อนผ่อนตามอังกฤษเท่านั้นคือทางรอดของพม่า พระองค์จึงเริ่มปฏิรูปประเทศแบบหักโคนล้ำหน้าชาติอื่นๆในเอเซียในเวลานั้น
ด้วย การยกเลิกระบบกินเมือง(ซาเมียว) จัดตั้งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปปกครองแทนคล้ายระบบเทศาภิบาลในสมัย ร.5 ยกเลิกระบบผูกขาดทำสัญญาการค้ากับอังกฤษ มีการจัดเรือกลไฟหลวงวิ่งล่องในแม่น้ำอิรวะดีเพื่อหารายได้เข้าคลัง มีการติดตั้งระบบโทรเลขสมัยใหม่ในพม่า ส่งโอรส-ธิดาไปศึกษายังต่างประเทศ และที่สำคัญพยายามส่งทูตไปยังประเทศต่างๆในยุโรป เพื่อพยายามถ่วงดุลกับอังกฤษ
ซึ่งได้ผลระดับนึง พอที่จะประคองพม่าตอนบนให้รอดเงื้อมมือของอังกฤษไปได้ มีเกร็ดนิดนึงในสมัยพระเจ้ามินดงเป็นครั้งสุดท้ายที่ไทยทำสงครามกับพม่า คือสงครามเชียงตุง ตรงกับไทยในสมัย ร.4 ซึ่งผลไทยเป็นฝ่ายแพ้เพราะขาดกำลังพลและเสบียง กอปรกับหัวเมืองล้านนาไม่ได้ให้ความร่วมมือในการบุกครั้งนี้ จากเหตุการณ์นี้พออนุมานได้ว่าศักยภาพทางทหารของไทยเวลานั้นอ่อนแอกว่าพม่า เสียอีก
ทั้งๆที่พม่าไม่ได้ส่งกองทัพจากส่วนกลางมาต้านทาน ใช้แค่กองกำลังท้องถิ่นเมืองนาย ทางภาคตะวันออกเข้าสนับสนุนเชียงตุงเท่านั้น ส่วนกองทัพไทยเกณฑ์พลมาจากกรุงเทพฯ และมีกองทหารที่ฝึกหัดแบบตะวันตกเข้าร่วมรบด้วย(เหตุการณ์ตอนที่นายมากโดน เกณฑ์ไปรบ ในเรื่องแม่นากพระโขนงไง)
ฉะนั้นเรื่องที่ไทยจะรบกับฝรั่งเศสในสมัย ร.5 เลิกคิดไปเลยครับ สู้ไม่ได้แน่นอน
พระเจ้ามินดง
แถม สงครามเชียงตุงมี 3 ครั้งครับระหว่างปี 2393-2395 กองทัพไทยในเวลานั้นผ่านศึกสุดท้ายมาคือ อานาม-สยามยุทธกับเวียดนาม ในสมัย ร.3 เมื่อ 5 ปีก่อนหน้านั้น (พ.ศ.2390 )
กำลังรบหลักยังต้องใช้การเกณฑ์เลก-ไพร่ แบบสมัยโบราณ อาจจะมีบ้างที่มีกองทหารที่ฝึกแบบตะวันตกขึ้นไป แต่ด้วยภูมิประเทศที่ทุรกันดาร หัวเมืองล้านนาไม่เต็มใจสนับสนุนเสบียง เพราะรู้สึกว่าการตีเชียงตุงตนเองไม่ได้ประโยชน์อะไร (ถึงขั้นไม่ยอมส่งทัพสมทบกับทางกรุงเทพฯ) เมื่อขาดเสบียงตียังไงก็ไม่แตกครับ ถ้าอยากรู้ว่าเชียงตุงทุรกันดารยังไงลองดูในหนังสือของจอมพลผิน ชุณหวัณก็ได้ครับ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in