เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ดอนเมือง: แนวทางการใช้ประโยชน์สูงสุดเพื่อชาติ By โสภณ พรโชคชัย บก.
  • รีวิวเว้ย (1218) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    การก้าวขึ้นมาเป็นที่นิยมของการเดินทางโดยเครื่องบินในประเทศไทย หากย้อนกลับไปมองกระแสความนิยมและการพัฒนาขึ้นมาของการเดินทางดังกล่าว คงย้อนกลับไปไม่ไกลนัก อาจจะอยู่ในช่วงของปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมาที่สายการบินราคาประหยัดเริ่มเกิดขึ้นและค่อย ๆ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตลอดมา กระทั่งการเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัดในประเทศเป็นที่นิยมและกลายมาเป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักสำหรับการเดินทางภายในประเทศและต่างประเทศของคนไทย ซึ่งความนิยมของการเดินทางในลักษณะนี้เองที่ครอบคลุมไปในเกือบทุกจังหวัดทำให้หลายคนมีโอกาสเข้าถึงจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ง่ายดายและสะดวกขึ้น อีกทั้งแนวโน้มของการเดินทางด้วยสายการบินราคาประหยัดก็จะยิ่งพัฒนาขึ้นในทุกวัน
    หนังสือ : ดอนเมือง: แนวทางการใช้ประโยชน์สูงสุดเพื่อชาติ
    โดย : โสภณ พรโชคชัย บรรณาธิการ
    จำนวน : 96 หน้า

    "ดอนเมือง: แนวทางการใช้ประโยชน์สูงสุดเพื่อชาติ" หนังสือรวมบทความที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 ภายหลังจากที่ประเทศไทยมีสนามบินแห่งชาติแห่งใหม่อย่าง "สนามบินสุวรรณภูมิ (สนามบินหนองงูเห่า)" เปิดใช้งาน ซึ่งในช่วงของการเปิดใช้สนามบินหนองงูเห่านั้นสนามบินดอนเมืองก็ถูกลดบทบาทไปช่วงหนึ่ง กระทั่งมีการกลับมาใช้สนามบินดอนเมืองอีกครั้งในฐานะของสนามบินที่รองรับการขยายตัวของสายการบินราคาถูกในประเทศ และในภายหลังได้มีการขยายตัวการเดินทางด้วยเครื่องบินเกิดขึ้นในประเทศ ทำให้ดอนเมืองมีการขยายการใช้งานอีกครั้งทั้งในฐานะของสนานบินหลักของสายการบินในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศสำหรับประเทศในภูมิภาค

    สำหรับเนื้อหาของ "ดอนเมือง: แนวทางการใช้ประโยชน์สูงสุดเพื่อชาติ" เป็นการรวบรวมเอาบทความที่ได้รับการคัดเลือกภายใต้โครงการ "ดอนเมือง: แนวทางการใช้ประโยชน์สูงสุดเพื่อชาติ" จำนวน 11 ชิ้นมารวมเล่มเข่าด้วยกัน โดยบทความแต่ละชิ้นมีดังนี้

    (1) 8 ทางเลือกการใช้สนามบินดอนเมือง

    (2) ดอนเมืองยังใช้ประโยชน์ได้อีกมหาศาล

    (3) ยังคงเป็นสนามบินอีกแห่งได้สบาย

    (4) ศูนย์ซ่อม ศูนย์วิชาการและพิพิธภัณฑ์การบิน

    (5) ใช้สนามบินทั้งสองแห่งหรือให้ดอนเมืองเป็นหน่วยธุรกิจ

    (6) ศูนย์การศึกษา-เรียนรู้การบินแห่งชาติ

    (7) สนามบินสำรองของชาติและทางเลือกอื่น

    (8) ดอนเมืองยังใช้ประโยชน์ได้อีกมาก

    (9) 11 ทางเลือกการใช้สนามบินดอนเมืองแห่งชาติ

    (10) ครอบคลุม ครบ คลัง ครัวและขาย

    (11) เป็นสนามบินคู่ขนานกับสนามบินสุวรรณภูมิ

    (12) บทส่งท้าย

    ความน่าสนใจประการหนึ่งเมื่ออ่าน "ดอนเมือง: แนวทางการใช้ประโยชน์สูงสุดเพื่อชาติ" จบลง คือการพบว่าเนื้อหาและข้อแนะนำหลายประการที่ปรากฏอยู่ใน "ดอนเมือง: แนวทางการใช้ประโยชน์สูงสุดเพื่อชาติ" น่าจะสามารถเอาไปปรับใช้กับสนามบินหลาย ๆ แห่งในประเทศ นอกเหนือไปจากสนามบินดอนเมือง อาทิ สนามบินเชียงใหม่ สนามบินหาดใหญ่ สนามบินภูเก็ต สนามบินขนาดกลางที่มีศักยภาพในการรองรับการใช้งานและมีศักยภาพในการเติบโต เพื่อให้สอดรับกับการใช้บริการสายการบินราคาประหยัดในประเทศที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในทุกขณะ เพื่อเป็นการพัฒนาพื้นที่ ส่งเสริมคุณภาพของการจัดบริการสาธารณะ และช่วยให้คนในแต่ละพื้นที่มีทางเลือกในการเดินทางที่มากขึ้น มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลายขึ้น รวมถึงมีการรวมมือในการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ของตนเองได้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in