Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
ล้านนาสวามิภักดิ์ By โจวปี้เฝิง
รีวิวเว้ย (1126)
รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รัฐบรรณาการ/
ประเทศราช
(Tributary state)
หมายถึง รัฐที่มีประมุขเป็นของตนเอง แต่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์อีกรัฐหนึ่ง เจ้าผู้ครองนครประเทศราชหรือสามนตราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการถวายเป็นประจำ และในยามศึกสงครามต้องส่งกองกำลังเข้าช่วยกองทัพหลวงด้วย มีลักษณะคล้ายรัฐในอารักขาของจักรวรรดินิยมตะวันตก (
https://artsandculture.google.com/entity/m094cmq?hl=th
) สถานะความเป็นรัฐบรรณาการหรือประเทศราชนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะด้วยในลักษณะของความพ่ายแพ้ หรือการสยบยอมเพื่อรักษาสถานะอำนาจบางอย่างเอาไว้ อย่างในหลายกรณีในประวัติศาสตร์ที่การเข้าเป็นรัฐบรรณาการคือกลไกหนึ่งของการสร้างการต่อรองกับรัฐข้างเคียง และเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สำหรับล้านนาเองก็เคยเป็นหนึ่งในรัฐบรรณาการของจีน ที่มีสถานะความสัมพันธ์ที่น่าสนใจในฐานะรัฐบรรณาการของจีน
หนังสือ : ล้านนาสวามิภักดิ์: ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับล้านนา
โดย : โจวปี้เฝิง
จำนวน : 174 หน้า
"
ล้านนาสวามิภักดิ์: ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับล้านนา" ได้นำเสนอประเด็นในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่าง "ล้านนา" กับ "จีน" ตั้งแต่ ค.ศ. 1260 - 1558 ซึ่งระบบบรรณาการระหว่างล้านนาและจีนสิ้นสุดลงเมื่อล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า โดยประเด็นที่หนังสือ
"
ล้านนาสวามิภักดิ์: ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับล้านนา" มุ่งนำเสนอมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเด็นหลักได้แก่
(1) ประเด็นแรก ประวัติศาสตร์ระบบบรรณาการของจีนต่อรัฐ ใหญ่และน้อยที่ตั้งอยู่รายรอบ แต่ละรัฐมีสถานภาพแตกต่างกัน ผู้เขียนได้ค้นคว้าถึงจุดเริ่มต้นของระบบบรรณาการ ซึ่งเกิดขึ้นมา กว่า 2,000 ปี มีการปรับเปลี่ยนไปตามราชวงศ์ต่าง ๆ แนวคิดของจีนต่อรัฐชายแดนทุกรัฐไม่ว่าอยู่ไกลหรือใกล้ล้วนต้องสวามิภักดิ์และถวายบรรณาการแก่จีน และให้จีนตั้งเขตปกครอง รัฐชายแดน ในกรณีล้านนา จีนถือว่ากษัตริย์ล้านนาเป็นขุนนาง ของตน โดยมอบเครื่องประดับยศและให้อยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ เชิงอำนาจระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย
(2) ประเด็นต่อมา จีนสร้างกลไกในระบบบรรณาการและจัดวาง ตำแหน่งแห่งที่ให้รัฐต่างๆ ที่อยู่รายรอบ ล้านนาในฐานะรัฐบรรณา การของจีน มีแนวปฏิบัติถวายบรรณาการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแนวปฏิบัติต่าง ๆ ต่อการส่งของบรรณาการต่อจีน
นอกจากนี้เนื้อหาของ
"
ล้านนาสวามิภักดิ์: ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับล้านนา" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ ดังนี้
บทนำ
บทที่ 1 หลักฐานความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างอาณาจักรจีนกับอาณาจักรล้านนา
บทที่ 2
ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับล้านนา
บทที่ 3 ลักษณะความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับล้านนา
บทส่งท้าย
เมื่ออ่าน
"
ล้านนาสวามิภักดิ์: ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับล้านนา" จบลง เราจะพบว่าในระบบความสัมพันธ์ของรัฐบรรณาการระหว่างจีนและล้านนาอยู่ใน 2 ลักษณะ คือ (1) ลักษณะของรัฐบรรณาการแบบต่างตอบแทน และ (2) ลักษณะของความสัมพันธ์แบบอาศัยล้านนาเป็นเมืองชายแดน ที่จะช่วยพิทักษ์ความสงบและเป็นเขตกันแดนของจีนต่อรัฐป่าเถื่อนอื่น ๆ โดยรอบ นอกจากนี้
"
ล้านนาสวามิภักดิ์: ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับล้านนา" ยังแสดงให้เราเห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างล้านนากับจีนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของระบบการปกครองที่ในหนังสือเลือกใช้คำว่า "ลักษณะคล้ายการปกครองท้องถิ่น" ที่เปิดโอกาสให้พื้นที่บริหารจัดการตัวเองภายใต้ผู้นำของรัฐนั้น ๆ
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (2)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in