เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ประวัติศาสตร์ซอมบี้ By ชนกพร ชูติกมลธรรม
  • รีวิวเว้ย (1120) ครั้งหนึ่งเคยถาม อ.ทวด (ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช) ว่า "ถ้าเกิดเหตุการณ์ซอมบี้ระบาด การจัดการในสภาวะวิกฤติจะเป็นเช่นไร" คำถามนี้เกิดขึ้นนานหลายปีก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งในตอนนั้นคำตอบของคำถามที่ได้รับ คือการเทียบเคียงกับกรณีที่อาจจะเกิดขึ้นจริง ๆ ได้ โดยการตอบคำถามปรับจาก "ซอมบี้" กลายมาเป็น "โรคระบาดทั่วโลก" แน่นอนว่ารูปแบบของการบริหารจัดการ และการรับมือในสภาวะวิกฤติที่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นตจากโรคระบาด หรือซอมบี้บุก ในเชิงการบริหารจัดการย่อมต้องแตกต่างกัน เพราะแม้กระทั่งภัยเดียวกันเกิดต่างกาลละและเทศะกันการบริหารจัดการก็แตกต่างกันจนบางครั้งเข้าใจว่าเป็นภัยคนละชนิดกัน จากคำถามในครั้งนั้นเราจำคำตอบของคำถามได้ไม่ชัดนัก หากแต่สิ่งที่ติดอยู่ในหัวมาตลอดสำหรับการเรียนกับ อ.ทวด และการได้มีโอกาสในการทำงานร่วมกับ อ.ทวด ในบางครั้ง สิ่งหนึ่งที่ถูกย้ำเตือนเสมอคือ "ต้องนิยามมันให้ได้" ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัย หรือปัญหาต่าง ๆ หากนิยามมันได้ชัดเราจะจัดการเรื่องเหล่านั้นได้เป็นระบบยิ่งขึ้น และอย่าทำอะไรตอนที่ตัวเองไม่มีสติเพราะมีโอกาสผิดพลาดจนนำภัยเล็ก ๆ พัฒนาไปสู่หายนะภัยได้ถ้าไม่ระวัง
    หนังสือ : ประวัติศาสตร์ซอมบี้: จากศพคืนชีพด้วยมนตร์ดำ สู่สัญลักษณ์แห่งการวิพากษ์ทุนนิยม
    โดย : ชนกพร ชูติกมลธรรม
    จำนวน : 112 หน้า

    หากจะบอกว่าหนังสือ "ประวัติศาสตร์ซอมบี้: จากศพคืนชีพด้วยมนตร์ดำ สู่สัญลักษณ์แห่งการวิพากษ์ทุนนิยม" คือ การพาเรากลับไปหา "นิยาม" และ "ต้นกำเนิด" ของสิ่งที่ถูกเรียกว่า "ซอมบี้" โดยที่ "ประวัติศาสตร์ซอมบี้: จากศพคืนชีพด้วยมนตร์ดำ สู่สัญลักษณ์แห่งการวิพากษ์ทุนนิยม" ได้พาเราย้อนกลับไปในหน้าประวัติศาสตร์ของการเกิดขึ้นของเรื่องราวและเรื่องเล่าของซอมบี้ นับตั้งแต่การเป็นผีในคติความเชื่อของกลุ่มคน มาสู่ฝูงผีที่วิ่งไล่กินสมองคนในโลกปัจจุบัน หากแต่บางครั้งบางทีซอมบี้ก็อาจจะไม่ใช้ภาพที่แท้จริงที่แสดง หากแต่ซอมบี้อาจจะเป็นภาพแทน หรือฉากที่แฝงเร้นของอะไรบางอย่างในบางสังคมและกลุ่มคม

    "ประวัติศาสตร์ซอมบี้: จากศพคืนชีพด้วยมนตร์ดำ สู่สัญลักษณ์แห่งการวิพากษ์ทุนนิยม" เป็นหนังสือเล่มเล็ก และเป็นหนึ่งในหนังสือในวาระครบรอบ 60 ปี ของคณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ที่ในวาระครบรอบได้มีการจัดทำหนังสือ 4 เล่ม ที่เป็นผลผลิตจากคณาจารย์และผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ เพื่อเป็น "ของชำร่วย" (ตามคำที่ปรากฎในสาส์นจากคณบดี) ซึ่งทำให้ "ประวัติศาสตร์ซอมบี้: จากศพคืนชีพด้วยมนตร์ดำ สู่สัญลักษณ์แห่งการวิพากษ์ทุนนิยม" ถูกวางไว้ในฐานะหนึ่งในของชำร่วยของงานครั้งนี้ โดยที่เนื้อหาของ "ประวัติศาสตร์ซอมบี้: จากศพคืนชีพด้วยมนตร์ดำ สู่สัญลักษณ์แห่งการวิพากษ์ทุนนิยม" แบ่งเป็นดังนี้

    บทนำ

    (1) ศพคืนชีพด้วยมตร์ดำ ในดินแดนอาณานิคมชายขอบ

    (2) จากคติชาวบ้านสู่ผีในนิยายราคาถูกและภาพยนตร์

    (3) จากซอมบี้ สู่ฝูงซอมบี้

    (4) ซอมบี้ออกเดินทางไปทั่วโลก

    เมื่ออ่าน "ประวัติศาสตร์ซอมบี้: จากศพคืนชีพด้วยมนตร์ดำ สู่สัญลักษณ์แห่งการวิพากษ์ทุนนิยม" จบลง เราจะพบว่านอกจากเรื่องราวของประวัติศาสตร์ซอมบี้ผีกินสมองแล้ว เรื่องราวของมนุษย์ที่กินมนุษย์ด้วยกันเองที่กลายมาเป็นรากฐานของความเชื่อเรื่องซอมบี้ หรือกระทั่งทำให้ความเชื่อเรื่องซอมบี้กลายมาเป็นตัวจักรสำคัญในอุตสาหกรรมของโลกทุนนิยม หลายครั้งการเกิดขึ้นของสิ่งเหล่านี้ก็เกิดจากการกดทับและเบียดขับมนุษย์โดยมนุษย์ด้วยกันนี่แหละ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in