รีวิวเว้ย (287) "รู้มั้ยว่ากูลูกใคร (?)" ดูจะเป็นคำถามที่ชวนปวดตับมากที่สุดเสลาที่เราได้ยินหรือได้ฟังคนถามคำถามดังกล่าว เนื่องด้วยเราเองก็ไม่รู้จะเอาปัญญาที่ไหนไปหาคำตอบว่า "พี่เขาเป็นลูกใคร" ถึงได้ดูขาดความอบอุ่นถึงเพียงนี้ แต่ลักษณะของคำถามดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมร่วมอย่างหนึ่ง นั่นคือวัฒนธรรมในเรื่องของการ "ติดยึดที่ต้นตระกูล" ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวอาจจะเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมร่วมรากของคนแทบทั้งโลก โดยดูได้จากความสามารถในการลำดับสายตระกูลที่เรียกได้ว่าภูมิภาคไหนของโลกก็มีวัฒนธรรมแบบนี้แทบทั้งนั้น
หนังสือ : อยากลืมกลับจำ
โดย : นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ บรรณาธิการ
จำนวน : 384 หน้า
ราคา : 360 บาท
ความสำคัญหนึ่งของวัฒนธรรมร่วมราก ไม่ได้มีแค่เพียงเรื่องของการอวดเบ่งเพื่อเอาไว้ถามใครต่อใครว่ากูลูกใคร แต่วัฒนธรรมดังกล่าวยังทำหน้าที่เป็นเครื่องในการช่วยยืนยันตัวตนของคนหนึ่งคน เข้ากับจุดยึดโยงอีกจุดหนึ่งเผื่อช่วยให้ตัวตนของคนคนนั้นดูไม่เลื่อนลอยเกินไปนัก (มีตัวตนในสังคม)
นอกจากนี้ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมดังกล่าว คือ เรื่องของการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ที่หลายครั้งทำผ่านรูปแบบของเรื่องเล่าและบันทึกประจำตระกูล ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ว่าในสายตระกูลต่าง ๆ ล้วนมีเรื่องราวที่เป็นเรื่องของตระกูลตนเอง บางมีลันทึกถึงช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ บ้างมีสูตรอาหาร บ้างมีวิชาความรู้ ที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น ดังที่เราเห็นได้บ่อยครั้งจากในหนังหรือละคร
ยิ่งกับสังคมที่ไม่เน้นเรื่องของการจดบันทึกแค่มีวัฒนธรรมแบบมุขปาฐแบบสังคมไทยด้วนแล้ว หลายครั้งการที่รู้ว่า "ใครเป็นลูกของใคร" จึงเป็นเรื่องสำคัญทั้งเรื่องของการศึกษาประวัติศาสตร์ สูตรอาหาร การบริหารจัดการ วิชาความ ฯลฯ ต่างสะท้อนผ่านสายตระกูลแทบทั้งสิ้น (ในอดีต)
สำหรับหนังสือ "อยากลืมกลับจำ" ยิ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดียิ่งให้กับแนวคิดดังกล่าว โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของประวัติศาสตร์เหตุการณ์และประวัติศาสตร์บุคคล ซึ่งมีความสำคัญต่อการเมืองการปกครองของไทยเป็นแย่างมาก เพราะเขาผู้นั้นเป็นหนึ่งในผู้ที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่การปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย (อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ซึ่งเขาผู้นั้นเป็นหนึ่งในสมาชิกคนสำคัญของ "คณะราษฎร" ซึ่งก็คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (แปลก คีตะสังขะ)
หนังสือ "อยากลืมกลับจำ" เป็นหนังสือสารคดีชีวประวัติลูกสาวจอมพล ป. ที่ทำหน้าที่จดจำ บันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวชีวิต ความผันผวน และความทรงจำเกี่ยวกับจอมพล ป. โดยป้าจีรวัสส์ ปันยารชุน พิบูลสงคราม ลูกสาวคนโตของจอมพล ป. ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง (2475) กระทั่งผ่านพ้นมาอีก 80 ปี ของนาฬิกาประชาธิปไตย
ตลอดการเปลี่ยนแปลง และกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาของประชาธิปไตยไทย ที่มีจอมพล ป. เข้าไปเกี่ยวข้อง เรียกได้ว่าป้าจีรส์ เข้าไปมีส่วนรู้เห็นในเหตุการณ์เหล่านั้นแทบทั้งสิ้น และด้วยนิสัยชอบจดบันทึก ทำให้ป้าจียส์เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งในเรื่องของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย ที่มีจอมพล ป. เข้าไปมีส่วนเป็นตัวแสดงหลักในนั้น
"อยากลืมกลับจำ" ทำหน้าที่ถ่ายทอดความทรงจำของป้าจีรส์ ทั้งที่เกี่ยวกับเรื่องของการเมืองและประชาธิปไตย ทั้งเรื่องราวของชีวิตส่วนตัว ร่วมไปถึงเรื่องราวของการเป็นลูกสาวของ "จอมพล ป." ที่หลายคนขนานนามให้ว่า "จอมเผด็จการ" และอีกหลายคนขนานนามว่า "วีรบุรุษ"
ด้วยความที่จอมพล ป. เลือกที่จะไม่เขียนบันทึกถึงเหตุการทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับตนเองไว้ (ตามคำของป้าจีรส์) ทำให้ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายชิ้น และหลายครั้ง เราทักจะพบว่าจอมพล ป. ถูกทำให้เป็น "ผู้นำตัวร้าย" ซึ่งป้าจีรส์เองก็พยายามบอกเล่าความจริงและเบื้องลึกเบื้องหลังของหลายเหตุการณ์ที่ผลักให้จอมพล ป. ถูกมองว่าเป็นตัวร้าย
สำหรับใครที่มุ่งมาดคาดหมายให้ "อยากลืมกลับจำ" เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับจอมพล ป. ที่ดีที่สุด ความหวังนั้นอาจจะไม่เป็นจริงดังคาด หากแต่ หนังสือ "อยากลืมกลับจำ" กลับเป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของชีวิตคนหนึ่งคน ที่เกิดเป็นลูกสาวของนายกรัฐมนตรีที่มีคนรักและคนชัง ได้ดีที่สุด ด้วยความที่ผู้เล่า ผู้เขียน ผู้ถ่ายทอด ต่างสะท้อนมุมมองให้เห็นว่า ใครท้ายที่สุดไม่ว่าคุณคือใคร คุณก็ยังคงเป็น "คนหนึ่งคนที่มีหัวใจ และมีความรู้สึก ที่คล้ายคลึงและใกล้เคียงกับคนทั่วไป"
"อยากลืมกลับจำ" เป็นหนังสือที่คอยย้ำกับเราว่า ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ในท้ายที่สุดคุณก็ยังเป็นคนคนหนึ่งสำหรับใครอีกคนเสมอ บ้างเป็นเจ้านาย บ้างเป็นลูกน้อง บ้างเป็นศัตรู บ้างเป็นคนรัก ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทำให้ทุกคนเป็นคนที่สมบูรณ์ (ในแง่ของปฏิสัมพันธุ์กับบุคคล)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in