เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
เมื่อเมืองกลายเป็นโจทย์ฯ By อรทัย ก๊กผล
  • รีวิวเว้ย (1096) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    เวลาที่เราพูดเรื่องของ "เมือง กับ การเมือง" ในปัจจุบันนี้มันอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่ถ้าย้อนกลับไปสัก 20 กว่าปีก่อน ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 หลายคนก็อาจจะยังงง ๆ ว่าเมืองกับการเมืองมาเกี่ยวกันได้อย่างไร เพราะก่อนหน้านั้นแนวคิดในเรื่องที่ว่าเมืองเป็นพื้นที่ของทุกคนที่คนในพื้นที่มีสิทธิในการบริหารจัดการบ้านเมืองของตัวเอง ดูจะเป็นแนวคิดที่ห่างไกลจากความรับรู้ของผู้คนอยู่มา และภายหลังการเกิดขึ้นของการปกครองท้องถิ่น ที่ประชาชนในพื้นที่สามารถเลือกผู้บริหารจัดการเมืองของตัวเองได้ภายหลังรัฐธรรมนูญ 40 ความคิดที่ว่าด้วยเรื่องของ "บ้านของเราเราขอดูแล" ก็เริ่มปรากฏชัดขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาเมืองทั้งในเชิงรูปธรรม อย่างการขยายการจัดทำบริการสาธารณะในพื้นที่ให้ตอบโจทย์และความต้องการของคนในเมือง และในเชิงนามธรรม อย่างเรื่องของเมืองเป็นพื้นที่ที่ทุกคนหวงแหนและรู้สึกอยากปกป้องดูแล กระทั่งปัจจุบันแนวคิดในเรื่องของเมืองกับคนในเมืองที่ชิดใกล้ก็ดูจะยิ่งชัดเจนมากยิ่งขึ้นดังที่มีกระแสกลับมาอีกครั้งของการเรียกร้องการเลือกตั้งพ่อเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) ในทุกจังหวัดโดยคนในเมืองเอง
    หนังสือ : Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่
    โดย : อรทัย ก๊กผล
    จำนวน : 208 หน้า

    "Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่" เป็นหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นเมืองปี พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นหนังสือที่เราเคยอ่านสมัยที่เรียนหนังสือและมีโอกาสหยิบขึ้นมาอ่านอยู่บ่อย ๆ ในตอนที่ต้องหยิบมาเขียนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของเมือง พัฒนาการของเมือง ปัญหาของเมืองที่พัฒนาไปทั้งในลักษณะของเมืองที่ขยายตัวทางกายภาพ และเมืองที่ขยายตัวผ่านปัญหาทั้งเรื่องของการบริหารจัดการเมืองและการจัดทำบริการสาธารณะ

    "Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่" เป็นหนังสือที่พาเรากลับไปทบทวนถึง "โจทย์ของเมือง" และ "โจทย์ของคนเมือง" ที่กระบวนการของการกลายเป็นเมือง (Urbanization) ทำให้โจทย์เหล่านั้นมีความหลากหลายและมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น โดยที่เนื้อหาของ "Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่" แบ่งออกเป็น 4 บทที่จะพาเราไปทำความเข้าใจการกลายเป็นเมืองดังนี้

    บทที่ 1 เมื่อ "เมือง" กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่

    บทที่ 2 รู้จักเมือง และรู้ทันการพัฒนา

    บทที่ 3 หลากหลายแนวคิดพัฒนาเมือง

    บทที่ 4 พัฒนาเมืองบนฐานศักยภาพ โดยใช้ตัวแบบทุนท้องถิ่น

    เมื่ออ่าน "Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่" จบลง เราจะพบว่าปัญหาของเมืองในปัจจุบัน (2562) อาจจะมีเพิ่มเติมขึ้นมาอีกมาก ทั้งเรื่องของการพัฒนาเมืองและความท้าทายของเมืองที่นับวันยิ่งหลากหลายมากขึ้น แต่หนังสือเล่มนี้ก็ชี้ชวนให้เรากลับไปมองในพื้นที่ของเราอีกครั้งว่าในท้ายที่สุดแล้วทุนท้องถิ่นที่เรามีนั้นมันสร้างหรือส่งเสริใกระบวนการของหากพัฒนาเมืองได้อย่างไร และกระบวนการที่มาจากทุกท้องถิ่นเหล่านั้นคือปัจจัยสำคัญของการสร้างเมืองที่มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ อีกทั้งเป็นเมืองของผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง

    สำหรับผู้ที่สนใจฉบับเต็มสามารถอ่านได้ที่ https://kpi-lib.com/library/books/kpibook-22284/

    ด้วยความระลึกถึง รศ.ดร.อรทัย ก๊กผล

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in