เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ระเบียบอัฟกานิสถานภายใต้ตอลิบาน By พิเชฏฐ์ กาลามเกษตร และ ศราวุฒิ อารีย์
  • รีวิวเว้ย (1042) หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินว่า "ตอลิบาน" มาบ้างไม่มากกฌน้อย ส่วนใหญ่เราน่าจะเคยได้ยินคำนี้ในบริบทการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเรื่องการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางด้วยแล้วเราจะได้ยินชื่อของตอลิบานบ่อยครั้งมากขึ้น แล้วความหมายของคำดังกล่าวหมายถึงสิ่งใดกันแน่ (?) ด้วยความอยากรู้เราเลยลองไปค้นข้อมูลและพบข้อมูลที่น่าสนใจจาก bbc เขียนเอาไว้ว่า

    "ตาลีบัน หรือ "นักเรียน" ในภาษาปาทาน หรือ Pashto เกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ทางตอนเหนือของปากีสถาน หลังจากสหภาพโซเวียตถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน เชื่อกันว่า ขบวนการที่นำโดยชาวปาทานกลุ่มนี้ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในโรงเรียนสอนศาสนา ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบีย และสอนหลักคำสอนศาสนาอิสลามนิกายซุนนีแบบสุดโต่ง คำมั่นสัญญาของกลุ่มตาลีบันคือ การฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคง ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์ของอิสลามที่เคร่งครัดเมื่อกลุ่มได้ขึ้นสู่อำนาจ ตาลีบันได้ขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็ว โดยในปี 1996 กลุ่มสามารถยึดกรุงคาบูลได้สำเร็จ และขับรัฐบาลของประธานาธิบดี บูร์ฮานุดดีน รับบานี ลงจากอำนาจ ภายในปี 1998 ตาลีบันก็ควบคุมพื้นที่เกือบ 90% ของอัฟกานิสถาน"

    แต่ข้อความที่ยกมาจาก bbc นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำหนดนิยามและคำเรียกของตอลิบาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วถ้อยคำดังกล่าวยังมีรายละเอียดและความหมายที่แยกย่อยออกไปตามบริบทต่าง ๆ อีกมาก ดังที่เราจะพบได้ในบทความชิ้นต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้
    หนังสือ : ระเบียบอัฟกานิสถานภายใต้ตอลิบาน: นัยต่อโลกและเอเชีย
    โดย : พิเชฏฐ์ กาลามเกษตร และ ศราวุฒิ อารีย์ บรรณาธิการ
    จำนวน : 310 หน้า

    "ระเบียบอัฟกานิสถานภายใต้ตอลิบาน: นัยต่อโลกและเอเชีย" หนังสือรวมบทความเนื่องในโอกาสการเกษียณอายุราชการของ ศาสตราจารย์ ดร.จรัญ มะลูลีม อาจารย์ประจำสาขาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอาจารย์จรัญเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่เชี่ยวชาญเรื่องของ "ตะวันออกกลางศึกษา" รวมไปถึงอินเดียศึกษาก็เป็นอีกหนึ่งความเชี่ยวชาญของอาจารย์เช่นกัน

    หนังสือ "ระเบียบอัฟกานิสถานภายใต้ตอลิบาน: นัยต่อโลกและเอเชีย" เป็นการรวมตัวนักวิชาการที่สนใจและทำการศึกษาในเรื่องของตะวันออกกลางศึกษา ในประเทศไทยจำนวน 13 ชิ้นงานที่ว่าด้วยเรื่องของตะวันออกกลางภายใต้หัวข้อหลัก คือ "ระเบียบอัฟกานิสถานภายใต้ตอลิบาน: นัยต่อโลกและเอเชีย" โดยที่เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นบทความแค่ละชิ้นตามแต่ละชิ้นงานของนักวิชาการแต่ละท่าน โดยเนื้อหาแบ่งเป็นดังนี้

    (1) ทําความเข้าใจรัฐและการสร้างชาติอัฟกานิสถานระหว่างอิสลามและความเป็นชนเผ่า

    (2) ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ของอัฟกานิสถานที่ทำให้กลุ่มตอลีบานยึดอำนาจได้อย่างรวดเร็ว

    (3) ชะรีอะฮ์และอิสลามในรัฐธรรมนูญอัฟกานิสถานภายใต้อิทธิพลกลุ่มการเมืองนิยมศาสนาและอำนาจต่างชาติ

    (4) ตอลิบาน: ภาพจริงภาพจำในประวัติศาสตร์วรรณกรรมอัฟกานิสถาน

    (5) ผู้หญิงใน เอมิเรตอิสลามแห่งอัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของตอลิบาน

    (6) เปรียบเทียบ "ตอลิบาน" กับ "อัลกออิดะห์"

    (7) IS- K: วิกฤติหรือโอกาสสำหรับรัฐบาลตอลิบาน

    (8) การกลับมาของตอลิบานความท้าทายใหม่ของอินเดียในเอเชียใต้

    (9) ความสัมพันธ์ระหว่างอัฟกานิสถานและสาธารณรัฐในเอเชียกลางตั้งแต่ ปี 1991-2021

    (10) ยุทธศาสตร์อัฟกานิสถานของจีนและปากีสถานภายใต้กลุ่มตอลิบานปลดล็อกปัจจัยสร้างสมดุลใหม่ในภูมิภาค

    (11) บทบาทอิหร่านต่อรัฐบาลตอลิบานกับฉากทัศน์ ทางการเมืองในอัฟกานิสถาน

    (12) BRI กับโอกาสของอัฟกานิสถานในยุคตอลิบาน

    (13) อัฟกานิสถานภายใต้รัฐบาลตอลิบานนัยต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    เมื่ออ่าน "ระเบียบอัฟกานิสถานภายใต้ตอลิบาน: นัยต่อโลกและเอเชีย" จบลง สิ่งหนึ่งที่ผู้อ่านจะได้ระบ คือ การได้ทำความเข้าใจในเรื่องของ "อัฟกานิสถาน" และเรื่องของ "ตอลิบาน" ที่นอกจากการบอกเล่าเรื่องราวของระหว่างอัฟกานิสถานและตอลิบานแล้ว "ระเบียบอัฟกานิสถานภายใต้ตอลิบาน: นัยต่อโลกและเอเชีย" ยังฉายให้เราเห็นบริบทของความเปลี่ยนแปลงและข้อแนะนำต่อการปรับตัวภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว 

    อ่านเพิ่มเติม
    - อัฟกานิสถาน : ตาลีบัน, ไอเอส และอัลไคดา ความเหมือนและต่างของ 3 กลุ่มติดอาวุธมุสลิม https://www.bbc.com/thai/international-58418849#:~:text=%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%20%22%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99,%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in