รีวิวเว้ย (784) ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน และรัฐบุรุษอาวุโสของไทย ที่มีส่วนร่วมสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปงี่ยนแปลงการปกครองเมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ที่เรียกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นคือจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในสังคมสยาม (ไทย) แต่ก็อย่าที่เรารู้ ๆ กันว่าหลายปีผ่านมา และผ่ายการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ทำให้คณะราษฎรหมดบทบาทลงจากการเมืองไทยอย่างเกือบสิ้นเชิง และหลังจากนั้นอีกหลายสิบปีที่ชื่อของปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎรคนอื่น ๆ ถูกลบหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย และล่าสุดหมุดคณะราษฎรที่ครั้งหนึ่งเคยถูกถอนออกไปและเอากลับมาคืนที่เดิม ณ ปัจจุบันหมุดได้หายไปอย่างไม่น่าจะมีวันได้กลับคืนตรงจุดเดิมอีกต่อไปแล้ว แปลกดีที่สังคมนี้ชอบลบเลือนประวัติศาสตร์การเมือง และชอบทำให้เรื่องของการเมืองตัดขาดจากชีวิตของประชาชนไปแบบงง ๆ แต่ก็แปลกยิ่งไปอีกที่ "คนบางกลุ่ม" เชื่อว่า "การเมืองไม่ใช่เรื่องในชีวิตประจำวัน" และ "ไม่ใช่เรื่องของทุกคน" อนาถใจเหลือเกินกับคนกลุ่มนี้
หนังสือ : บางเรื่องของประวัติศาสตร์ไทยในระบอบรัฐธรรมนูญ
โดย : กษิดิศ อนันทนาธร (บรรณาธิการ)
จำนวน : 256 หน้า
ราคา : 250 บาท
"บางเรื่องของประวัติศาสตร์ไทยในระบอบรัฐธรรมนูญ" เป็นหนังสือที่รวบรวมเอา "คำฟ้องร้อง" ในคดีความที่ปรีดี พนมยงค์ ฟ้องต่อศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ และพวก ที่ได้ทำการเขียนและจัดพิมพ์หนังสือในชื่อเรื่อง "ประวัติศาสตร์ไทยในระบบรัฐธรรมนูญ" ที่มีการเขียนข้อความที่ "ไม่เป็นความจริง" และ "ใส่ร้ายโจมตี" ปรีดีและคณะราษฎรในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และการฟ้องร้องในครั้งนั้นปรีดีชนะคดี และได้มีการเรียกคืนหนังสือเล่มดังกล่าวจากผู้จัดจำหน่าย
"บางเรื่องของประวัติศาสตร์ไทยในระบอบรัฐธรรมนูญ" คือบันทึกที่หยิบเอา "คำฟ้อง" ของปรีดี พนมยงค์ มาตีพิมพ์ โดยที่คำฟ้องในครั้งนั้นอาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งใน "หลักฐานประวัติศาสตร์" สำคัญชิ้นหนึ่งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวปรีดี และคณะราษฎร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้เหตุผลต่าง ๆ ในการชี้ข้อผิดพลาดของหนังสือที่ศาสตราจารย์ท่านนั้นตีพิมพ์ อีกทั้งเป็นการเพิ่มเติมเชิงอรรถทางประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ในการเมืองไทยที่เขียนขึ้นมาด้วยตัวของปรีดี พนมยงค์เอง
อาจเรียกได้ว่า "บางเรื่องของประวัติศาสตร์ไทยในระบอบรัฐธรรมนูญ" คือหลักฐาน และบันทึกประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎรในฉบับของ "คำฟ้องต่อศาล" ที่นอกจากจะเห็นการให้เหตุผลแก้ไขคสามผิดพลาดของหนังสือเล่มที่ถูกฟ้องแล้ว เราจะพบว่าเชิงอรรถประวัติศาสตร์ที่ปรีดี เขียนเอาไว้ก็น่าสนใจ และช่วยให้เราเชข้าใจประวัติศาสตร์ที่ขาดหายของคณะราษฎรให้ดีได้ยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in