รีวิวเว้ย (718) เวลาที่พูดถึง "คนจีน" ในประเทศไทย หลายคนมักจะติดภาพของคนจีนที่ทำการค้าขาย คนจีนที่เป็นเจ้าของกิจการร้านค้า หรืออย่างในปัจจุบันก็จะปรากฎภาพของคนจีนที่เป็นเจ้าของธุรกิจยักษ์ใหญ่ แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไปคือเหล่า "คนจีนในเมืองไทย" มีคนหลากหลายกลุ่มเป็นอย่างมาก ไม่ใช่แค่เฉพาะคนจีนที่ทำการค้าในลักษณะของรเานโชห่วยหรือร้านขายส่งแต่เพียงเท่านั้น หากแต่ภาพของคนจีนในไทยยังแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของกลุ่มคน อาทิ แต้จิ๋ว ไหหลำ ฮ่อ แคระ คนจีนในแต่ละกลุ่มก็จะมีความแตกต่างและมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของ "อาชีพและการงาน" ของคนจีนกลุ่มต่าง ๆ ก็จะแตกต่างออกไปในเรื่องปลีกย่อยต่าง ๆ ด้วย ซึ่งความแตกต่างในลักษณะเหล่านี้เอง ที่จะทำให้ภาพของความเข้าใจและความรับรู้ในเรื่องของคนจีนในไทย หรือคนจีนในสยามเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทและความเข้าใจของเราต่อพื้นหลังของคนแต่ละกลุ่ม
หนังสือ : ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า
โดย : สุกัญญา หาญตระกูล
จำนวน : 432 หน้า
ราคา : 499 บาท
"ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า" หนังสือสารคดีกึ่งชีวะประวัติของครอบครัวของผู้เขียน ที่เป็นชาวจีนไหหลำที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย โดยที่เนื้อหาของ "ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า" คือการฉายภาพบริบทของคนจีนในไทย และคนจีนในสยาม โดยเฉพาะกลุ่มคนจีนไหหลำในภาคเหนือของประเทศไทย ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และเปลี่ยนแปลงไปตามรูปแบบและนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงของรัฐบาลจองพล ป. ทั้ง ป. 1 และ ป. 2 ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อวิถีชีวิตของคนจีนในสยาม-ไทย
นอกจากนั้นแล้ว "ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า" ยังคงทำหน้าที่ในการบอกเล่าภาพของชีวะประวัติของครอบครัวของผู้เขียนที่มีพ่อและแม่ ที่ประกอบอาชีพเป็นนายหน้ารับซื้อผลผลิตทางการเกษตร และทำโรงสีเพื่อค้าขายข้าวในพื้นที่ของจังหวัดในภาคเหนือ ในลักษณะของโรงสีขนาดย่อม ซึ่งนอกเหนือไปจากเรื่องของประวัติของครอบครัวของผู้เขียน บริบทของคนจีนในสยาม-ไทยแล้ว หนังสือ "ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า" ยังบอกเล่าถึงเรื่องราวของการทำ "ข้าว" ทั้งในฐานะอุสาหกรรมโรงสี และการค้าข้าวในสยาม-ไทย ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการฉายให้เห็นถึงภาพของการเปลี่ยนแปลง และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับธุรกิจโรงสี และการซื้อขายข้าวในประเทศไทย
อาจจะเรียกได้ว่า "ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า" เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของครอบครัวของผู้เขียน ที่วางโครงของการบอกเล่าเรื่องอยู่บนประวัติศาสตร์ พลวัตร และพัฒนาการ ของคนจีนโดยเฉพาะไหหลำในสยาม-ไทย และยังฉายให้เห็นภาพของนโยบายของรัฐและสังคมไทยที่เกี่ยวโยงกับคนจียในหลายช่วงเวลาที่ผ่านมา รวมถึงการบอกเล่าถึงเรื่องราวของธุรกิจค้าข้าวในสังคมสยาม-ไทย ที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปนับแต่ครั้งอดีตกระทั่งปัจจุบัน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in