เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
พระราชาผู้สั่งห้ามความมืด By เอมิลี ฮาเวิร์ท-บูท แปล อริยา ไพฑูรย์
  • รีวิวเว้ย (690) เจ้าผู้ปกครอง คือ ชื่อเรียนแทนของบุคคลผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นหนึ่งในคนที่มีอำนาจสูงสุดเหนือหมู่คนทั้งมวล ในครั้งอดีตเจ้าผู้ปกครองมีหน้าที่ในการปกครองอาณาเขต และประชาราษฎรของตนที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของตนนั้น และอีกหน้าที่หนึ่งคือการขยายอาณาเขตอำนาจของการปกครองออกไปสู่ทุกสารทิศ แต่ในปัจจุบันอำนาจของ "เจ้าผู้ปกครอง" เปลี่ยนรูปแบบไปสู่ลักษณะที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ได้มีเพียงแต่เจ้าผู้ปกครองในฐานะกษัตริย์แต่เพียงเท่านั้น หากแต่สถานะของคำว่า "เจ้า" ถูกลดบทบาทและทำให้ลบเลือนลงกระทั่งเหลือเพียงคำว่า "ผู้ปกครอง" แต่เพียงอย่างเดียว จะยังมีแค่บ้างดินแดนเท่านั้นที่ยังคงสถานะของความเป็น "เจ้าผู้ปกครอง" เอาไว้ได้อย่างชัดเจน ในครั้งอดีตการกระทำของเหล่าผู้ปกครองอาจจะดูไม่สมเหตุผลเท่าไหร่นัก แต่ในฐานะของผู้ใต้ปกครองย่อมต้องยอมทำตามอย่างเลี่ยงมิได้ แต่ในปัจจุบันการกระทำของผู้ปกครองที่ไม่มีความสมเหตุผลสามารถถูกตั้งคำถาม ท้าทายและตรวจสอบได้ ภายใต้ระบอบการปกครองที่อำนวย โดยเฉพาะการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ระบอบที่อำนาจของรัฐแท้จริงเป็นของ "ประชาชนทุกคน" อย่างเท่าเทียม เพียงแต่มอบอำนาจให้ตัวแทนใช้ในการบริหารบ้านเมืองเท่านั้น ซึ่งหลายคนในบางสังคมก็ยังคงไม่เข้าใจ ทั้งที่เกิดและเติบโตมาภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่เหตุฉไหนหัวใจจึงนิยมการ "ถูกปกครอง" แบบสังคมศักดินา 
    หนังสือ : พระราชาผู้สั่งห้ามความมืด
    โดย : เอมิลี ฮาเวิร์ท-บูท แปล อริยา ไพฑูรย์
    จำนวน : 30 หน้า
    ราคา : 290 บาท

    "พระราชาผู้สั่งห้ามความมืด" เราอาจจะเรียกหนังสือภาพข้อความน้อย ๆ ขนาดเล่มใหญ่ ๆ ว่า "หนังสือนิทาน" และเมื่อเรานิยามมันว่าหนังสือนิทานแล้ว คุณค่าบางประการของหนังสือมันจะถูกลดทอนลง โดยเฉพาะในสังคมไทย ที่หลายคนมองว่าหนังสือนิทานและหนังสือการ์ตูน คือ สิ่งที่ไม่มีคุณค่าเพียงพอให้ยึดถือ เรียนรู้ และทำความเข้าใจ

    แต่กับหนังสือ "พระราชาผู้สั่งห้ามความมืด" นิทานขนาด 30 หน้า ข้อความไม่เยอะ แต่เนื้อหาและการสื่อสารของเรื่องกลับสร้างความประหลาดใจให้กับเราในฐานะของผู้อ่านเป็นอย่างมาก มิใช่แค่เด็กเท่านั้นที่ควรอ่าน "พระราชาผู้สั่งห้ามความมืด" แต่ผู้ใหญ่อย่างพวกเราเองก็จำเป็นที่จะต้องลองอ่านหนังสือเล่มนี้ดูสัดครั้ง

    เพราะคสามพิเศษของ "พระราชาผู้สั่งห้ามความมืด" ไม่เหมือนกับนิทานทั่ว ๆ ไป ที่มีเจ้าหญิงเจ้าชายและความรักแสนหวาน หากแต่หนังสือเล่มนี้ชวนให้เรา "ตั้งคำถาม" กับ "อำนาจ" ของ "เจ้าผู้ปกครอง" และพวกพ้อง ว่าในท้ายที่สุดแล้ว การใช้อำนาจของเจ้าผู้ปกครองและพวกพ้อง อาจจะไม่ใล่สิ่งที่ถูกต้อง หรือสิ่งที่ควรกระทำที่มีเหตุมีผลเสมอไป หลายครั้งการกระทำของคนเหล่านี้ดูจะ "ไร้สาระ" มากกว่ามีสาระเสียด้วยซ้ำ

    ความพิเศษของ "พระราชาผู้สั่งห้ามความมืด" คือการท้าทายให้เราลองตั้งคำถามกับผู้มีอำนาจสูงสุดว่า "มันใช่จริง ๆ หรือ" สิ่งที่คนเหล่านี้กำลังทำมันใช่ มันถูกต้อง และมันสมควรแล้วจริง ๆ หรือ

    ข้อความตอนหนึ่งใน "พระราชาผู้สั่งห้ามความมืด" เขียนเอาไว้ว่า "แต่ชาวเมืองไม่ได้โง่อย่างที่พวกที่ปรึกษาคิด" ซึ่งข้อความในตอนนี้เป็นการแสดงให้เห็นเป็นนัยว่า อำนาจของเจ้าผู้ปกครองและผองเพื่อนย่อมถูกตั้งคำถามและท้าทายได้เสมอ หากสิ่งนั้นมัน Bullshit

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in