รีวิวเว้ย (240) "ฟ่านหลีก็เช่นเดียวกับซุนวู ทั้งคู่เป็นผู้เข้าใจสัจธรรมแห่งชีวิต เมื่อสูงสุดแล้วย่อมต้องกลับคืนสู่สามัญ จึงเลือกคืนสู่สามัญในเวลาอันเหมาะควร ดังคำกล่าวของเหลาจื่อใน คัมภีร์เต้าเต๋อจิง ที่ว่า "ผู้ที่รู้จักพอย่อมมิพบจุดจบ ผู้ที่รู้จักหยุดย่อมพ้นจากภยันตราย" ( ปัญญา ชา จีน, น.82) หลายครั้งเรา (นักเรียนรัฐศาสตร์ มธ.) ถูกบังคับให้ศึกษาวัฒนธรรมอันรุ่มรวย อย่างภูมิปัญญาตะวันออก พร้อมความนำสมัยและนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม อีกทั้งนวัตกรรมจากภูมิปัญญาตะวันตก หลายครั้งเรามักตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดกัน เราจึงต้องศึกษาความนำสมัยของโลกใบนี้ คู่ขนานไปพร้อมกับสิ่งที่เรียกว่าปรัชญาตะวันออก (โดยเฉพาะปรัชญาจีน) (?) เป็นเวลากว่า 3 ปีหลังจากเรียนวิชาที่มีเนื้อหสเกี่ยวกับปรัชญาตะวันออกจบลง เราเพิ่งจะตระหนักว่าความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่าภูมิปัญญาตะวันออก มันมีความสำคัญเพียงใด อาจเรียกได้ว่าเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านพ้น คือ ช่วงเวลาบ่มเพราะของวิชาปรัชญา ที่คล้ายคลึงกับใบชาที่ต้องอาศัยเวลาและอุณภูมิที่พอเหมาะ ถึงจะถึงรสชาติของใบชาที่แท้จริงออกมาได้
หนังสือ : ปัญญา ชา จีน
โดย : ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา
จำนวน : 192 หน้า
ราคา : 280 บาท
ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาจีน น่าจะเป็นหนึ่งในสิ่งที่ใครหลายคนให้ความสำคัญ ทำการศึกษาและแสวงหาความหมายของคำตอบที่แทรกตัวอยู่ในแต่ละบรรทัดของคำถามในตำราปรัชญาจีน ในระหว่างบทสนทนาของผู้รู้ในช่วงเวลาต่าง ๆ ของสังคม ก่อนกาลที่จะมีคำว่าประเทศจีนเสียด้วยซ้ำ
หลายครั้งหลายคราปรัชญาจีนเปรียบเสมือนแสงสว่างทางปัญญาของยุคสมัย แต่ในหลายยุคสมัยในประวัติศาสตร์ เหล่าปรัชญาที่เกิดขึ้นมาจากภูมิปัญญาตะวันออกเหล่านี้ได้กล่ยเป็นบันทัดฐาน ที่หลายครั้งก็สร้างความวุ่นวายให้กับสังคมอยู่มิใช่น้อย
"ปัญญา ชา จีน" เป็นหนึ่งสือที่ว่าด้วยเรื่องของปรัชญา ภูมิปัญญา และประวัติศาสตร์ของประเทศจีน นับตั้งแต่ก่อนมีคำว่า "จีน" ไล่เลื่อยมาผ่านการเดินเรื่องของศาสนาในสังคมตะวันออก ที่ผูกโยงเข้ากับชาและปรัชญาของนักคิดในแต่ละยุคสมัย
นอกจากนี้ "ปัญญา ชา จีน" ยังทำหน้าที่เป็นเครืองมือในการเตือนใจ และเตือนสติให้กับผู้คนยุคใหม่ในกาลหลัง ได้เรียนรู้เรื่องของประวัติศาสตร์ ปรัชญา ด้วยห่วงเวลาที่ไม่รีบเร่งจนเกินไปนัก เพราะในหลายครั้งหลายหน โลกที่มุ่งหน้าด้วยความเร็ว การหมุนของโลกที่เท่าเดิมแต่เพิ่มเติมด้วยเวลาที่ไวขึ้น ส่งผลให้ใครหลายคนถูกโลกและผู้คนในปัจจุบันสมัยที่เอาไว้เบื้องหลัง บ้างล้มลงและลุกขึ้นได้ใหม่ แต่บางคนก็ล้มลงและไม่เคยลุกขึ้นจากจุดนั้นอีกเลยตลอดกาล
ดังย่อหน้าหนึ่งของหนังสือ ที่ว่า "การชงชาต้องรอช่วงเวลาน้ำเดือด มากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของชา แต่มนุษย์ทุกวันนี้เหมือนมีเวลาน้อยลงทั้ง ๆ ที่เราก็มียี่สิบสี่ชั่วโมงต่อวัน เท่ากับทุกคนในประวัติศาสตร์ แต่ความอดทนต่อทุกเรื่องราวในชีวิตของเราต่ำลง ต่ำจนแม้แต่การรอคอยเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็กลายเป็นเรื่องที่เราทนไม่ได้" ปัญญา ชา จีน, น.167)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in