รีวิวเว้ย (565) มีคนเคยบอกเอาไว้ว่า "ทุกสิ่งเมื่อถึงเวลาของมันต้องกลับคืนไปสู่ดิน หากสิ่งสิ่งนั้นประกอบสร้างขึ้นมาจากวัตถุที่จับต้องได้" แน่นอนว่าในบริบทในความหมายของคำพูดดังกล่าวย่อมหมายถึง "ชีวิตและร่างกาย" ของทุกสรรพสิ่งที่เมื่อถึงเวลา ทุกสิ่งเหล่านั้นจะสลายและกลับคืนสู่สภาวะของความเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติ หากพูดกันให้ลึกลงไปอีกก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของการพูดถึง "ความตาย" ของมนุษย์ที่เป็นสิ่งที่มนุษย์หลายคนไม่พึงปรารถนา แต่ก็มีอีกหลายคนที่เร่งเวลาของการเดินทางมาถึงของ "ความตาย" ให้ไวขึ้น ซึ่งเราก็ไม่สามารถชี้ขาดหรือตัดสินได้หรอกว่าหนทางและทางเลือกของใครคือสิ่งที่ "ถูกต้อง" เพราะความถูกต้องสมควรของคนแต่ละคนนั้น "ไม่เหมือนกัน" แต่แน่นอนว่าเมื่อภาวะสุดท้ายมาถึง เราอาจจะแยกสถานะของการสูญสิ้นออกได้เป็นหลัก ๆ สองรูปแบบคือ "ร่างกลับคืนสู่ดิน" และ "บางส่วนของร่างก็กลับสู่อากาศ" แต่ถ้าหากขยายความวาระสุดท้ายด้วยวิธีคิดทางศาสนา เราจะพบว่านอกจากร่างที่กลับคือสู่ธรรมชาติแล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า "วิญญาณ" ที่แต่ละศาสนาและแต่ละความเชื่อก็จะมีเรื่องจุดสุดท้ายของวิญญาณที่ไม่เหมือนกัน แต่แน่นอนว่าในสังคมปัจจุบัน สภาวะของการสูญสลายของอะไรบางอย่างแม้กระทั่งร่างกายและตัวตนของมนุษย์ ย่อมมีอีกสิ่งหนึ่งที่กระทบถึงกันด้วยเสมอนั้นก็คือ "สังคม" และเหตุนี้เองที่ทำให้ "ดิน วิญญาณ สังคม" คือสามสิ่งที่ผสานกันในสภาวะของปัจจุบัน ที่การเปลี่ยนแปลงของสิ่งหนึ่งจะส่งผลกระทบต่ออีกสิ่งหนึ่งด้วยเสมอ ๆ ในรูปของวัฎจักรของอะไรบางอย่างที่ก็ขึ้นอยู่กับการนิยามของแต่ละบุคคล
หนังสือ : SOIL SOUL SOCIETY ดิน • วิญญาณ • สังคม
โดย : SATISH KUMAR แปล นัยนา นาควัชระ
จำนวน : 368 หน้า
ราคา : 650 บาท
"SOIL SOUL SOCIETY ดิน • วิญญาณ • สังคม" หนังสือที่ถูกเขียนขึ้นด้วยนักคิดคนสำคัญคนหนึ่งของยุคสมัยอย่าง "สาทิศ กุมาร" ที่เนื้อหาของหนังสือว่าด้วยเรื่องของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบสำคัญ 3 อย่างที่ประกอบสร้างขึ้นมาเป็นวัตถุหรือสิ่งสิ่งหนึ่ง ซึ่งองค์ประกอบสำคัญทั้ง 3 ก็เป็นไปตามชื่อของหนังสือเล่มนี้
โดยที่ "SOIL SOUL SOCIETY ดิน • วิญญาณ • สังคม" ค่อย ๆ พาเราไปทำความเข้าใจในเรื่องขององค์ประกอบทั้ง 3 ผ่านวิธีคิดและแนวทางที่ผู้เขียนได้วางเอาไว้ ทั้งผ่านประสบการณ์ ผ่ายเรื่องราวและเรื่องเล่า และผ่านการรับรู้ด้วยอวัยวะของการรับรู้ต่าง ๆ
นอกจากนี้แล้ว "SOIL SOUL SOCIETY ดิน • วิญญาณ • สังคม" ยังช่วยให้เราเข้าใจในอะไรบางอย่างได้ดีมากขึ้น ซึ่งการเข้าใจอะไรบางอย่างนั้นในบางครั้งมันก็ยากที่จะเขียนออกมาเป็นตัวอักษรเลยว่าไอ้บางอย่างที่ว่านั้นคืออะไรกันแน่ (?) แต่ที่แน่ ๆ เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบลง คุณจะมองชีวิตและคสามสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราในมุมมองที่แตกต่างออกไป แต่ความยากก็อยู่ตรงที่การระบุเจาะจงผ่านการกำหนดนานนี่แหละที่ยากว่าเราจะเรียกสิ่ง ๆ นั้นว่าคืออะไร ดั่งคำเรียกขานและนิยามของคำว่า "เต๋า" ที่ถูกนิยามเอาไว้ว่า "เต๋า" ก็คือ "เต๋า"
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in