รีวิวเว้ย (533) เราใช้ชีวิตอยู่กับรัฐบาล "เผด็จการ" มาแล้วกี่ปี (?) หากนับย้อนไปตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นี่ก็น่าจะเข้าปีที่ 7 ได้แล้วแหละสำหรับการคงอยู่ของรัฐบาลเผด็จการจันทร์โอชา ที่ถึงแม้จะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ผ่านมา แต่ก็ให้คิดเสียว่าเรายังคงอยู่ในสังคมแบบเผด็จการจันทร์โอชาอยู่ดี เพราะเรามีสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมาทำหน้าที่เลือกนายกแทนประชาชน และยังมีระบบเลือกตั้งแบบ MMA ที่สร้างความตำบอนให้กับการเมืองไทยหลังการเลือกตั้งได้อย่างดี ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ "ปัดเศษ" สูตรการคำนวนที่ขึ้นลงตลอดเวลา ไหนจะมีโครงสร้างขององค์กรที่อยู่เหนือทุกอย่าง (ใจเย็นอ่านให้จบ) อย่าง "ศาลรัฐธรรมนูญ" ที่มีอำนาจชี้ขาดในทุก ๆ เรื่อง ทั้ง ๆ ที่การได้มาซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นขาดการยึดโยงกับประชาชนอย่างสิ้นเชิง ทั้งที่ประเทศประชาธิปไตยที่ดีและควรนั้น องค์กรที่ยิ่งมีอำนาจมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งและควรที่จะมีที่มาที่ยึดโยงกับประชาชนมากขึ้นเท่านั้น แต่สำหรับประเทศไทย ยิ่งองค์กรที่มีอำนาจมากเท่าไหร่ ประชาชนในสมการอำนาจนั้น ๆ ยิ่งมีลดลง ลดลง กระทั่งแทบจะไม่มีเลย ซึ่งแน่นอนว่ากลไกแบบนี้ดำเนินมาตั้งแต่การรัฐประหารและกระทั่งหลังการเลือกตั้งมันก็ยังคงอยู่ และยิ่งจะทวีอำนาจบาตรใหญ่ของตนเองยิ่ง ๆ ขึ้นไปในทุกวัน เชื่อเหลือเกินว่าสักวันหนึ่งโครงสร้างแบบนี้มันจะต้องพังทลายลงมาจากผลของการกระทำของตัวมันเอง ในวันที่ประชาชนเจ้าของอำนาจหมดสิ้นซึ่งความอดกลั้น เมื่อนั้นความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้น
หนังสือ : จากเผด็จการสู่ประชาธิปไตยแผนการสู่อิสระภาพ
โดย : Gene Sharp แปล ธรรมชาติ กรีอักษร และ ภาคิน นิมมานนรวงศ์
จำนวน : 170 หน้า
ราคา : 220 บาท
"จากเผด็จการสู่ประชาธิปไตยแผนการสู่อิสระภาพ" เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการตั้งคำถามต่อคสามเป็นเผด็จการ ว่าในความจริงแล้วเผด็จการนั้นดำรงอยู่ได้อย่างไร และเพราะเหตุใดเผด็จการจึงยังคงดำรงอยู่ได้ในสังคมหนึ่ง ๆ โดยที่เนื้อหาของหนังสือชี้ชวนให้เรามองเห็นถึงความสามารถของเผด็จการในการรักษาฐานที่มั่นของตนภายใต้รมเงาของความขลาดกลัวของประชาชนในรัฐนั้น ๆ
แต่ที่สนุกไปกว่านั้นคือ "จากเผด็จการสู่ประชาธิปไตยแผนการสู่อิสระภาพ" ได้ชี้ชวนให้เรามองหา ตั้งคำถาม อีกทั้งยังแนะนำวิธีการในการต่อต้านเผด็จการ โดยจำแนกออกมาเป็นขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ตั้งแต่มาตรการระดับพื้นฐานไปจนถึงการลงมือสู่ความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะนำพาความล่มสลายมาสู่กลุ่มเผด็จการในรัฐเหล่านั้น
หากเราเริ่มที่จะเบื่อเผ็ดการที่มี บางครั้งบางที "จากเผด็จการสู่ประชาธิปไตยแผนการสู่อิสระภาพ" อาจจะมีคำตอบให้เราก็ได้ว่าเราควรจะทำอย่างไรดีต่อเผด็จการ ผ่านเทคนิคและวิธีการของการยั่วล้อให้เผด็จการระเบิดโทสะของตนออกมากระทั่งนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลง เพราะลักษณะร่วมอย่างหนึ่งของเผด็จการในหลาย ๆ แห่ง คือ เผด็จการส่วนใหญ่มักมีความอดทนที่ต่ำ และบางที่อาจจะมี cell สมองที่น้อยถึง 84,000 cell ด้วยในที
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in