เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ปริศนาเบื้องหลังศาสนสถาน By ชาตรี ประกิตนนทการ
  • รีวิวเว้ย (497) สภาวะของการ "แยกขาด" สำหรับบางสิ่งบางอย่างออกจากกัน มันเป็นสภาวะที่ทำให้หลายครั้งเราเองก็ลืมเลือนไปว่า บางสิ่งบางอย่างมันเคยอยู่ร่วมกันมาก่อน บางสิ่งการที่มันอยู่ร่วมกันจะทำให้มันมีประสิทธิภาพมากกว่าปกติ และบางสิ่งเวลามันอยู่ร่วมกันมันสามารถอธิบายปรากฎการณ์บางอย่างได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าการที่มันถูกแยกออหมาอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย ตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา คือ การแยกเอาองค์ความรู้ทางด้าน รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปรัชญาการเมือง ออกจากกัน และตัดขาดมันจนมันกลายเป็นศาสตร์แขนงเดียวที่แยกกันอยู่อย่างโดดเดี่ยว ซึ่งในหลายครั้งการแยกศาสตร์ต่าง ๆ ออกจากกันในลักษณะนี้ มันทำให้การอธิบายบริบทบางอย่างมันไม่ครองคลุมและดู ๆ ไปแล้วมันจะไม่ค่อยมีน้ำหนักสักเท่าไหร่ อย่างเราเองในฐานะของนักเรียนรัฐศาสตร์ เห็นความหายนะของภาวะการแยกขาดขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ได้อย่างชัดเจน เพราะบางกรณีความที่เป็นเอกศาสตร์มันก็ไม่สามารถอธิบายบริบทบางประการได้ดีเท่ากับการหยิบยืมเอาองค?ความรู้จากศาสตร์อื่น ๆ มาใช้ร่วมกัน

    นอกจากประเด็นของการแบ่งแยกวิชาความรู้แล้ว เราจะพบว่าในปัจจุบัน การศึกษาแบบแยกส่วน และการแบ่งแยกในหลาย ๆ อย่างปรากฎชัดเจนขึ้นตลอดเวลา มีอีกการแยกขาดหนึ่งที่เรามองว่ามันน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ เรื่องของการแยก "ศาสนาออกจากการเมือง" โดยเฉพาะในศาสนาพุทธ เราจะพบว่าศาสนาพุทธแบบไทยนั้นมีความพยายามที่จะบอกว่าตัวเองนั้นแยกขาดออกจากการเมือง ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราจะพบว่าศาสนาพุทธแบบไทยกัลเรื่องของการเมืองเป็นสิ่งที่ผูกฏยงตัวเองเข้าด้วยกัน และกลายเป็นเนื้อเดียวกันมานานแล้ว ถ้าไม่เชื่อลองมองเหตุการณ์ที่ศาสนาพุทธแบบไทยล้วนเข้าไปเกี่ยวข้องดูก็ได้ เราจะเห็นว่าพุทธไทยกับการเมืองไทยนั้น มันแทบจะเป็นสิ่งเดียวกัน

    ซึ่งนอกเหนือไปจากประเด็นเรื่องของการผูกโยงของแนวคิดพุทธไทยและการเมืองไทย ในแง่มุมของการปฏิบัติการเชิงอุดมการณ์แล้ว เราจะพบว่าพุทธไทย ยังคงมีส่วนในเรื่องการกำฟนดบทบาททางการเมืองในทางสถาปัตยกรรมของไทยอยู่ด้วยเช่นกัน ทั้งขนบของการสร้างวัด วัง สถานที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ทั้งสถานที่ที่ผูกโยงกับการเมือง ฯลฯ ในไทย เราจะพบว่าสถาปัตยกรรมของสถานที่เหล่านั้นถูกหลอมรวมเข้ากับคติทางศาสนาแบบพุทธศาสนาของไทยอย่างชัดเจน ตัวอย่างที่ปรากฏในปัจจุบันก็คือ รัฐสภาแห่งใหม่ที่ออกแบบตามคติของเข้าพระสุเมรุ 
    หนังสือ : ปริศนาเบื้องหลังศาสนสถาน
    โดย : ชาตรี ประกิตนนทการ
    จำนวน : 50 หน้า
    ราคา : 80 บาท

    "ปริศนาเบื้องหลังศาสนสถาน" เป็นหนังสือรวมบทความที่ว่าด้วยเรื่องของสถาปัตยกรรมไทยที่ผูกโยงตัวเองเข้าไว้กับศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของศาสนาพุทธไทย ที่สถานที่หลาย ๆ แห่งถูกทำให้กลายเป็นสถานที่ที่มีความพิเศษและศักดิ์สิทธิด้วยโครงสร้างของสถาปัตยกรรมและความเชื่อทางศาสนาแบบพุทธไทย

    โดยเนื้อหาใน "ปริศนาเบื้องหลังศาสนสถาน" ได้ชี้ชวนให้เราลองตั้งคำถามกับแนวคิดในเรื่องของความพยายามในการ "แยกศาสนาออกจากการเมือง" แต่แนวทางดังกล่าวกลับถูกสะท้อนและถ่ายทอดผ่าน "สถาปัตยกรรม" ที่มีความเกี่ยวโยงทั้งศาสนาและการเมืองไปพร้อม ๆ กัน โดยที่ "ปริศนาเบื้องหลังศาสนสถาน" ได้บอกเล่าถึงความเป็นมาและแนวความคิดในทางสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวโยงในเรื่องของการฉวยเอาศาสนามาสร้างความชอบธรรมให้กับกลไกทางการเมืองบางรูปแบบ และรวมไปถึงการตั้งคำถามย้อนกลับว่า ในท้ายที่สุดแล้วการใช้ขนบและวิธีคิดทางศาสนามาผูกโยงเข้ากับสถาปัตยกรรมและการเมืองนั้น มันเป็นความต้องการหรือมีเบื้อหลังของการกระทำดังกล่าวอย่างไร

    อาจจะเรียกได้ว่า "ปริศนาเบื้องหลังศาสนสถาน" ช่วยให้เราเห็นภาพและทำความเข้าใจศาสนาและการเมืองของไทยผ่านแนวคิดในเรื่องของสถาปัตยกรรมได้อย่างน่าสนใจ และช่วยให้เราเข้าใจกลไกของการรับใช้อุดมการณ์บางอย่างของสถาปัตยกรรมไทยแบบพุทธศาสนาของไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in