รีวิวเว้ย (489) เราเริ่มใช้ชีวิตตามเวลาที่ถูกกำหนดโดยนาฬิกาของโลกทุนนิยมเมื่อไหร่กัน (?) หากย้อยกลับไปในสมัยที่เรายังเป็นเด็ก (เราเกิด 2536) ในช่วงสมัยเด็ก เวลาเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าสำหรับเราเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะเวลาตามนาฬิกา ด้วยความที่เกิดมาในต่างจังหวัดและใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัด ในสมัยที่ความรีบเร่งยังเดินทางไปไม่ถึงในบางพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งความรีบเร่งในเรื่องของการเรียน การใช้ชีวิต การเรียนพิเศษ การแข่งขันต่าง ๆ นา ๆ ยังคงห่างไกลกับพื้นที่ที่เราเติบโต ทำให้ช่วงวัยเด็กของเรานาฬิกาและเวลาแทบจะไม่มีความหมายอะไรกับชีวิตเลยสักนิด เว้นแต่ช่วงที่อาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้วที่เราต้องกลับเข้าบ้านเพื่อกินข้าวอาบน้ำและนอน เพื่อรอให้แสงของวันใหม่เริ่มต้นอีกครั้ง ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณของความสนุกของโลกของเด็กที่ปราศจากนาฬิกาและห่วงเวลาของความเร่งรีบและการแข่งขัน
หนังสือ : เราทำงานอย่าปล่อยให้งานทำเรา
โดย : Alan Lightman แปล โตมร ศุขปรีชา
จำนวน : 120 หน้า
ราคา : 225 บาท
น่าแปลกใจที่พอในวันวัยที่เราเติบโตขึ้น นาฬิกาของโลกทุนนิยมกลายเป็นสิ่งที่ผูกโยงเราเอาไว้แทบจะตลอดเวลา เมื่อช่วงเวลาความสนุกของวัยเด็กผ่านพ้น การเริ่มต้นวัยผู้ใหญ่ที่หากใช้มาตรของการทำงานเป็นตัวชี้วัดได้เริ่มต้นขึ้น และการเริ้มต้นขึ้นของโลกการทำงานนี้เอง ที่ทำให้เรากลายเป็นหนึ่งในผลผลิตของนาฬิกาทุนนิยมที่สุดแสนจะตรงเวลา เพราะเมื่อถึงเวลาตื่นเราก็ตื่นนอน อาบน้ำ กินข้าว ถึงเวลาเข้าทำงานก็สแกนนิ้วเริ่มงาน ถึงเวลาที่นาฬิกาบอกว่าพักได้ก็พักและลงไปกินข้าว และเมื่อเวลางานเริ่มขึ้นอีกครั้งเราก็เดินเข้างานอย่างตรงเวลา เมื่อเวลาผ่านไปถึงช่วงท้ายของวันและการทำงานเร่ก็สแกนนิ้วออกจากงาน กลับที่พัก กินข้าว อาบน้ำ ทำโน่นนี่อีกนิดหน่อยแล้วก็นอน เพื่อวันถัดไปเราจะได้เริ่มวงจรใหม่ของชีวิต ในบริบทและช่วงเวลาแบบเดิม ๆ
น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่งว่าเพราะเหตุใดเราจึงยอมให้นาฬิกาของโลกทุนนิยมครอบคลุมเราในแทบทุกมิติของชีวิต และยิ่งกับเด็กรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมแบบทุนนิยมที่นาฬิกาของทุนนิยมครอบคลุมไปในทุกพื้นที่ นั่งยิ่งทำให้พวกเขามีเวลาของตัวเองจริง ๆ น้อยลง หรือบางคนก็แทบไม่มีเลยด้วยซ้ำไป กลายเป็นว่าเมื่อเด็กน้อยตื่นลืมตา นาฬิกาของบทบาทชีวิตก็ถูกกำหนดเวลาแลพทิศทางเอาไง้แทบจะ 100% ซึ่งในท้ายที่สุดทุกวันนี้สังคมเราต้องเผชิญกัลการท้าทายในเรื่องของความเสียหายของสังคมที่เกิดจากนาฬิกาของระบบทุนนิยม ที่ส่งผลให้คยรุ่นใหม่ของเรามีความท้าทายที่สั่นคลอนชีวิตและตัวตนของพวกเรา กระทั่งพัฒนาไปเป็นอาการต่าง ๆ ของสังคม
"เราทำงานอย่าปล่อยให้งานทำเรา" ชวนให้เรากลับมาลองตั้งคำถามกับชีวิตอีกครั้งหนึ่งว่า ในการทำงานหนึ่ง ๆ ของคนคนหนึ่งนั้น มันถูกต้องแล้วจริง ๆ รึเปล่าที่เราเริ่มต้นชีวิตในช่วงหนึ่ง ๆ ด้วยการทำงานและปลายทางสุดท้ายมันก็ไปจบลงที่การทำงานจนวาระสุดท้ายของชีวิต คำถามสำคัญของ "เราทำงานอย่าปล่อยให้งานทำเรา" คือ "ช่วงเวลาในชีวิตของเราที่เป็นของเราจริง ๆ มันหายไปไหนกัน"
เนื้อความในหนังสือ "เราทำงานอย่าปล่อยให้งานทำเรา" บอกเล่าภาพของวันเวลาในอดีตเพื่อให้เราทบทวนว่า เพราะเหตุใดเราจึงยอมให้ตัวเองมีเวลาวางแบบในช่วงวัยเด็กไม่ได้ เพราะเหตุใดเราจึงช้าลงกว่าจังหวะการหมุนของโลกทุนนิยมไม่ได้ และเพราะเหตุใดเราจึงไม่ยอมที่จะไม่มีตัวตนในโลกเสมือนไม่ได้แล้วเรากลับยอมให้ตัวตนในโลกเสมือนและเงื่อนไขต่าง ๆ กลายเป็นข้อบังคับสำคัญของการใช้ชีวิตของเราไปเสียอย่างงั้น
ซึ่งในท้ายที่สุดหนังสือเล่มนี้ ได้บอกกับเราว่าในท้ายที่สุดแล้วความเร็ว ความเร่งรีบ ทำให้เราหลงลืมอะไรบางอย่าง และเพราะมันทำให้เราเคยชินจนเราละเลยที่จะใช้ชีวิตในจังหวะของตัวเองจริง ๆ จนในท้ายที่สุดเราก็เลือกที่จะละเลยชีวิตขอฝตัวเอง เพียงเพราะเรายอมรับที่จะทำในแบบที่สังคมกำหนดเอาไว้ หากแต่ละเลยการกำหนดควบคุมของตัวเองอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้สะท้อนข้อคิดออกมาในชื่อของหนังสืออยู่ในทีแล้วว่า "เราทำงานอย่าปล่อยให้งานทำเรา"
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in