รีวิวเว้ย (355) จิตกรรมฝาผนังเป็นสิ่งที่หลายครั้งถูกมองและถูกให้ค่าว่าเป็นสิ่งสูงค่ท และสูงค่าเกินกว่าที่เราจะลบหลู่ ตั้งคำถาม รวมถึงวาดอะไรเพี้ยน ๆ ลงไปได้ เพราะจิตกรรมฝาพนังส่วนใหญ่ (อาจจะเรียกว่าทั้งหมด) อยู่ในวัดหรือศาสนสถานแบบพุทธ ทำให้ภาพจิตกรรมเหล่านั้นดูสูงค่าและสูงส่ง กระทั่งหลายครั้งหลาย ๆ คนมักมองว่าน่าเบื่อเพราะภายในบรรจุไปด้วยเรื่องราวของควมมห่างไกลจากมิติของสิ่งที่ถูกเรียกว่าชีวิตผู้คน แต่เอาเข้าจริงแล้วหากเราสังเกตุให้ดี ๆ ในแทบทุกภาพจิตกรรมฝาผนังของศาสนสถานแทบทุกแห่งในครั้งอดีตมักจะแฝงฝังเอาไว้ด้วยภาพจิตกรรมที่ถูกเรียกว่า "ภาพกาก" ที่ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของคนในชนชั้นปกติ "ไพร่" ในครั้งอดีต (ร่วมสมัยกับการสร้างจิตกรรมฝาผนังเหล่านั้น) ทำให้ภาพจิตกรรมฝาผนังในหลายศาสนสถานถ้าเราเพ่งมองดูให้ดีและลึกลงไป เราจะพบว่าในพื้นที่ของวัฒนธรรมประเพณีของชนชั้นนำ มักถูกเคลือบแฝงเอาไว้ด้วยวัฒนธรรมของชนอีกหลายชั้นเสมอ ๆ
หนังสือ : ภาพพูดได้: เปิดมิติใหม่ในการดูจิตกรรมฝาผนัง
โดย : อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย
จำนวน : 172 หน้า
ราคา : 195 บาท
"ภาพพูดได้: เปิดมิติใหม่ในการดูจิตกรรมฝาผนัง" เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของภาพจิตกรรมฝาผนัง ในหลาย ๆ วัดและศาสนสถานในประเทศไทย โดยพาเราไปพินิจพิจารณาภาพเหล่านั้นผ่านข้อความที่ถูกแอบซ่อนเอาไว้ในมุมหนึ่งมุมใดของภาพ นับตั้งแต่เรื่องของความสัมพันธ์และการมีสัมพันธุ์ระหว่างหญิงชาย ที่ถูกถ่ายทอดเอาไว้ในจิตกรรมฝาผนัง หรือกรณีสุดฮิตอย่างภาพการ "บีบแตร" ที่ถ้าเราลองพินิจดูดี ๆ อาจจะพบว่าการบีบแตรนั้นมีอยู่ในภาพจิตกรรมฝาผนังของวัดแทบทุกวัดก็อาจจะเป็นได้
รวมถึง "ภาพพูดได้: เปิดมิติใหม่ในการดูจิตกรรมฝาผนัง" ยังทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราววิธีชีวิตของผู้คน ณ ช่วงเวลานั้นว่าชีวิตของพวกเขาดำเนินเดินไปอย่างไร กระทั่งภาพจิตกรรมเหล่านี้หลายแห่งบรรจุเอาไว้ซึ่งภาพความสัมพันธ์ของคนสยาม (ไทย) ในช่วงเวลานั้นกับชาวต่างชาติ นับตั้งแต่เรื่องของการเข้ามาทำการค้าขาย การแลกเปล่ยสวัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งการวางลำดับของกลุ่มชาวต่างชาติ ให้อยู่ในตำแหน่งของ "หมู่มาร" ในจิตกรรมฝาผนังแบบประเพณีนิยม
อาจจะเรียกได้ว่าจิตกรรมฝาผนังเป็นหนึ่งในเครื่องบันทึกความทรงจำ คล้ายกับการจดจารข้อความลงในบันทึกของอาลักษ์หากแต่การจดจารความทรงจำครั้งนี้ทำเป็นภาพเหตุการณ์สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นแทน นี่อาจจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือลบล้างความเชื่อที่ว่าคนสยามหรือไทยในครั้งอดีตเป็นพวกไม่ชอบบันทึกจดจารสิ่งใด หากแต่ถ้าการบันทึกในครั้งก่อนเก่านั้นอยู่ในรูปแบบของภาพจิตกรรมฝาพนัง ก็อาจจะเป็นการตอบคำถามอีกข้อหนึ่งได้ว่า เพราะเหตุใดคนไทยจึงชอบดูละครมากกว่าอ่านหนังสือ เพราะเรามีวัฒนธรรมรูปภาพมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลก่อนก็อาจจะเป็นได้
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in