เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ศิลปะในชุมชนจีนประเทศไทย By พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร และ เศรษฐพงษ์ จงสงวน
  • รีวิวเว้ย (350) ทุกวันนี้ถ้าให้เราลองพยายามแยกระหว่าง คนไทยกับคนจีนที่เข้ามาเที่ยวในเมืองไทย เอาเข้าจริงหลายครั้งเราอาจจะแยกคนสองกลุ่มนี้ไม่ออก หากพวกเขาไม่เอ่ยปากพูดหรือส่งเสียง ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าความเป็นไทยกับจีน (เอาเข้าจริงอาจจะทั้งอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) อาจจะถูกกลืนกลายเป็นสิ่งเดียวกัน ทำให้ยากที่จะแยกให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าไหนไทย ไหนจีน หลายครั้งแนวความคิดแบบนิยมชาติ ขยายผลให้เกิดการต่อต้านความเป็นอื่น (ต่างชาติ) กระทั่งนำมาด้วยเรื่องดราม่าอื่น ๆ อีกแทบนับไม่ท่วน อย่างล่าสุดกรณีของการถกเถียงกันเรื่องคนไทยทำตัวแบบจีนในต่างประเทศ แท้จริงแล้วคนไท๊ยไทยก็โบ้ยบ้ายให้กับคนไทยเชื้อสายจีนว่า "พวกลูกจีนอพยพนั่นแหละที่เป็นพวกส่งเสียงดังเหมือนเจ๊กจีน ตอนไปเที่ยวต่างประเทศ" ซึ่งก็ไม่รู้จะพูดอะไรต่อดีเมื่อเจอการ์ดไม้ตายของคน "ไท๊ยไทย" พวกนี้เข้าไป
    หนังสือ : ศิลปะในชุมชนจีนประเทศไทย
    โดย : พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร และ เศรษฐพงษ์ จงสงวน
    จำนวน : 80 หน้า
    ราคา : 200 บาท

    แล้วถ้าเราพูดถึงความเป็นจีน ในงานศิลปะของไทย เราคิดว่ามันมีหรือไม่มี (?) และมีมานานแค่ไหนแล้ว (?) เอาเข้าจริงถ้าจะบอกว่ามีหรือไม่มี คงหนีไม่พ้นคำตอบที่ว่ามีแน่ ๆ แต่มีมานานเท่าไหร่แล้วนั่นแหละที่น่าสนใจ "ศิลปะในชุมชนจีนประเทศไทย" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของความเป็นจีน ที่ถูกผนวกรวมเข้กับความเป็นไทย โดยคนไทยบ้าง คนจีนบ้าง อันเกิดจากการปรับตัวเพื่อรับเอาวัฒนธรรมของเพื่อนบ้านเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรา

    "ศิลปะในชุมชนจีนประเทศไทย" ว่าด้วยเรื่องร่าวความเป็นมาของคนจีน ว่าเข้ามาในสยามหรือไทยตั้งแต่เมื่อไหร่กัน และการเข้ามาของคนจีนนั้นมาจากปัจจัยใดและเราสามารถจำแนกจีนออกได้กี่ประเภท และแต่ละประเภทที่เข้ามาทั้งหมดนั้น ไม่ได้ถูกเรียกรวม ๆ กันว่า "จีนอพยพ" หากแต่ถ้านับตั้งแต่ครั้งโบราณกาลก่อนมา เราจะพบว่าจีนไม่ได้มีแค่พวกที่อพยพเข้ามาเพื่อพึ่งพระบรมโพธิสมภารแต่เพียงเท่านั้น หากแต่ยังมีจีนในราชสำนัก จีนการค้า ไล่เลื่อยไปกระทั่งจีนจับกัง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าจีนในสยามนั้นมีพลวัตรและมีมาตรวัดคสามเป็นจีนที่แตกต่างกัน ผ่านกิจกรรมที่เข้ามาดำเนินการในราชสำนักสยามและก่อนหน้า

    นอกจากการจำแนกแตกประเภทของชาวจีนและความเป็นจีนแล้ว "ศิลปะในชุมชนจีนประเทศไทย" ยังได้ถ่ายทอดเรื่องราวของศิลปะแบบจีน ที่ถูกผนวกรวมให้กลายเป็ยส่วนหนึ่งของความเป็นไทยในช่วงเวลาต่อมา อย่างเรื่องของรูปร่าง ลายไทย ที่ในสมัยหลังเราเข้าใจว่ามันคือลายไทย 100% แต่เอาเข้าจริงแล้วมันกลับกลายเป็นลายไทยผสมจีน ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ความไทยและความจีนนั้นแท้จริงแล้วอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมบางอย่างให้กับรัฐชาติ รวมถึงการกลืนกลายและแบ่งแยกเอง ก็กลายเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างและสถาปนาอำนาจของรัฐชาติ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ "เราก็อยู่กันมาได้" โดยที่ไม่เห็นต้องแก่งแย่งแขนกันจองว่านั้นของเรา นี่ของฉัน โน่นของเธอ ก็เหมือนกับศิลปะไทยที่หลายครั้งหลายชิ้นงานก็ผสานคสามเป็นจีนเอาไว้ได้อย่างลงตัว

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in