เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
อ่าน Fallen Angle (1847) แบบโรมานซ์: เขาชั่วร้ายเพราะชื่อภาพและแววตาเท่านั้นTSanLah
อ่าน Fallen Angle (1847) แบบโรมานซ์: เขาชั่วร้ายเพราะชื่อภาพและแววตาเท่านั้น
  •             เพิ่งดูซีรี่ย์ Lucifer ซีซั่นล่าสุดจบไป จะว่าไปแล้วการตีความลูซิเฟอร์ใหม่ จากฐานะของจอมปีศาจ ความชั่วร้าย ฯลฯ ขั้วสีดำตรงข้ามขั้วสีขาวของสวรรค์ มาสู่สถานะสีเทา ขี้เล่นมีอารมณ์และมีความรู้สึกเป็นมนุษย์มากอย่างพ่อหนุ่มลูซิเฟอร์ในซีรีย์เนี่ย ในอดีตก็มีการตีความลูซิเฟอร์ทำนองนี้ ใส่ความรู้สึกแแบมนุษย์ลงไปในจอมปีศาจ โดยเฉพาะในงานจิตรกรรมจะติดตาผู้คนได้มากกว่าการนั่งอ่านตัวบทวรรณกรรม อย่างเช่นภาพที่เราจะพูดถึงวันนี้ ภาพ Fallen Angle (1847) วาดโดย Alexandre Cabanel

    การพูดถึง การอ่าน และตีความภาพจิตรกรรมี้เป็นอัตวิสัยเพราะภาพเขียนสร้างการรับรู้ให้เราต่างกัน ในที่นี้เราจะใช้เทคนิคการพิจารณาตามการจัดวางและสัญลักษณ์สำคัญที่แสดงให้เห็นชัดในภาพ ส่วนประเด็นเชิงคุณค่าและประวัติศาสตร์ของภาพนั้นสามารถเสิร์ชอ่านได้มากมายด้วยภาพนี้ก็ค่อนข้างเป็นตัวอย่างภาพเขียนที่ท้าทายขนบอยู่พอสมควร

    ท้องเรื่อง

    ภาพเขียนในหัวข้อ Fallen Angle เกิดขึ้นมากมายในโลกของศิลปะ เพียงเอ่ยชื่อภาพเราจะนึกถึงทันทีว่าตัวแบบหรือตัวละครในภาพคือคนที่คุณก็รู้ว่าใคร (ลูซิเฟอร์) ภาพในสไตล์เก่าจากสมัยเรอเนสซองค์ถึงบาโร๊ค (ราวปลายศตวรรษที่ 13–17) หัวข้อนี้มักจะมีลูซิเฟอร์ปรากฏคู่กับเทวทูตมิคาเอล ในฐานะนักรบแห่งสวรรค์ถือหอกดาบขับไล่เทวทูตที่กบฎต่อพระเจ้าหรือปีศาจร้ายอย่างลูซิเฟอร์ ตัวแบบของลูซิเฟอร์ในภาพเขียนมักจะมีเขางอกออกมาอย่างชัดเจนมาก บางภาพก็ไร้ปีกจนอาจทำให้หลายคนที่ไม่คุ้นชินกับเรื่องราวในพระคัมภีร์ลืมไปว่าครั้งหนึ่ง ลูซิเฟอร์ คือเทวทูตที่สง่างามที่สุดบนสวรรค์

    ภาพที่เขียนขึ้นในหัวข้อตามพระคัมภีร์ มักเรียกอีกอย่างว่าภาพขนบ (ผมเรียกเช่นนี้ก็เเล้วกันเข้าใจง่าย) หรือภาพสถาบัน (academic) คือเป็นหัวข้อที่นักเรียนศิลปะต้องฝึกเขียนกันซ้ำๆ แต่ลายลายและสไตล์จะต่างกันไป

    อ่านภาพ

    Alexandre Cabanel ก็เป็นพวกเขียนภาพขนบ เราจะพูดถึงเฉพาะภาพ Fallen Angle ที่เขาเขียนขึ้นในปี 1868 มันมีประเด็นร้อนแรงในเชิงคุณค่ามากมายแต่เราขออ่านภาพก่อนว่า Cabanel มีสไตล์สื่อสารอย่างไร

    วิธีอ่านภาพในตอนเริ่มแรก ให้ปิดชื่อของภาพ ราวกับไม่รู้ว่านี่คือ Fallen angle มองการจัดวางให้ออกว่าอะไรคือเนื้อหาหลัก ภาพนี้ดูง่ายเพราะมีรูปเทวทูตผิวขาววางท่ากึ่งนอนและเฉียงตัวอยู่เกินครึ่งของภาพ พื้นหลังคือท้องฟ้าที่มีเทวทูตโบยบิน พื้นหลังมีเพื่อบอกว่านั่นคือเหตุการณ์อะไรบริบทไหน ซึ่งเราจะไม่เน้นมาก เขาใส่ให้ครบองค์เฉยๆ ครับ ไม่สู้เทวทูตวางท่าสวยๆ ตรงหน้าหรอก

    เทวทูตที่วางท่าคือพระเอกของเรื่อง ดังนั้นเราลองมาลากเส้นนำสายตาที่ศิลปินพยายามแสดงในมุมแทยงตามความจงใจวางท่าเทวทูตของศิลปิน จะเห็นว่าท่อนขาขาวนวลนำเราสู่ท่นแขนศอกและดวงตา เช่นเดียวกับเส้นโค้งของวงปีก (ดูเส้นสีแดง) แม่กระทั่งมัดกล้ามในเส้นตั้งนำเราเข้าไปสู่สายตาของเทวทูต สายตาเป็นเครื่องหมายของภาพเขียนอย่างหนึ่งที่เรียกว่า admonitor เป็นจุดเชื่อมระหว่างเหตุการณ์ในภาพเเละผู้ชม ในภาพที่มีตัวละครหลายตัวดำเนินเรื่อง มักจะมีตัวละครตัวหนึ่งส่งสายตามาหาผู้ชมเสมอ แต่ภาพนี้มีตัวละคร “เด่นมาก” ตัวเดียวมันเป็นผู้เชื่อมในตัวมันเอง การที่ศิลปินนำสายตาผู้ชมมาสู่ดวงตาคือการเน้นย้ำว่า “ดูที่ตาชั้นสิ” นี่คือหัวใจของภาพ

    กล่าวได้ว่ เราจะทราบเรื่องว่าเจ้าเทวทูตนี่คือตัวร้ายในจักรวาลพระคัมภีร์ที่โหดสสัสกว่าธานอสของจักรวาลมาเวลก็ต่อเมื่อ เราเปิดชื่อภาพออกมาเพื่อดูท้องเรื่อง เขาผู้นี้จึงเลวร้ายเพราะมีชื่อภาพกับเรื่องราวกำกับอยู่ สิ่งต่อมาที่เป็นจุดเด่นหลักของภาพคือแววตา แววตาจะเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพนี้แตกต่างจากภาพอื่นในหัวข้อเดียวกัน (หัวข้อ Fallen Angle) แววตาของภาพนี้มันส่งเสริมความอาฆาตมาดร้ายให้ตัวละครนี้ แต่ในขณะเดียวกันมันก็ไปสร้างความเห็นอกเห็นใจให้เกิดแก่ตัวละครนี้เช่นกัน เขาจึงชั่วร้ายเมื่อมี ชื่อภาพ และ แววตา ประกอบกันในภาพให้เราเข้าใจว่านี่คือจุดเริ่มต้นของจอมปีศาจเท่านั้น ที่เหลือคือสิ่งที่ผู้ชมต้องรู้สึก

    การสร้างความรู้สึกมันไม่จบแค่แววตาและชื่อภาพ แต่มี “เรือนร่าง” ขนาดใหญ่ของตัวแบบ มีส่วนช่วยขับเน้นแววตา และนาฏกรรมที่อยู่ภายใต้ชื่อเหตุการณ์นี้ด้วย

    เรือนร่างมนุษย์และปีกเทวทูต: สำนึกร่วมของผู้ชมในฐานะมนุษย์กับตัวแบบก้ำกึ่งมนุษย์


    ภาพ Fallen Angle (1847) ของ Alexandre Cabanel นี้ถูกท้าทายโดยพวกเคร่งศีลว่าโป๊นะครับ เพราะเมื่อเทียบกับภาพขนบอื่นๆ ด้วยกันแล้ว ภาพนี้มีขนาดใหญ่พอสมควร และตัวแบบของภาพก็มีชายเปลือยเกือบหมดอล่างฉ่างอยู่กว่าครึ่งของเฟรมภาพ ลองนึกดูว่าเมื่อคุณเดินเข้าโบสถ์แล้วภาพนี้ใหญ่กว่าตัวคุณตั้งอยู่ มันย่อมตำใจความเคร่งศีลที่มองว่าเรือนร่างของเราคือบาปนั่นแหละครับท่านผู้ชม

    การโชว์ร่างกายและมัดกล้ามมีนัยยะสำคัญนะครับ เพราะกว่าที่มนุษย์เราจะกลับมาเขียนภาพมัดกล้ามได้สมบูรณ์แบบนั้น มันเกิดจากการเรียนกายวิภาคและสรีระวิทยาที่เริ่มกันมาตั้งแต่สมัยเรอเรสซองค์ (คศว.13–15) รุ่งเรืองในสมัยบาโร๊คและส่งต่อให้งานสมัยใหม่ ทำไมผมถึงว่า “กลับมาเขียน” เพราะในยุคกลางเขาไม่ให้มีการผ่าศพ หมอที่แอบศึกษาร่างกายมนุษย์อาจถูกเผาในฐานะแม่มดหรือถูกขับไล่ในฐานะคนนอกรีต ต่างจากยุคกรีกถึงโรมันที่งานประติมากรรในยุคนั้นบอกเราชัดว่าพวกโรวมศึกษาร่างกายมนุษย์มาอย่างดี

    การฟื้นฟูศิลปะวิทยากรจึงทำให้เกิดการตื่นรู้ร่วมกันหลายสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม การแพทย์ สปรัชญา วรรณกรรมหรือศิลปะยิ่งเด่นชัดมันทำให้ผู้คนเริ่มตระหนักในคุณค่าของร่างกายความเป็นมนุษย์ หรือเป็นความสมบูรณ์ของร่างกายตามนิยามของพวกมนุษยนิยมแบบกรีก อนึ่ง ร่างกายที่สมบูรณ์ยังสอดรับกันอย่างดีกับคำสอนคริสต์ที่บอกว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์จากแบบของพระองค์

    ความเป็นมนุษย์บนภาพเขียนที่ตัวแบบเป็นมนุษย์ก็ไม่ใช่เรื่องอะไรใหม่ แต่เรื่องราวในพระคัมภีร์มันไม่ค่อยมีตัวเอกเป็นมนุษย์เท่าไหร่หรอกครับ ดังนั้นมันต้องมีสัญลักษณ์อื่นมาสวมใส่ โดยเฉพาะ “เทวทูต” ที่ถูกถ่ายทอดความเป็นมนุษย์รวมกับความไม่ใช่มนุษย์คือ “มีปีก” แต่เทวทูตใน Fallen Angle (1847) ของ Alexandre Cabanel นั้น มันไม่ใช่เทวทูตธรรมดาน่ะสิครับ มันคือสิ่งที่กำลังกลายเป็น “จอมปีศาจ” ตัวแบบนี้ก็มีความก้ำกึ่งหลายสถานะเหมือนกัน

    พูดง่าย ๆ ว่า Cabanel ต้องการนำเสนอเรื่องราวตามขนบของพระคัมภีร์ด้วยความแปลกใหม่ คือ การเสนอให้ลูซิเฟอร์ มีอารมณ์และความนึกคิดแบบมนุษย์ด้วยร่างกายแบบมนุษย์ ดึงเราเข้าไปมีส่วนร่วมกับความรู้สึกของลูซิเฟอร์ สิ่งที่ขับเน้นการมีส่วนร่วมนี้คือ “แววตา” นั่นเอง แววตา ที่เก็บรวมบรวมอารมณ์ไว้ ผู้ชมอาจรู้สึกแววตาได้หลายแบบ เช่น รู้สึกว่าลูซิเฟอร์กำลังโกรธแค้น กำลังเศร้า หรือน้อยเนื้อต่ำใจ นั่นคือหน้าที่ของ admonitor

    สิ่งสำคัญที่สุดของ “แววตา” ที่เชื่อมเราให้รู้สึก กับ ปูมหลังของความเข้าใจในท้องเรื่องสงครามเทวทูตและการตกสวรรค์ เป็นความขัดแย้งทางอารมณ์ที่รุนแรง หรือเป็นนาฏกรรมที่ให้ความรู้สึก “ทดเทิด” หรือ Sublime (ผมแปลเป็นภาษาผมว่าความเจ็บปวดที่งดงามละกัน) สะเทือนอารมณ์ ซึ่งเป็น Movement ทางศิลปะที่นิยมกันในกลางศตวรรษที่ 18–19 คือ กระแสโรแมนติกนิยม (Romanticism) นั่นเอง

    สรุปแล้ว ภาพนี้ต้องการเชื่อมความเป็นมนุษย์ของผู้ชมกับเรื่องราวอัศจรรย์ของพระเจ้า ให้ดูสะเทือนอารมณ์ จะสงสารก็สงสารไม่ได้เสียทีเดียว เพราะเหมือนลูซิเฟอร์ก็กำลังโกรธแค้นอยู่ มันจึงทดเทิดกันอยู่ในภาพ ภาพนี้จึง โรแมนติ๊กกกกก โรแมนติกสุดๆ อารมณ์จัดเต็มเล่นใหญ่รัชดาลัยเธียเตอร์

    — — — — — — — — — — —

    สุดท้าย นี่เป็นการตีความจากการอ่าน องค์ประกอบของภาพ และสัญลักษณ์ที่ศิลปินสื่อเท่านั้น และเป็นแบบอัตวิสัยของผมมากด้วย ส่วนประเด็นการตัดสินเชิงคุณค่าอื่นๆ ต้องนีเสิร์ชอีกครับ ดูศิลปะอ่านเอาสนุกในแบบฉบับของเราและขอให้เพลิดเพลินกับมิวเซียมและอาร์ทแกลอรีในทุกที่ครับ


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in