เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
SHARE - ประสบการณ์สอบเข้าอักษรศาสตร์จุฬา (ฉบับอินดี้ๆ)Shanikant Nimplum
SHARE - ประสบการณ์สอบเข้าอักษรจุฬา (ฉบับอินดี้ๆ) - EP.02 / 2
  •                                                                            คำอุทิศ
    • ขอมอบบทความนี้ ให้แด่ทุกคน

      ที่มีความหวัง ความฝัน อยากจะเข้าคณะอักษรศาสตร์

      และขอให้ทุกท่าน ที่มีความพยายาม ความเพียรความมานะ ความตั้งใจจริง

      จงประสบความสำเร็จ จากผลที่ท่านลงมือทำ

      Me// ( =’’=  )  จะแก่ไปไหนวะ



    •  ------------------------------------------------------------------------------------------





      EPISODE – 2.2

      -ภาษาบาลี ตอนที่2-

       

       

      สำหรับหนังสือที่เราใช้ มีอยู่หลักๆไม่กี่เล่ม เราเคยเขียนกระทู้ในเว็บเด็กดีแนะนำหนังสือบาลีที่เรามีอยู่ไปก่อนหน้านั้นแล้ว แต่นั่นเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ใน EP นี้เราจะขอพูดถึงแต่เล่มหลักๆที่เราเห็นว่ามีประโยชน์และใช้งานได้จริง รวมถึงช่องทางในการสั่งซื้อ

       

      1.คู่มือเรียนบาลีด้วยตนเอง ประยุกต์ด้วยวิธีแปลภาษาบาลีแบบสากล – หรือบางคนเรียกกันว่า เล่มเหลืองใหญ่ เล่มนี้เนื้อหาครอบคลุม คำอธิบายเยอะที่สุด มีตัวอย่างเยอะที่สุด แต่จัดลำดับเนื้อหาค่อนข้างแปลก เหมาะทั้งคนเริ่มต้นอ่านเอง และคนที่อยากจะทบทวนรายละเอียดต่างๆอีกครั้งก่อนสอบ

      2.บาลีไวยากรณ์ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส – หรือที่รู้จักกันดีว่า เล่มเล็ก 4 เล่ม หาซื้อค่อนข้างยาก และเป็นที่นิยม เป็นตำราภาษาบาลีฉบับแรกๆในไทย ข้อเสียคือภาษาค่อนข้างโบราณ อ่านยาก เข้าใจยาก ไม่มีคำอธิบายที่มาที่ไปทางภาษาศาสตร์ ข้อดีคือเนื้อหากระชับ มีตัวอย่างที่มักนำไปออกข้อสอบบ่อยๆ(โดยไม่พลิกแพลงเลย) ชุดนี้เหมาะสำหรับคนที่เรียนบาลีจบแล้ว หรืออ่านหนังสือเองเข้าใจหมดแล้ว ไม่เหมาะสำหรับคนเพิ่งเริ่มอ่าน

      3.หลักสูตรย่อบาลีไวยากรณ์ (โดย พระมหานิยม อุตฺตโม) – มักรู้จักกันในชื่อ เล่มเหลือง เล่มนี้มีข้อดีตรงที่มีตารางวิภัตติที่ดูง่าย แต่ข้อเสียคือมีจุดผิดพลาดหลายจุด ไม่กระชับ คำอธิบายหลายแห่งเวิ่นเว้อเกินไป หลายแห่งแทบจะคัดลอกบาลีไวยากรณ์ 4 เล่มฉบับสมเด็จฯมา ไม่มีคำอธิบายโดยใช้หลักภาษาศาสตร์ เน้นท่องจำเกินไป ไม่ใช่เล่มที่เราอ่านบ่อยนัก และไม่เหมาะสมหรับคนที่เพิ่งเริ่มศึกษาภาษาบาลีเอง

      4.อุภัยพากย์ปริวัตน์ ภาค1-2 พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส – เล่มนี้ไม่ใช่หนังสือคู่มือไวยากรณ์ แต่เป็นหนังสือแบบฝึกหัดเบื้องต้นสำหรับการฝึกแปลภาษาบาลี มีตั้งแต่การแปลประโยคสั้นๆไปจนถึงธรรมบทที่ตัดตอนมาให้แปล เล่มเฉลยจะเป็นเล่มสีชมพูเล็กๆ หน้าปกเป็นรูปพระพุทธเจ้า ราคาไม่แพง เรียนภาษาบาลีไม่ใช่ว่าเข้าใจไวยากรณ์อย่างเดียวแล้วจะได้คะแนนดี การฝึกแปลก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เราคุ้นเคยกับลักษณะประโยคภาษาบาลี เข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์และเห็นตัวอย่างของจริงมากขึ้น ได้คำศัพท์ใหม่เพิ่มขึ้น ฝึกการใช้ไวยากรณ์และคำศัพท์จริง

      5.ข้อสอบเก่า – ที่สำคัญไม่แพ้หนังสือก็คือข้อสอบเก่า เราใช้ข้อสอบเก่ามาฝึกทำ โดยเป็นข้อสอบตั้งแต่ปี 52 เป็นต้นมา เพื่อสังเกตลักษณะการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบและทดสอบความรู้ของตัวเอง เราจะปริ้นข้อสอบไว้ชุดละสองเซต เซตแรกไว้ตอนฝึกทำ อีกเซตเป็นเฉลย พร้อมคำอธิบายในข้อที่เราผิดหรือยังไม่รู้ ในการทำข้อสอบเก่าทุกครั้ง เราจะกลับไปดูว่าส่วนไหนที่เรายังพลาด ไม่เข้าใจ กลับไปทบทวนจุดนั้น อาจจะทำสรุปย่อไว้อ่านเองเพิ่มเติม แล้วไปทำข้อสอบฉบับอื่นๆต่อไป เราจะนับคะแนนแยกเป็น part เพื่อดูพัฒนาการของตัวเองเสมอ ทีี่สำคัญคือต้องตั้งคะแนนเป้าหมายไว้ในแต่ละครั้งที่ทำข้อสอบด้วย


       

      สำหรับช่องทางการซื้อหนังสือ หลักๆสามารถทำได้ 2 ช่องทางด้วยกัน

       

      1.ร้านเรืองปัญญา ท่าพระจันทร์ – ไปซื้อที่ร้านเรืองปัญญา ท่าพระจันทร์ ร้านอยู่ในซอยพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ฝั่งที่ติดกับวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ประตูร้านค่อนข้างเล็กและแคบ เป็นร้านที่น่ากลัวๆหน่อย สังเกตได้จากหน้าร้านมีตู้ขายเครื่องดื่มสีเขียวและมีแผงเช่าพระเครื่องเรียงราย

                 สามารถสั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ของร้านได้  มีช่องทางการติดต่อร้านอยู่                                   Email : [email protected]                                                                                                   Tel. : 02-221-8211 , 02-623-6230,089-223-9699,081-911-9376,086-792-4125

                 ธนาณัติสั่งจ่าย ปณ.หน้าพระลาน

       

                 2.ร้านมหาจุฬาบรรณาคาร - ร้านอยู่ใกล้ๆกับร้านเรืองปัญญา แต่ใหญ่กว่า สังเกตเห็นง่าย มีหนังสือที่ตีพิมพ์โดยมหามกุฎราชวิทยาลัยค่อนข้างมาก แต่หนังสือบางเล่มไม่มี มีที่ร้านเรืองปัญญาเท่านั้น แนะนำให้ไปดูที่ร้านเรืองปัญญาก่อนแล้วค่อยมาที่ร้านนี้


      ปัจจุบันหนังสือเหล่านี้เราเห็นว่ามีคนนำมาลงประกาศขายใน Twitter หรืออินเทอร์เน็ตค่อนข้างมาก ซึ่งขายในราคาสูงกว่าทั้งสองร้านที่เราได้บอกชื่อไป ถ้าใครสะดวก เราแนะนำให้ไปซื้อที่ร้านเองโดยตรง หรือจะสั่งทางเว็บไซต์กับร้านเรืองปัญญาดีกว่า ข้อสำคัญคือถ้าเราไปซื้อเอง เราจะได้เลือกหนังสือเอง เห็นเนื้อหาข้างในก่อนตัดสินใจ ซึ่งเราคิดว่าคุ้มค่ากับการเสียเวลาเดินทางมา

      EP. ต่อไป(ถ้าเรามีเวลาเขียนเพิ่ม) เราจะเล่าถึงเทคนิควิธีการต่างๆในการเรียนภาษาบาลีของเราเอง 










เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in