เรื่องราวของหญิงชายผู้กบฎต่อความไม่ยุติธรรมทั้งหลายที่เกิดในจังหวัดรัตนบุรี และค่าเรียกร้องของความยุติธรรม ความเสมอภาค ความเท่าเทียมนั้นเท่ากับการเปลี่ยนแปลงชีวิตของทั้งคู่จนแทบจะเหลือความเป็นคนอยู่ไม่ และค่าเรียกร้องเหล่านี้แพงขนาดไหน ก็ตอบได้โดยยาก
“ไม่ว่าที่ไหนๆ ต่างก็เรียกร้องความเสมอภาค
ความยุติธรรมในความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
แต่แล้วก็อดสร้างสังคมกีดกันแบ่งแยกไม่ได้
ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง
ค่าของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน”
สรุปเนื้อหาสำคัญ
ภวานีเป็นครูผู้รักในศักดิ์ศรี ความยุติธรรม และความเสมอภาคอย่างมาก ซึ่งความคิดของภวานีนั้นก็เหมือนความคิดที่อยู่ในอุดมคติ เพราะความจริงกลับไม่ได้เป็นอย่างเฉกเช่นนั้น เพราะชีวิตของภวานีนั้นเจอแต่คนที่ขี้โกง ไม่ว่า ลุงอำพันของเธอ ครูระตี ธีรรัตน์ และศิวะที่ทุกคนโกงได้โกงเอา โกงจนได้ดี โกงจนชีวิตร่ำรวย
ภาวนีเจอผู้ชายคนหนึ่งที่ชื่อว่า นักสิทธิ์ ผู้ชายคนนี้เป็นพวกเดียวกับเธอ เพราะผู้ชายคนนี้ต่อต้านคนคดโกงทั้งหมด แต่กลับกลายเป็นว่า “ชีวิตของนักสิทธิ์ต้องไปติดคุก หนีจากสังคมเมืองไปอยู่กะเหรี่ยง” แต่ด้วยความที่ทั้งภาวนีและนักสิทธิ์หัวอกเดียวกัน ทั้งคู่จึงปลูกต้นรักกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป
วันหนึ่ง งามชื่น ลูกศิษย์ของภาวนีโกหกพี่สาวที่ชื่องามพิศที่ทำงานเป็นโสเภณีว่า “ธีรรัตน์เป็นพ่อของเด็กในท้องของงามชื่น” แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะงามชื่นนั้นถูกศิวะข่มขืนจนตั้งครรภ์ และศิวะไม่ยอมรับ เมื่องามพิศรู้ความจริง งามพิศตัดสินใจฆ่าศิวะทิ้ง และชีวิตของงามพิศต้องเปลี่ยนไป เมื่อศาลนั้นกำลังจะดูไม่เข้าข้างเธอเสียแล้ว
ถึงแม้ว่า ศิวะตาย ครอบครัวของศิวะกลับยังทำหน้าที่คดโกงต่อไป ให้เหมือนกับการปลูกต้นไม้คดโกง ต้นไม้ความชั่วร้ายเอาไว้ใ้กับชนรุ่นหลังของชาวรัตนบุรีอย่างมาก และวันหนึ่ง เมืองแห่งนี้เป็นเมืองที่กำลังรอวันแตกร้าวสักวันหนึ่ง
“เรื่องราวทั้งหมดนั้นเป็นอกาลิโก
ทุกคนชอบความโก้มากแค่ไหน
ทุกคนยินยอมที่จะเป็นทาสคนชั่วไป
เพราะเขาให้ทุกอย่างที่ทุกคนได้”
ตัวละครแต่ละคน
ภาวนีเป็บุคคลที่อยู่ในอุดมคติ เพราะเธอเป็นคนดี และเธอตั้งใจที่จะเรียกร้องความยุติธรรมให้กับทุกคน แต่เมื่อเธอเป็นครู เธอพบปัญหามากมาย และพบคนคดโกงในโรงเรียนมากมาย และไม่เพียงเท่านั้น เธอยังพบว่า “ทุกคนในเมืองนี้เห็นเรื่องทับซ้อนผลประโยชน์เป็นเรื่องปรกติ”
นักสิทธิ์ ชายผู้ที่ยอมรับผิดแทนลูกน้องเรื่องการฉ้อฉล ฉ้อโกง โดยที่เขาไม่ใช่คนแบบนั้นเลย แต่เพราะความผิดในครั้งนี้ทำให้เขาต้องติดคุก และชีวิตเดินเข้าเดินออกกับคุกอยู่หลายครั้ง และนักสิทธิ์เป็นผู้ชายคนหนึ่งที่ต่อต้านสังคมการเมืองอย่างมาก
ศิวะ ผู้ชายที่คนรัตนบุรีเห็นว่าเขาเป็นคนดี และชาวบ้านเฝ้าแต่เทิดทูนเขา เพราะเขามอบเงินปิดปากคนเหล่านี้ เบื้องหลังแห่งความชั่วของศิวะนั้นก็คือมาเฟียดีๆนี่เองที่สร้างโรงอาบอบนวด โรงบ่อน คลับบาร์ และแหล่งอโคจรทั้งหลาย แต่ศิวะกลับกลายเป็นดั่งเทพเจ้าของคนเหล่านั้นที่บูชาเงินอย่างเดียว
งามพิศ หญิงโสเภณีที่ถูกหักค่าตัวอย่างไม่เป็นธรรม และชีวิตของเธอต้องมาพบกับความไม่ยุติธรรมอย่างน้องสาวที่ถูกศิวะข่มขืน ดังนั้น เธอตัดสินใจที่จะมอบความตายให้กับศิวะ และเธอรู้ว่า ชีวิตของเธอก็คงจะจบเฉกเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการตอบแทนสังคมนิยมเงินหรือนิยมวัตถุที่หรูหรานั้นเอง แต่เธอก็เลือกที่จะทำอยู่ดี เพราะเธอขอเป็นเพียงแค่เสี้ยวจันทร์ที่จะส่องแสงในหมู่ดาวให้รู้ว่า “ความยุติธรรมคืออะไร”
“ตัวละครบ่งบอกถึงชีวิต
และความคิดของทุกคนนั้นนักหนา
ความเป็นจริงที่ไม่เก่าเลยเวลา
คือความจริงหนาของประเทศไทยเอย”
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านยากมากนะ เพราะเราจะต้องทำความเข้าใจเนื้อหาของหนังสือ แต่หนังสือเล่มนี้กลับกลายเป็นหนังสือที่เรากลับนำมาอ่านอยู่หลายรอบ เพราะไม่ว่าอ่านกี่รอบ ก็จะได้ความรู้ในประวัติศาสตร์ไทยที่แตกต่างกันไป และเพราะงานเขียนเล่มนี้ ทำให้เราต้องศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยอย่างชัดเจนที่อาจารย์สีฟ้าอ้างถึงในยุคสมัยนั้นเอง
“เมืองแก้วคือเมืองที่ช่างเปราะบางยิ่งนัก
และรอวันที่จะแตกลงอย่างในไม่ช้านี่”
อาจารย์สีฟ้าเป็นอาจารย์อีกท่านที่ไม่เคยทำให้นักอ่านทุกคนผิดหวัง ถึงแม้อาจารย์จะเสียชีวิตไปแล้ว แต่งานเขียนของอาจารย์ยังเป็นงานเขียนที่ประทับอยู่ในใจเสมอ และไม่ว่า เราตั้งใจหยิบมาอ่านกี่ครั้ง เราพบว่า “มีความรู้สึกที่แตกต่างกันเสมอ”
อย่างเช่น การที่เราหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่าน เรากลับพบถึงประวัติศาสตร์ของไทยที่ซ้ำรอยเดิมแล้วรอยเดิมเล่า รอยภาพซ้ำๆของประวัติศาสตร์ไทย รอยร้าวแห่งความเจ็บปวดของบุคคลทั้งหลายผู้เรียกร้องซึ่งความยุติธรรม ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกัน ซึ่งเมื่อเราอ่านจบ เราพบว่า “สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องจริง หรือเรื่องหลอกลวงหรือไม่” ก็หาตอบได้ไหม เพราะหลายครั้ง เราก็เป็นคนเขียนประวัติศาสตร์ที่สร้างรอยจริงในความลวงนั้นเอง
LOOK A BREATHE
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in