หนังสือเรื่องเล่าเปิดตัวเชอร์ล็อก โฮล์มส์ว่า เขาคือใคร และทำไมถึงเป็นอาฆาตแค้นและนำสู่พยาบาท
“ความแค้นในครั้งนี้
เกิดจากที่อกนั้นปวดร้าว
ทั้งสามพากันหนีสุดอ่าว
สุดท้ายหนีจริงไม่ได้เลย”
เราไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้มาก่อน และนี่เป็นครั้งแรกที่อ่านของเชอร์ล็อก โฮมล์มส์และสนุกมาก ตื่นเต้นสุดกับทฤษฎีอนุมานของเฮียแกนี่ล่ะ และนักแปล แปลได้สนุกจนอ่านแล้ววางไม่ลงจริงๆ คือ อยากรู้มากว่า คนร้ายทำไปทำไม
หนังสือเล่มนี้มีหลักๆสองบทคือ บทแรกจะเปิดเผยถึงตัวฆาตกรและบทที่สองจะพูดถึงแรงจูงใจในการฆ่าว่า ฆ่าไปทำไม ซึ่งเรื่องราวนี้ผูกให้ดูไม่หลวมจนเกินไป และยังเสียดสีสังคมพวกนักตก (ผลงานคนอื่นไปหน้าตาเฉย) ได้อย่างเเสบสันน่าดู
“บางคนชอบทำตัวเป็นนักบุญ
แต่จริงๆนักบุญในคราบปีศาจชัดๆ
คนพวกนี้ ชอบอ้างว่า
นับถือศาสนา เป็นผู้สอนศาสนา
เป็นผู้นำสารและส่งสารบ้าง แต่จริงๆแล้ว คนเหล่านี้
ก็คือ นักบุญในคราบโจรดีๆนี่เอง”
การสืบของเด็กๆที่โฮล์มส์จ้างให้ไปสืบค้นดู
คุณหมอวัตสันย้ายเข้ามาอยู่ในอพาตเมนต์และเจอกับโฮล์มส์โดยบังเอิญ เพราะโฮล์มส์เป็นเพื่อนร่วมห้อง และทั้งคู่ก็ทำความรู้จักกัน และทำงานด้วยกันในคดีแรก ซึ่งคือ “คดีฆาตกรรมในบ้านร้าง” เมื่อทั้งสองมายังที่เกิดเห็น โฮล์มส์ก็บอกลักษณะของคนร้ายได้ทันทีจากการอนุมานของเขา
โฮล์มส์ได้ชวนเด็กไปตรวจสอบและเริ่มพบถึงความไม่ชอบมาพากลบางอย่าง และโฮล์มส์ตัดสินใจวางแผนประกาศหาเจ้าของแหวน ปรากฎว่า ฆาตกรปลอมเป็นหญิงชรามาเอา ก่อนหลอกให้โฮล์มส์กระโดดเกาะรถม้าไปและตัวฆาตกรหายเข้าไปในกลีบเมฆ ซึ่งระหว่างนั้นเอง ก็เกิดคดีฆาตกรรมอีกคดีหนึ่งขึ้น และโฮล์มส์ก็จับตัวฆาตกรได้
เมื่อเขาจับตัวฆาตกรได้แล้ว ก็กลับกลายเป็นว่า เขาไม่ได้หน้าแต่ด้วยประการใด เพราะมันจะมีไอ้พวกขี้ขโมยสองตัว กล้าหน้าด้านขโมยผลงานสืบสวน สอบสวนไปเป็นของตัวเองอย่างไม่สนใจ ส่วนโฮล์มส์ได้แต่หัวเราะกับการเอาหน้าของทั้งคู่
ส่วนตัวฆาตกรก็เล่าให้ฟังว่า ทำไปเพราะความแค้นที่มีต่อสองคนนี้ เพราะสองคนนี้วางแผนฆ่าพ่อบุญธรรมของหญิงผู้เป็นที่รักของเขา และบังคับหญิงอันเป็นที่รักแต่งงาน ก่อนจะปล่อยให้หญิงอันเป็นที่รักตายอย่างอนาจแบบไม่สนใจ ดังนั้น “แค้นนี้ต้องชำระ ถ้าไม่ชำระก็ไม่หายแค้น” เลยเป็นจุดหนึ่งของการที่ฆาตกรทิ้งร่องรอยของคำว่า “RACHE ที่แปลว่า แค้น” และเพื่อนๆก็คงเริ่มอยากรู้ว่า ฆาตกรเป็นใครใช่ไหมค่ะ เราขออุบไว้ค่ะ เพราะเราอยากให้เพื่อนๆไปติดตามในหนังสือกันต่อไปค่ะ
หนังสือหลังปกของเรื่องแค้นพยาบาท (A Study in Scarlet)
เราชอบเรื่องนี้ตรงบรรยากาศของยุโรปสมัยเก่า แต่เราแอบคิดว่า ทำไมฆาตกรถึงหละหลวมจัง อุตส่าห์เฝ้าวางแผนตั้งนาน ฆาตกรควรทำให้เป็นอุบัติเหตุจะดีกว่าไหม (เราอินไปไหม) และเรื่องราวในเล่มมันเน้นเรื่อง คนชั่วในคราบนักบุญที่ลอยนวลอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และเป็นที่นับหน้าถือตาของคนในสังคม เเละทำให้เราแปลกใจว่า “หนังสือเล่มนี้เขียนเมื่อร้อยกว่าปีก่อน จริงหรือเปล่านะ เพราะโลกของสังคมในอดีตไม่ต่างจากโลกของสังคมปัจจุบันเท่าไร”
“ความจริงของดีชั่วอยู่ที่
สามัญสำนึกและการกระทำ”
Look A Breathe
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in