รูปภาพนี้ หนังสือที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ
“จะล้มเลิกหรือพยายามต่อไป
ผู้ตัดสินใจ คือ เรา”
(หน้า ๓๔๖)
“บันทึกนี้ ชีวิต สโรชา
สนุกกว่า คือมอง มาด้วยใจ
เราเห็นว่า สุขไหน สุขของใคร
เพียงมองใหม่ มองโลก ให้สวยงาม”
เราดองหนังสือเล่มนี้ไว้ในกองนานมาก เพราะเราคิดว่า คงเป็นหนังสือแนวปรัชญาและชีวิตตามสไตล์ผีเสื้ออีก ซึ่งเรารู้สึกว่า พอสักที ช่วงนี้ ชีวิตเราอ่านพวกนักปราชญ์จนเอียนเลย
“หากเป็นนักปราชญ์
รอราษฎรกล่าวขาน
ไม่ต้องให้ใครมาไขลาน
ทำตามม่านเป็นปราชญ์อยู่ร่ำไป
ชีวิตจริงไม่ได้เป็นปราชญ์ไซร้
เป็นเพียงได้ลมปากตามพาที
ชีวิตเดินตามครรลองที่
คนกล่าวมีนั้นเป็นปราชญ์แค่วาจา”
รูปภาพนี้ แอบบี้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วสุขใจจัง
จนต้องเอียงคอด้วยความคิดที่ว่า
ทำไม ผมเป็นหมีที่เก่งขนาดนี้ (เกี่ยวไหมอะ)
แต่พอเราอ่าน เรื่องราวกลับไม่ใช่เป็นแบบนี้นี่นะ หนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกเรื่องราวของคุณพลอย สโรชา สนุก และดีกว่าที่คิด คือ เหมือนกับเราเดินเข้าไปในชีวิตของคุณสโรชาเลย
“ทุกคนพร้อมไหมที่จะบันทึก
เรื่องราวของตัวเองลงสมุดดูบ้าง”
รูปภาพนี้ บันทึกชีวิตประจำวัน
บันทึกเล่มนี้เป็นการบันทึกเรื่องราวของคุณพลอยว่า แต่ละวันเรียนอะไรบ้าง เจอเหตุการณ์อะไร ใช้ชีวิตแบบไหน ในแต่ละวัน และเธอมีความรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้น เธอพยายามแค่ไหนในการทำสิ่งเหล่านั้นให้สำเร็จ อย่างเช่น เธอพยายามที่เลิกเขียนคำว่า “แบบ” เพราะครูสอนเธอในขณะที่เธอฝึกหัดเป็นบรรณาธิการ เป็นต้น
เมื่อเราอ่านจบในบันทึกของแต่ละวัน จะมีประโยคที่จบท้ายบันทึกในแต่ละวัน ซึ่งเป็นข้อคิดที่ได้รับในแต่ละวันว่า คุณพลอยได้ข้อคิดอะไรจากเหตุการณ์เหล่านี้ นั้นก็คือ ประโยคคิดเอง อย่างเช่น ความผิดไม่อาจแก้ไขด้วยการกล่าวโทษ (หน้า ๓๐๗) เป็นต้น
และหลังจากประโยคคิดเอง เป็นถ้อยคำไม่เข้าท่า ที่คุณสโรชาคิดว่า คนเราไม่น่าทำเรื่องพวกนี้เลย หรือไม่น่าคิดอะไรแบบนี้เลย อย่างเช่น ฉันมันไร้ค่า (หน้า ๒๙๓) เพราะทุกคนถ้ามัวแต่โทษตัวเองว่า ไร้ค่า แล้วมันจะมีประโยชน์อะไร ก็มีแต่เราทุกข์ใจตัวเองเท่านั้น
รูปภาพนี้ ดอกไม้ที่ค่อยๆโผล่ขึ้นมา
และสุดท้ายก็จะปิดเรื่องราวบันทึกของคุณสโรชา แต่สำหรับเรากลับคิดว่า แค่เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตเท่านั้น เพราะชีวิตของคุณสโรชาคงจะดำเนินต่อไปในความสวยงามและมองโลกตามความจริงอีกต่อไป
เกร็ดเล็กผสมน้อย
รูปภาพนี้ หลายทางในสุขเดียว
ทุกเหตุการณ์พิสูจน์การมองโลกในแง่ดีและการมองโลกตามความเป็นจริงของคุณสโรชาว่า ถึงแม้น้องเขามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น น้องเขาค่อยๆคิดและแก้ไขปัญหาให้ได้
น้องเขาไม่ได้บอกนะว่า ทางแก้ไขปัญหาของน้องเขาถูกต้องหรือได้ผลดีมากจริงๆหรือเปล่า แต่สำหรับคนอ่านอย่างเรา ทางแก้ไขดีสุดในวันนั้นและเวลานั้นล่ะ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทำให้เราคิดได้ด้วยว่า เราควรต้องนำทางเหล่านี้ไปปรับใช้กับความคิดเรา
รูปภาพนี้ หลังปกหนังสือจนกว่าเด็กปิดตาจะโต
“จงฟังหัวใจตัวเอง และพบทางออกที่ดีสุด”
Look A Breathe
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in