“เมื่อเราเปิดใบนี้
จะพบมิตรที่ดีอยู่เคียงข้าง”
รูปภาพนี้ เมื่อเราจับเซียมซีได้เบอร์ที่ ๗
“มิตรที่ดี ไม่ไป จากใจไหน
ไปจากใคร ไม่ใช่ มิตรดีนี้
มิตรที่ดี คือมิตร รักตัวที่
รักตัวนี้ เป็นตัว ตนเราเอง”
รูปภาพนี้ หนังสือเล่มแรกที่ชื่อหมายโสบ้านยูตะคุงที่ได้รางวัลโคดันฉะ
(เป็นหนังสือนานแล้วค่ะ เราจำได้คร่าวๆว่า เป็นเรื่องราวมิตรภาพของเด็กชายนามยูตะกับคุณหมาที่หน้าตาดูเหมือนหาเรื่อง แต่จริงๆแฝงไปด้วยความน่ารัก โดยฉายว่า แต่ละวัน เจ้าหมาทำอะไรให้คนในครอบครัวนี้หลงรักบ้าง บางทีหน้าตาแบบนี้ของผม แต่เต็มไปด้วยความรักและซื่อสัตย์ที่ผมมอบให้ครับ)
เราเคยอยากได้หนังสือเล่มนี้มานานแล้ว แต่ตามหาเท่าไหร่ก็ไม่ได้มาสักที เพราะเราเคยแอบชื่นชอบนักเขียนท่านนี้ โดยที่เริ่มต้นอ่านภาษาญี่ปุ่นจากหนังสือชื่อดังเล่มแรกของเขา และเมื่อรู้ว่า มีผลงานแปลไทยของเขาในเล่มอื่นก็อยากได้ แต่อย่างที่กล่าวข้างต้น คือ หาซื้อไม่ได้
รูปภาพนี้ คุณโยโกะคือนักเขียนในดวงใจอีกท่านหนึ่ง
และเมื่อวันหนึ่งเราหาซื้อได้จากดวงกมลสมัย เราก็แอบดีใจมาก เราแอบคิดว่า ถ้าดวงกมลสมัยมีหนังสือเล่มอื่นของท่านนี้ เราคงขอเหมามาทุกเล่ม เพราะหนังสือของนักเขียนท่านนี้ทั้งสอนภาษาและยังมีอีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือ
“หนังสือที่ดีคือมีเนื้อหาข้างในที่ดี
ที่ต่อยอดความดีของเราได้”
และอย่างที่บอกว่า เล่มนี้ไม่ผิดหวังเลย แถมอ่านไปก็ขบขันไปกับความคิด คำพูด และข้อคิดที่ได้รับจากหนังสือเล่มนี้อยู่มากมาย โดยเมื่อเราเริ่มต้นอ่านตั้งแต่บรรทัดแรกถึงบรรทัดสุดท้ายก็จะพบว่า เจ้าโพจิสอนให้รักตัวเองอย่างถูก
รูปภาพนี้ ส่วนหนึ่งของหนังสือที่เป็นเจ้ายูตะ
“อยากอยู่ตรงไหนก็อยู่ได้”
(すきなところに すもう。)
บ้านหมา
การใช้ชีวิตของหมาเป็นการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและเน้นความเป็นตัวเองคือ อิสรภาพเสรีทั้งการเป็นอยู่และการดำรงอยู่ รวมถึงอิสรภาพทางใจ อย่างเช่น บ้านของหมาก็ไม่มีที่ๆบอกแน่นอน เพราะหมาสามารถอยู่ตรงไหนก็ได้
ครอบครัวของหมานั้น เต็มไปด้วยแต่คนสุดวิเศษ ไม่ว่าแม่หมาที่เป็นแชมป์กระดิกหางและพ่อหมาที่เป็นแชมป์กินเร็ว และยังมีคุณปู่ย่าตายายและคุณทวดที่เป็นแชมป์หลากหลาย ถึงแม้ท่านไม่ได้เป็นแชมป์ แต่ท่านก็ยังคือคนที่ทำให้หมาภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาในครอบครัวนี้
รูปภาพนี้ ภาพจากหนังสือเล่มแรกที่อ่านอย่างเรื่องหมายโสของยูตะคุง
อาหารการกินของหมานั้นก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่หมารู้รสนิยมของตัวเองและไม่ตามใจคนก็เปรียบเหมือนคนที่ไม่ต้องทำตามกัน เพราะอาหารก็เป็นดั่งชีวิตที่มีทั้งชอบและไม่ชอบ ขึ้นอยู่กับรสนิยมของตัวเองทั้งนั้น
“อย่าตามใจคน
จงรักษารสนิยมของตัวเอง”
(人まかせに しないこと
じぶんの このみを だいじに しよう。)
อาหาร
ส่วนภาษาที่แสดงออกถึงความใส่ใจ ไม่ว่าภาษากายหรือภาษาไทยก็ล้วนมาจากใจและหวังดีทั้งนั้น ไม่อยากให้คนที่อยู่กับโพจิทุกข์ใจและไม่ทำลายความเป็นตัวของหมาอย่างโพจิด้วย
รูปภาพนี้ ภาพหน้าปกของเล่มนี้ (ภาคญี่ปุ่น)
หมาสามารถแสดงออกถึงความชอบและความไม่ชอบจากใจที่แท้จริง และรู้จักซ่อนความลับหรือความรู้สึกไม่ชอบใจไว้ เพื่อไม่แสดงออกมาให้คนรำคาญใจ เฉกเช่นเดียวกับคนก็ต้องซ่อนความลับเอาไว้บ้าง
หมาสนุกกับความเป็นตัวเอง สังเกตสิ่งรอบข้างจากความเป็นจริง โดยไม่ตัดสินไปก่อน แต่ใช้ใจและความถูกต้องในการตัดสินทุกอย่าง เพราะหมารู้จักคุณค่าในตัวของหมาเองว่า หมามีคุณค่าที่สุด ไม่ต้องให้ใครมาตัดสินความเป็นหมา
“ของมีค่าที่สุดคือหมาคือตัวเอง”
(いちばんの たからものは
いぬである じぶんだ。)
ของมีค่า
รูปภาพนี้ ภาพมิตรภาพของคนกับหมา
“พออ่านไปเรื่อยๆจะขบขันขึ้นเรื่อยๆกับความคิดใสซื่อของเจ้าโพจิ และความใจกว้างของเจ้าโพจิ ก็คือ หมาน้อยในเรื่อง เจ้าหมาจะมีนิสัยที่ใจกว้าง รู้จักแบ่งปัน แถมเมตตาต่อมิตร และไม่คิดว่าใครเป็นศัตรู จึงมีเพื่อนที่รักมากมาย
และเจ้าหมายังเข้าใจความเป็นตัวเอง ไม่ฝืน ไม่ทนที่จะแบกของหนักพาไป และรู้ว่า ร่างกายตัวเองเหมาะกับการใช้ข้าวของแบบไหน ซึ่งเปรียบเหมือนคนที่ควรรู้ว่าเราเหมาะกับแบบใด
อีกครั้งกับเจ้าหมาที่ไม่ไปเกะกะที่ๆของใครและไม่ไประรานใคร เพราะเจ้าหมาทำที่ของตัวเอง และก็ยังรู้จักที่จะแบ่งปัน นำของมาให้ ไม่ทำตัวเป็นภาระ เวลาเดินผ่านที่ของคนอื่น”
รูปภาพนี้ ภาพหนังสือเล่มอื่นที่แปลไทยของคุณโยโกะ
“หมาไม่เห่าเปล่าประโยชน์
อย่าหยุดเห่าจนกว่าคนจะเข้าใจ”
(いぬに むだぼえなど なに。
わかってもらえるまで いいつづ けること。)
เห่าเปล่าประโยชน์
หมาจะเห่า (わん) เพื่อบ่งบอกความจริงเพียงหนึ่งเดียว ว่า เจ้าหมานั้นต้องการอะไร หมาไม่อยากปิดบังความรู้สึก เพราะอยากให้รู้ว่า เป็นห่วงถึงเห่า และหมาแก่ไม่จำเป็นต้องเป็นหมาประประเสริฐ แต่หมาประเสริฐทุกตัวต้องแก่
ทุกคนสามารถเป็นหมาได้ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง แต่เราควรเลือกที่จะเป็นหมาประเสริฐดีกว่าเป็นหมาที่แม้กระทั่งตัวเองยังไม่เห็นคุณค่า เพราะทำแต่เรื่องไม่ดีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“ความเป็นหมาที่ดีนั้นประเสริฐสุด
เปรียบหากเป็นมนุษย์ก็ควรทำตัวให้ประเสริฐ
สมดั่งการไปแย่งเขาเกิดมายังยากเย็น
และอย่าให้หมาด่าได้ว่า ชิงหมาเกิด”
Look A Breathe
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in