ชื่อหนังสือ: ไม้กางเขนบนเส้นทางบาป
ชื่อผู้เขียน: ฮิงาชิโนะ เคโงะ
สำนักพิมพ์: JCLASS
ครั้งที่พิมพ์: พิมพ์ครั้งที่ 1
จำนวนหน้า: 315 หน้า
ราคา: 320 บาท
รูปภาพนี้ ห้องประหารนักโทษของคนญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีกฎหมายเคร่งครัดอย่างมาก ดังนั้น โทษของการประหารชีวิตยังมีอยู่ ถึงแม้หลายประเทศพยายามรณรงค์ให้ลดเหลือศูนย์ เพื่อจะให้โอกาสแก่ผู้กระทำความผิดก็ตาม และอย่างเช่นในปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีการประหารชีวิตนักโทษแบบแขวนคอไปถึงสามคน
รูปภาพนี้ การประหารชีวิตจำลองแบบแขวนคอของญี่ปุ่น
(ส่วนประเทศไทยเป็นแบบฉีดยาตาย)
ทุกคนเคยคิดไหมว่า หลังจากที่นักโทษเหล่านี้ที่ทำร้ายเหยื่อไปแล้ว และได้ถูกตัดสินโทษประหารชีวิต (ซึ่งเป็นโทษที่สมควรได้รับ) ผู้เสียหายหรือผู้เจ็บปวดที่เหลืออยู่เหล่านี้จะมีความรู้สึกอย่างไร พวกเขาเหล่านี้ยังได้รับการเยียวยาจิตใจ พวกคนเหล่านั้นยังสบายใจอยู่ไหม หรือจริงๆแล้วเป็นเพียงแค่ความว่างเปล่าเท่านั้น
รูปภาพนี้ การประหารชีวิตของไทย (สมัยก่อน)
ชีวิตของนากาฮาระและซาโยโกะได้เปลี่ยนไป เมื่อลูกของตัวเองถูกคนร้ายฆ่า และทั้งคู่ได้ตั้งใจสู้คดี จนกระทั่ง คนร้ายถูกตัดสินโทษประหารชีวิต ถึงแม้ว่า คนร้ายจะโดนโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ความรู้สึกของทั้งสองไม่เหมือนเดิมแล้ว เพราะทั้งสองคนไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้ในฐานะสามีภรรยาอีกต่อไป เพราะความรู้สึกของการเยียวยาที่แท้จริงไม่ได้รับ เหลือแต่เพียงความเจ็บปวดที่ไม่ถูกบรรเทาและความว่างเปล่าหลังจากนักโทษถูกโทษประหาร ดังนั้น ทั้งสองคนตัดสินใจหย่ากันในที่สุด
รูปภาพนี้ ไม้กางเขน
นากาฮาระได้ไปรับกิจการของลุงตัวเองที่ทำบริษัทเกี่ยวกับรับจ้างทำพิธีศพของสัตว์เลี้ยง นากาฮาระคิดว่า การที่ทำงานแบบนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในการเยียวยาจิตใจของเขา เพื่อไม่ให้เขาสนใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเมื่อเวลา 5 ปีผ่านไปจากวันนั้น ซาโยโกะถูกฆ่าตาย และคนร้ายก็มาสารภาพผิด ทุกอย่างดูเหมือนจะลงตัว แต่มันกลับมีบางอย่างที่ดูจะลงตัวมากเกินไป
รูปภาพนี้ การประหารชีวิตในแบบอื่นๆ
(การประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยติน)
นากาฮาระเลยกลับมาหาครอบครัวอดีตภรรยาและพบว่า ทั้งพ่อแม่ของซาโยโกะอยากให้คนร้ายถูกโทษประหารชีวิต ซึ่งเขามีความคิดเช่นเดียวกัน และวันนั้นเอง วันที่ไม่น่ามีอะไร วันที่เขาเริ่มที่จะตรวจสอบความตายของอดีตภรรยา จากเรื่องราวราวที่ดูง่ายดายสู่ความลับมืดมิดที่ซ่อนเร้นในใจมนุษย์ได้ถูกเปิดเผย
รูปภาพนี้ หนังสือรูปแบบญี่ปุ่น
นากาฮาระไม่เคยรู้มาก่อนว่า อดีตภรรยาของเขาไม่สามารถทำใจเรื่องเกี่ยวกับโทษประหารและความตายของลูกได้ ซึ่งเขาก็ลืมไม่ได้เช่นกัน แต่พยายามทำใจไม่ให้จดจำคิดถึง ดังนั้น เธอเลยเป็นคนรณรงค์เรื่องประหารชีวิตและไม่เพียงเท่านั้น เธอยังเป็นนักเขียนเกี่ยวกับโทษประหารชีวิต เธอได้กลับไปคุยกับทนายที่ช่วยเหลือคนร้ายที่ฆ่าลูกของเธอ และพบว่า ทนายความพูดว่า "โทษประหารชีวิตคือความว่างเปล่า" ถึงแม้คำตอบคือ "ใช่ มันจะว่างเปล่าหรือไม่ เธอไม่รู้ แต่เธอรู้เพียงว่า เธอจะห้ามให้พวกคนชั่วกลับมาทำชั่วได้อีก ถ้าไม่มอบความตายให้พวกมันเหล่านั้น" เพราะถ้าเธอยังไม่ทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบาปให้กับคนพวกนี้ คนพวกนี้สามารถกลับมาฆ่าคนได้อีกต่อไป
รูปภาพนี้ พระเยซูอยู่ที่ไม้กางเขน
และเพราะเรื่องนี้เอง ซาโยโกะเลยไปพัวพันกับคดีหนึ่ง เมื่อยี่สิบเอ็ดปีก่อน ที่ฟูมิยะและซาโอริได้กระทำการฆ่าลูกตัวเองตาย ดังนั้น เธอขอร้องให้ซาโอริไปมอบตัว และเธอมาบอกกับฮานาเอะภรรยาของฟูมิยะ ให้เธอบอกฟูมิยะไปมอบตัว แต่เมื่อพ่อของฮานาเอะมาได้ยินเข้าก็เลยจัดการฆ่าซาโยโกะทิ้ง และฟูมิยะตัดสินใจเรียกให้ซาโอริมอบตัวกับตำรวจในที่สุด
“ความผิดใดที่น่ากลัวนั้นก็คือ
รู้อยู่ชื่อว่าชั่วอยู่แค่ไหน
ไม่มีใครหนีพ้นความผิดใด
ที่ตัวได้ก่อมันขึ้นมาเอง”
จากเรื่องราวในครั้งนี้ ทุกคนจะเห็นว่า ชีวิตของซาโอริตกต่ำลงเรื่อยๆจากการชดใช้กรรมในสิ่งที่ตัวเองทำ ตัวเองแต่งงานก็ถูกสามีทำร้ายจนเกือบตาย ตัวเองต้องไปขายบริการและพ่อก็มาเสียชีวิตเพราะถูกไฟคลอกอีก
ส่วนฟูมิยะ ชีวิตเหมือนจะดี เพราะทั้งเป็นหมอกุมารแพทย์ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ชื่อดังที่มีแต่คนเคารพนับถือ ภายหน้าฉากดูเป็นคนดี ทำเพื่อเด็กและสังคม แต่ภายในกลับเต็มไปด้วยความรู้สึกผิดอย่างหาที่สุดไม่ได้ แต่ตัวเองก็ต้องทนทุกข์กับการเลี้ยงเด็กที่ไม่ใช่ลูก (เพราะไปช่วยภรรยาปัจจุบันของตัวเองจากการเกือบฆ่าลูกตัวเอง) กับการทำทุกอย่าง เพื่อจะผ่อนโทษในใจจากหนักให้เป็นเบา
แต่ถ้าถามความเป็นจริงว่า ไม่มีครั้งไหนเลยที่ชีวิตของทั้งสองคนจะมีความสุขหรือกลับมาแบบเดิมได้อีกต่อไปแล้ว เพียงแค่ความผิดพลาดที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควร ที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อหนึ่งชีวิต ดังนั้น การกระทำนั้นเลยนำมาซึ่งการฆ่าเด็กที่คลอดออกมาและกดเด็กให้ตายด้วยน้ำมือของเด็กที่บอกว่า คือ พ่อกับแม่ของเด็กนั้นเอง
ซึ่งอย่างที่ซาโยโกะกล่าวกับซาโอริว่า "เราจะเป็นคนตัดสินชีวิตของคนหนึ่งคนว่า ควรตายหรือไม่ตายได้ยังไง ในเมื่อเรายังไม่ถามความสมัครใจของเขา และสิ่งที่คุณทำก็ไม่ต่างจากอาชญกร ถ้าคุณไม่มอบตัว ความผิดนี้ก็จะไม่ได้รับการเยียวยาอย่างถูกต้อง"
มันเจ็บปวด รวดร้าว ไม่มีสิ่งใดจะสามารถเยียวยาบาดแผลความเจ็บปวดเหล่านี้ได้เลย เพราะความจริงของความทุกข์คือสิ่งที่มันกัดกร่อนอยู่ในใจของทั้งสองคนอยู่ทุกวันก็เหมือนกับการแบกไม้กางเขนที่คิดว่าจะไถ่บาปตัวเองไว้บนไหล่ของตัวเองก็เท่านั้น เพราะคือการแบกของหนักพาไป และไม่เพียงเท่านั้น ไม้กางเขนนี้ก็คือ ไม้กางเขนกลลวงเท่านั้น
เมื่อเราอ่านเรื่องนี้จบ มันทำให้เราหนักใจและหันกลับมาคิดถึงความรู้สึกหลายๆอย่างว่า คนที่ทำผิด ย่อมรู้ว่าตัวเองทำผิดอยู่วันยังค่ำ เหมือนกับการที่เรากินอาหารบูดเน่า เราเท่านั้นก็เป็นผู้รู้ตัวว่า เรากำลังกินอาหารบูดเน่า อาหารบูดเน่าเปรียบเหมือนความผิดที่เราทำ ถึงแม้จะผ่านกระเพาะเราลงไปแล้วก็ตาม หรือความผิดนั้นผ่านไปนานจนตลอดชีวิตก็ไม่สามารถได้รับการเยียวยา ถ้าจิตใจของเรายังไม่ถูกปลดปล่อย ทุกคนย่อมได้รับการชดใช้กรรมในความผิดของตัวเองเสมอ ดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างคงเป็นไปตามคำพูดของพระพุทธเจ้าที่กล่าวว่า
“เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เพราะเมื่อไรที่เรายังจองเวรกันอยู่
คงไม่พบกับความสงบในไม่ช้า
และสุดท้ายชีวิตของเรา
ก็คงไม่ต่างจากตกนรกในใจทั้งเป็น
ไม่เพียงเท่านั้น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
นั้นคงยังมีอยู่อย่างแท้จริง”
Look A Breathe
(Read A Book)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in