โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรค NCDs คือ กลุ่มของโรคหรือภาวะทางสุขภาพที่ไม่ติดต่อ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคความดันหิตสูง โรคอ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเรง เป็นต้น โดยสิ่งที่ทำให้เกิด โรค NCDs ล้วนมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม จนเกิดการสะสมเรื้อรังไปนาน ๆ ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปดูว่า พฤติกรรมในบ้างเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs เพื่อสำรวจตัวเองก่อนสายเกินไป หากพร้อมแล้วไปดูกัน
จากการวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารรสจัด ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการบริโภคโซเดียมมากเกินไป รวมไปถึงการรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารจำพวกแป้ง ของมัน และของทอด หากตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือภาวะไขมันในเลือดสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ จากกลุ่มโรค NCDs
อีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค NCDs คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากรายงานพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ที่มีพฤติกรรมชอบดื่มสุรามากถึง 3 ล้านคนต่อปี ยิ่งไปกว่านั้นหากสูบบุหรี่เป็นประจำ รวมไปถึงผู้ที่ใกล้ชิดกับควันบุหรี่ จะยิ่งเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs นอกจากนี้ การไม่ออกกำลังกาย ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงทางเมตาบอลิซึมในร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่ได้ถูกเคลื่อนไหวเท่าที่ควร จึงนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็ง
รู้เท่าทัน! ปรับพฤติกรรม ห่างไกล โรค NCDs
ปัจจัยสุดท้ายที่เป็นบ่อเกิดของโรค NCDs คือ ภาวะความเครียด ทั้งจากการใช้ชีวิต และจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถจัดการกับความเครียดเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ องค์ประกอบโดยรวมของสภาพแวดล้อม ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการรักษาสุขภาพของคนในชุมชนก็เสี่ยงต่อการเป็นโรค NCDs เช่นกัน
โดยสาเหตุ และพฤติกรรมเหล่านี้ หลายคนเรียกว่าเป็นโรคที่เราสร้างขึ้นมาเอง เพราะโรค NCDs คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน ซึ่งจะมีการสะสมอาการอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จนเกิดเป็นผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
ขอบคุณข้อมูลจาก https://hillkoff.com/
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in