เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
WorkHaisy_WM
อิทธิพลในแง่บวกของการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร
  • การปรับเปลี่ยนองค์กร ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานในระดับไหน หรือแม้กระทั่งตัวผู้บริหารเองอาจจะรู้สึกสั่นไหวกับคำนี้ได้ หลายๆองค์กรมักจะทำงานตามระบบเดิมเพราะไม่มีใครกล้าเสี่ยงที่จะปรับเปลี่ยนอะไร และยิ่งในมุมมองของพนักงาน พนักงานหลายๆคนก็ต้องการที่จะทำงานร่วมกับองค์กรที่จะทำให้พวกเขารู้สึกถึงความมั่นคงทั้งทางการเงินและจิตใจ เพราะฉะนั้นหากองค์กรไหนเริ่มมีการประกาศถึงการปรับเปลี่ยนระบบองค์กร พนักงานหลายๆคนก็จะเริ่มรู้สึกไม่มั่นคงโดยทันที อาจจะคิดว่าตัวเองจะถูกไล่ออกหรืือเปล่า อาจจะคิดว่าตัวเองจะถูกโยกย้ายไปไหนไกลหรือเปล่า หรืออาจจะคิดว่าตอนนี้บริษัทกำลังมีปัญหาอะไรหรือเปล่า มันทำให้พวกเขารู้สึกถึงความไม่มั่นคง และนั่นอาจจะทำให้พวกเขาเริ่มคิดที่จะลาออกและหางานใหม่ทำ แทนที่จะเสี่ยงไปกับบริษัทด้วยความรู้สึกที่ไม่มั่นคงต่อไป



    หลายๆบริษัทที่เริ่มอยากจะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงระบบองค์กรใหม่อาจจะต้องเคยได้ยินหรือได้อ่านเกี่ยวกับวิจัยการเปลี่ยนสมาชิกทีมงานหน้าใหม่ และหน้าเก่า ของ Doctor Who เพราะการวิจัยนี้มันแสดงให้เห็นว่าการที่ปรับเปลี่ยนพนักงานหรือสมาชิกในทีมช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มิหนำซ้ำยังช่วยให้ผลงานออกมาได้ดีขึ้นกว่าผลงานของทีมที่มีแต่สมาชิกหน้าเดิมๆทำงานอยู่ด้วยกัน 


    การที่ผลงานของสมาชิกทีมที่มีหน้าเดิมๆออกมาได้ไม่ค่อยดีหรือมีประสิทธิภาพที่ดีนัก เป็นเพราะว่าการที่คนเราอยู่ด้วยกันไปนานๆ มันจะเริ่มมีนิสัย มุมมอง และความคิดคล้ายคลึงกัน และความคล้ายคลึงกันที่ว่านี้มันจะทำให้สมาชิกในทีมไม่เห็นถึงปัญหาหรือช่องโหว่ของผลงานได้ และยังไม่มีความคิดใหม่ๆหรือที่แตกต่างกันออกไปเวลาปรึกษาหารือกันถึงงาน เพราะฉะนั้นถึงมันจะเสี่ยงที่จะปรับเปลี่ยนสมาชิกทีมงานแต่ก็มันก็เป็นเรื่องจำเป็นหากคำนึงถึงผลลัพธ์ในอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้า การที่จะทำการปรับเปลี่ยนระบบองค์กรใหม่ ควรจะให้พนักงานเข้าใจและเรียนรู้ความสำคัญของมันเสียก่อน


    ความสำคัญของการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร

    โครงสร้างองค์กรหรือการออกแบบองค์กรคือสิ่งสำคัญอย่างมากที่จะการันตีความประสบความสำเร็จและประสิทธิภาพของตัวองค์กรเอง ฟังก์ชั่นที่สามารถสื่อถึงความสำคัญของโครงสร้างองค์กรคือการออกแบบองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการมอบหมายงานและการจัดการให้กับพนักงานต่างๆตามโครงสร้าง หนึ่งในเหตุผลที่องค์กรล้มเล้วเกิดจากการที่บริษัทต่างๆไม่ได้เลือกโครงสร้างที่เหมาะสมกับบริษัทของตนเอง และนั่นก็ทำให้ผลงานของพนักงานและการจัดการความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายออกมาได้ไม่ดี เพราะงั้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรถึงเป็นส่วนสำคัญของความประสบความสำเร็จในองค์กรนั้นๆ


    การปรับเปลี่ยนระบบองค์กรมันค่อนข้างน่ากลัวและเสี่ยงเป็นอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นการกระทำที่ว่านี้ก็มีประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก บทความนี้จะยกตัวอย่างจากการศึกษาของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของบริษัทที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าที่ดังระดับโลก ได้แก่ General Electric Company (GE)


    General Electric (GE) 

    เป็นบริษัทของอเมริกาที่มีเครือใน New York และมีศูนย์ประจำการตั้งอยู่ที่ Boston ตั้งแต่ปีค.ศ 2018 เป็นต้นไป บริษัทนี้ได้ครอบคลุมถึงหน่วยงานต่อไปนี้: สายการบิน เฮลท์แคร์ พลังงาน พลังงานหมุนเวียน อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการผลิตแบบเติมเนื้อ และ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน


    กว่าที่บริษัทนี้จะประสบความสำเร็จได้มากขนาดนี้ก็ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย ถึง 5 ครั้ง และทุกๆครั้งของการเปลี่ยนแปลงก็มีผลลัพธ์ในแง่บวกขึ้นเรื่อยๆ บทความนี้จะยกตัวอย่าง 2 ยุคสมัยแรกของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร



    ยุคสมัยแรก ก่อนปี ค.ศ. 1953 โครงสร้างแบบ Centralized Management (การรวมศูนย์อำนาจ): Centralized Management คือการบริหารบุคคลในรูปแบบการรวมศูนย์อำนาจ ที่จะเป็นการรวมอำนาจบริหารไว้ที่ส่วนกลาง โดยการบริหารแบบ Centralized หรือ Centralization จะมีผู้บริหารที่มีอำนาจสูงสุดหรือกลุ่มผู้บริหารมีอำนาจสูงสุด คอยควบคุมหรือตัดสินใจในการกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานขององค์กร ยุคสมัยนี้ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปยังรูปแบบ Decentralized Management (การลดความเป็นอำนาจจากศูนย์กลาง) ในปี ค.ศ. 1953 - 1970 เพราะว่าการบริหารแบบนี้มันไม่เหมาะกับยุคสมัยนั้นอีกต่อไป และช่วยในการลดความเสี่ยงของพนักงานที่มีมากเกินไป ผลลัพธ์ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบครั้งนี้คือ สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงานผ่อนคลายมากขึ้น และมีความเป็นกันเองมากขึ้น มีวัฒนธรรมที่ทุกคนต่างกล้าสื่อสารและแสดงออกความคิดเห็นกันมากขึ้น จึงทำให้ทุกคนสามารถแชร์ความคิดสร้างสรรค์และทำให้ผลลัพธ์ของงานออกมาได้อย่างดีขึ้น 


    ตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนทีมงานของละคร Doctor Who และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของบริษัท GE เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนการทำงานมีประโยชน์และให้คุณต่อองค์กรอย่างไรถึงแม้ว่าการกระทำแบบนั้นจะเสี่ยงและสามารถทำให้พนักงานและคนในองค์กรรู้สึกถึงความไม่มั่นคงต่อบริษัทหรือองค์กร ถึึงมันจะเสี่ยงอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าทั้งทีมงาน Doctor Who ไม่มีการปรับเปลี่ยนทีมงานเลย หรือแม้กระทั่งบริษัท GE ไม่ยอมปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเลย พวกเขาก็คงจะไม่มีชื่อเสียงและยังยืนอยู่ได้ในปัจจุบันนี้ 


    อ้างอิงจาก: 



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in