มาเข้าภายในหนังสือกันดีกว่า
เปิดมาหน้าคำนำก็เจอของดีเลยจ้า
เราอ่านปุ๊บแล้วรู้สึกว่า เห้ย ทำไมเขาทำแบบนั้น เป็นเพราะอะไร หรือเพราะเราปลูกฝังเรื่องนี้กันมากจนเกินไป มากจนเกินพอดี ทำให้คนเราขาดสติยั้งคิด แล้วเรื่องร้ายต่างๆ นานาต่อประเทศอื่นได้หรือ (ถึงแม้จะเป็นที่ไหนก็ไม่ควรใช่มั้ยล่ะ)
เราคิดว่า สังคมไทยให้ความสำคัญกับเรื่องที่พม่ามารุกรานอยุธยาตอนนั้นมากเกินไป มากเกินกว่าที่คนในสังคมบางคนสามารถแยกแยะว่านั่นเป็นเรื่องในอดีต ที่เขาอยู่เป็นเรื่องปัจจุบันไม่ได้ orz
ภายในเล่ม ผู้เขียนก็จะเล่าเรื่องราวของทางฝั่งพม่า ไทย ลาว ควบคู่กันไป เช่น
เรื่องของพระเทพกษัตรีย์
- ฉบับไทย: ส่งไปให้ล้านช้าง แต่ถูกพม่าดักชิงตัวไปหงสาวดี
- ฉบับลาว: ส่งไปให้ล้านช้าง พระไชยเชษฐารับพระนางไปหนองหาน ไม่มีการชิงตัวไป
- ฉบับพม่า: มหาอุปราชในรัชกาลบุเรงนองตั้งค่ายอยู่เชียงใหม่เพื่อล่า 2 พระยาจากกรณีกบฏเชียงใหม่หลบหนีเข้าล้านช้าง ยึดล้านช้างได้ ไม่พบพระไชยเชษฐา
จะเห็นว่าบันทึกฉบับของไทยมีแต่เหตุการณ์ ไม่มีเหตุผล ไร้หลักการและหลักฐานส่วนบันทึกฉบับลาวและพม่า กลับบันทึกเอาไว้ตรงกัน
นักกวีนวเดย์ (กวีของหงสาวดี มีอายุถึง 4 รัชกาล ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ถึงสมัยพระเจ้าญองรัม) เขียนกลอนว่า พระเจ้าบุเรงนองรักและเอ็นดูพระนเรศวรเหมือนกับลูกแท้ๆ ของพระองค์
ในพงศาวดารพม่าทุกฉบับไม่เคยมีบันทึกเรื่องราวของพระนเรศวรชนไก่กับพระมหาอุปราชเลย เพราะการพนันชนไก่ถือเป็นความผิดทั้งศีลธรรม จริยธรรม และผิดกฎหมาย
คนดีมีศีลธรรมจะไม่เล่นชนไก่ นอกจากนักเลงอันพาลเท่านั้นที่เล่น
มีบันทึกบอกการเล่นชนไก่ถือเป็นสิ่งอัปยศ ไม่มีกษัตริย์หรือพระราชวงศ์คนใดจะทรงเล่นชนไก่ทั้งในและนอกเขตพระราชวังแน่นอน หากพระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์องค์ใดเล่นการพนัน ก็เท่ากับปราศจากทศพิธราชธรรม มักถูกกบฏหรือไม่ก็ถูกลอบปลงพระชนม์
และถ้าหากพระนเรศวรชอบเล่นการพนันชนไก่ตั้งแต่เด็ก พระเจ้าบุเรงนองคงไม่เอ็นดูและเลี้ยงไว้อย่างบุตรบุญธรรมแน่นอน
ความโกรธแค้นของพระนเรศวรต่อกรุงหงสาวดี ไม่ปรากฏในพงศาวดารพม่าเลยแม้แต่น้อย
เรื่องขัดแย้งระหว่างมหาอุปราชกับพระนเรศวรเป็นเรื่องขัดแย้งประสาเด็ก เพราะพระเจ้าหญิงถ้วย (ลูกคนที่ 2 ของพระเจ้านันทบุเรง) สนิทกับพระนเรศวรมากกว่ามหาอุปราช
ง่ายๆ คือ อิจฉาพระนเรศวร เพราะพี่สาวสนิทกับคนอื่นมากกว่าน้องชายตัวเอง
ส่วนสงครามระหว่างพระนเรศวรกับพระเจ้านันทบุเรงมีสาเหตุมาจากมังสามเกียดนี่แหละ
- นันทบุเรงจัดงานแต่งให้มังสามเกียดกับลูกสาวพระเจ้ากรุงอังวะ
- แต่มหาอุปราชไม่ได้รักนาง ทะเลาะกันบ่อย จนวันนึงผลักนางอย่างแรง หัวกระแทกมุมแท่นบรรทม หัวแตก แล้วเอาผ้าสไบมาเช็ดเลือด ส่งไปให้พ่อพร้อมจดหมาย
- พระเจ้ากรุงอังวะโกรธมากประกาศศึกกับพระเจ้านันทบุเรง
- พระเจ้านันทบุเรงมีรับสั่งให้เจ้าเมืองตองอู พระเจ้าแปร พระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าล้านช้าง และพระนเรศวรไปตีกรุงอังวะ แต่ไม่มีใครอยากร่วมรบ เพราะ
- พระเจ้าอังวะ พระเจ้าตองอู พระเจ้าแปร เป็นน้องแท้ๆ ของพระเจ้าบุเรงนอง เป็นอาของพระเจ้านันทบุเรง
- พระเจ้าเชียงใหม่เป็นลูกของพระเจ้าบุเรงนอง
- พระนเรศวรเป็นเหมือนลูกบุญธรรม
- อีกอย่าง เป็นเพราะลูกชายที่เอาแต่ใจตัวเองของพระเจ้านันทบุเรง มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่จะก่อให้เกิดความบาดหมาง แต่ทุกคนก็ยกทัพเพราะไม่อยากขัด
ประเด็นพระนเรศวรทรงพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง
- พระแสงปืนยาว 9 คืบ (ประมาณ 1.25 เมตร) ไม่น่าจะข้ามปากแม่น้ำสะโตงได้ ถึงแม้จะไม่กว้างเท่าแม่น้ำสาละวิน แต่ก็ไม่ต่ำกว่า 2 กิโลเมตร
- สาเหตุที่สร้างสะพานแพที่ปากแม่น้ำ ถึงกว้างกว่า แต่น้ำไม่เชี่ยวและไม่ลึก มีทรายมากองเป็นสันทรายย่อมๆ ที่ปากแม่น้ำ ทำให้สร้างสะพานแพง่าย
- พอพระนเรศวรข้ามแม่น้ำสะโตงมากรุงหงสาวดี กองทัพหงสาวดีก็ถึงอังวะแล้ว พระนเรศวรจึงตั้งค่ายอยู่ใกล้ๆ กรุงหงสาวดี มหาอุปราชกลัวพระนเรศวรคิดไม่ซื่อ ก็เลยปิดเมืองแน่นหนา แล้วส่งคนไปบอกพระเจ้านันทบุเรงว่า พระนเรศวรตั้งค่ายไม่ห่างจากเมือง ผิดปกติ ให้พระเจ้านันทบุเรงรีบกลับ พอพระเจ้านันทบุเรงททราบเรื่องก็เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง จึงยกทัพส่วนหนึ่งกลับ
- สาเหตุที่พระนเรศวรไม่ยกทัพไปทันที เพราะไม่อยากรบกับพระเจ้าอังวะ และไม่มีเจตนาที่จะเข้าตีกรุงหงสาวดีเหมือนที่มหาอุปราชกล่าวหา
- พอพระนเรศวรทราบข่าวว่าพระเจ้านันทบุเรงชนะพระเจ้าอังวะแล้ว และกำลังยกทัพกลับ จึงเสด็จกลับผ่านด่านเจดีย์สามองค์ พอพระเจ้านันทบุเรงถึงกรุงหงสาวดี ก็มีรับสั่งให้เตรียมทัพใหญ่มาตั้งค่ายที่ทิศเหนือของพระนคร พอทราบข่าว พระนเรศวรก็ยกทัพจากพระนครไปบุกเข้าโจมตีจนทัพหงสาวดีต้านไม่อยู่ ถอยห่างพระนคร แต่พระนเรศวรไม่ติดตามไป แต่เสด็จกลับเข้าพระนคร ดูการเคลื่อนไหวของทัพหงสาวดี จนกระทั่งยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป
ตอนที่พระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีกับมหาอุปราช
- พระมหาอุปราชขอโอกาสพระเจ้านันทบุเรงยกทัพไปรบอีกครั้ง ถ้าไม่ชนะจะไม่กลับกรุงหงสาวดี
- เมื่อยกทัพมาถึง ช้างที่มหาอุปราชทรงช้างอยู่เกิดตื่นกลัว จึงเอาผ้าปิดตาไว้ให้สงบ
- พระนเรศวรอยู่ในพระนคร สั่งให้ระดมยิงปืนใหญ่ใส่กองทัพหงสาวดี เพื่อไม่ให้เข้าใกล้พระนคร และออกมาเผชิญหน้ากับกองทัพหงสาวดีเมื่อเห็นมหาอุปราชออกมา
- มหาอุปราชบังคับช้างของตนไม่อยู่ นัตชิงนองเห็นจึงวิ่งเข้ามาขวางหวังต้านช้างพระนเรศวร แต่มหาอุปราชถูกปืนใหญ่จากพระนครระดมยิง สิ้นพระชนม์ทันที
- หลังจากนั้น ภายในกรุงหงสาวดีมีการจลาจล พระเจ้าตองอูกับยะไข่มาตีหงสา พอพระนเรศวรทราบข่าวจึงยกทัพไปช่วยกรุงหงสาวดี แต่ไปถึงกรุงหงสาวดีก็ไม่เหลืออะไรเลย
- พระเจ้าตองอูพาพระเจ้านันทบุเรงกลับเมืองตองอู นัตชิงนอง (ลูกชาย) บอกให้พระเจ้าตองอูฆ่าพระเจ้านันทบุเรง แต่กลับไม่ยอมฆ่าพี่ชายตัวเอง นัตชิงนองเลยลอบฆ่าพระเจ้านันทบุเรงเสียเอง
- พระนเรศวรไม่รู้ว่าพระเจ้านันทบุเรงถูกนัตชิงนองลอบปลงพระชนม์ พอเสด็จมาถึงเมืองหาน พระนเรศวรประชวรหนักจากพิษไข้ป่าแล้วเสด็จสวรรคต
ขอคัดลอกข้อความในหนังสือออกมาหน่อย
"...ตรงนี้ ข้าพเจ้าขอวิจารณ์การแต่งประวัติศาสตร์ใหม่ของนักแต่งประวัติศาสตร์ชาวไทยทั้งหลายสักนิดว่า พวกท่านไม่ให้เกียรติ และทำลายพระเกียรติของพระองค์ (พระนเรศวร) เป็นอย่างมาก โดยแต่งเรื่องราวให้พระองค์กลายเป็นอันธพาลและอกตัญญู เช่น พระองค์ชอบเรื่องพนันชนไก่ และยังทะเลาะวิวาทในวงไก่ชน จนเอามาเป็นเหตุอาฆาตเกลียดชังกัน จนถึงกับยอมแลกชีวิต
แท้จริงแล้ว พระองค์ท่านไม่มีอุปนิสัยเช่นนี้ การที่พระองค์ทรงรบกับพระเจ้าหงสาวดี ก็เป็นเพราะทรงปกป้องพระเกียรติและเพื่อป้องกันรักษาอาณาจักรและราษฎรของพระองค์ มิใช่เป็นความอาฆาตโกรธแค้นส่วนพระองค์ ดังที่นักแต่งประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่กล่าวหา พระองค์ทรงระลึกถึงบุญคุณ ความกตัญญู พระองค์มิทรงเคยมีดำริที่จะทำร้ายกรุงหงสาวดี วันใดที่หงสาวดีตกอยู่ในอันตราย พระองค์ก็เสด็จขึ้นไปช่วยหงสาวดี ตรงนี้ชี้ให้เห็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและยิ่งใหญ่ของพระองค์ ฉะนั้น เราทั้งหลายควรสำนึกในพระปรีชาญาณของพระองค์ตลอดกาล..."
ในเล่มมีการพูดถึงเรื่องของพระสุพรรณกัลยาอีกด้วย
ผู้เขียนเขียนตำหนินักศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างแสบคันเอามากๆ เช่น
"...ข้าพเจ้าขอตำหนินักประวัติศาสตร์สมัยนี้ รวมถึงนักเผยแพร่ตำนานนิยายแบบนี้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว จนคนส่วนใหญ่เข้าใจและถือเอาว่านั่นคือประวัติศาสตร์ที่แท้จริง ข้าพเจ้ามองว่าท่านท้างหลายมีส่วนรับผิดชอบในการแปลงตำนานนิยายจนกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว..."
"...ประวัติศาสตร์ต้องอยู่บนพื้นฐานความคิดและจันตนาการที่มีเหตุมีผล ประกอบด้วยหลักฐานที่ชัดเจน ถูกต้องแม่นยำ มีความเป็นไปได้ แบบนี้นี่แหละที่นักประวัติศาสตร์ทั้งหลายควรร่วมกันคิด วิเคราะห์ ค้นคว้า หาหลักฐานใหม่ๆ ต่อยอดกันขึ้นไปเรื่อยๆ แต่นักประวัติศาสตร์สมัยนี้ส่วนใหญ่ไม่คิดวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ แต่กลับเชื่อถืออ้างอิงข้อมูลจากนักแต่งนิยายหรือตำนานในจินตนาการกัน..."
แล้วเขาก็ได้ให้ข้อแนะนำในการศึกษาประวัติศาสตร์เอาไว้ด้วย คือ
- ต้องย้อนกลับไปศึกษาค้นควาหลักฐานให้ชัดเจน และมากที่สุด เท่าที่จะหาได้
- วิเคราะห์บนพื้นฐานความเป็นจริงที่เที่ยงตรง ไม่เอนเอียง ไม่ชาตินิยม เราจึงจะได้ประวัติศาสตร์ที่แท้จริง
ผมเป็นทีมงานจากมิวเซียมสยาม ขออนุญาตนำลิงก์และข้อความส่วนหนึ่งในบทความของคุณ Tez ไปลงในเพจของมิวเซียมสยามได้หรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ