เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First Storyhappymytuesday
มุมมองที่แปลกใหม่ของความสวยงาม
  • หากเราพูดถึงเรื่องราวของแฟชั่น หรือศิลปะ เราก็มักจะนึกถึงเรื่องราวของความสวยความงามกันอยู่เสมอ ว่าเสื้อผ้าตัวนี้สวย ภาพวาดนั้นงดงาม แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเห็นว่ามีการนำเอาศิลปะเข้ามาทำงานร่วมกับแฟชั่น ไม่ว่าจะเป็นทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า หรือแม้แต่กระทั่งในmuseum เองก็มีการ ร่วมมือระหว่าง art และ แฟชั่น อย่างเช่น ที่ the MET museum ในงาน met museum gala


    ซึ่งเราจะเห็นว่าการที่นำเอาแฟชั่นมาผสมผสานเข้ากับศิลปะก็ทำให้เกิดความแปลกใหม่จากรูปแบบเดิม แต่การนำศิลปะมาผสมผสานเข้ากับเสื้อผ้าแบบนี้นั้น มันจะทำให้คุณค่าทางศิลปะลดลงหรือไม่ หรือมันจะส่งเสริมให้งานศิลปะนั้นมีคุณค่างดงามยิ่งขึ้น?


    ความงามทางศิลปะ

    เมื่อเราพูดถึง ศิลปะ เรามักจะหมายถึง ความงามแต่ความงามในที่นี้เป็นเรื่องของคุณค่า (Value) ที่เป็นคุณค่าทางสุนทรียะ  แตกต่างจากคุณค่าทางเศรษฐกิจ ที่เป็นราคาของวัตถุ แต่เป็นคุณค่าต่อจิตใจความงามเกิดขึ้นด้วยอารมณ์ มิใช่ด้วยเหตุผล   ความคิดหรือข้อเท็จจริง  คนที่เคร่งครัดต่อเหตุผลหรือเพ่งเล็งไปที่คุณค่าทางวัตถุจะไม่เห็นความงาม  คนที่มีอารมณ์ละเอียดอ่อนไหวจะสัมผัสความงามได้ง่ายและรับได้มาก   ความงามให้ความยินดีให้ความพอใจได้ทันทีโดยไม่ต้องมีเหตุผล  ความยินดีนั้น เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ ความงามนั้นเกี่ยวข้องกับวัตถุก็จริง แต่มิได้เริ่มที่วัตถุ มันเริ่มที่อารมณ์ของคน ดังนั้น ความงามจึงเป็นอารมณ์  เป็นสุขารมณ์หรือเป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความสุข 

  • ตัวอย่างผลงานแฟชั่นที่นำเอา ศิลปะเข้ามาผสมผสานกับแฟชั่น
    ศิลปิน Conceptual Art อย่าง Damien Hirst (เดเมียน เฮิร์สต์) ที่ชอบนำสัตว์มาแช่แข็งแล้วจัดแสดงในแกลเลอรี่ ก็เคยร่วมงานกับวงการแฟชั่นมาแล้วในโปรเจคการกุศลที่ทำร่วมกับ PRADA (แต่เห็นผลงานแล้วอาจจะเฉพาะกลุ่มหน่อยๆ)

    ผลงานที่ตอบโจทย์ความเป็น Fine Art X Fashion อีกชิ้นคงเป็นชุดของ Ariana Grande ในงาน Met Gala 2018 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่นำ “The Last Judgement” ของ Michelangelo (มิเคลันเจโล) มาสกรีนเป็นชุดเดรสในธีม “Heavenly Bodies : Fashion and the Catholic Imagination”

    หรือแม้แต่แบรนด์ใกล้ตัวอย่าง Uniqlo ที่มีคอลเลคชั่นงานศิลปะอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจุดเริ่มต้นการนำงานศิลปะมาสกรีนบนเสื้อผ้าของ Uniqlo ก็มาจากแอนดี้ วอร์ฮอล (อีกแล้ว!) และมีศิลปินอีกมากที่ถูกนำผลงานมาเป็นลายเสื้อ สามารถเพิ่มมูลค่าของเสื้อยืดธรรมดาได้เป็นสองเท่าเลยทีเดียว

    หรือแม้แต่กระทั่งการนำเอางานศิลปะมาไว้กับรองเท้าที่อาจจะดูเหมือนมันจะส่งผลให้ศิลปะนั้นดูเสื่อมคุณค่าลงหรือเปล่า แต่กับแบรนด์ที่เราคุ้นกันอย่าง Vans ก็ได้มีคอลเลคชันที่ร่วมกับ Van Gogh Museum Amsterdam เอางานศิลปะของแวนโก๊ะมาเป็นลายรองเท้าและเสื้อ ราคาอยู่ที่ประมาณ 2,500 – 3,000 บาท 


    ขณะเดียวกัน Murakami เองก็เคยร่วมงานกับ Vans ในปี 2015 เหมือนกัน ก็ได้รับผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างยิ่ง

    เราจะเห็นได้ว่าคุณค่าของศิลปะมันไม่เคยลดลงเลย ไม่ว่ามันจะอยู่ตรงไหน ที่ไหน การที่นำเอาศิลปะมาผสมผสานกับแฟชั่นกลับยิ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากขึ้นไปอีก เพราะมันทำให้คนที่อาจไม่เคยได้เห็นได้เห็นได้รู้จัก และได้เห็นถึงความงามนี้รูปแบบต่างๆ คุณค่าของศิลปะที่แท้จริงแล้วจะมากหรือน้อยแค่ไหนมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับที่ตัววัตถุชิ้นนั้นๆที่ศิลปะเข้าไปอยู่เพียงสักนิด  แต่ส่วนหนึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่มองเห็นคุณค่าความงามที่แท้จริงของมัน แม้มันจะอยู่ในที่ที่ไม่ใช่กับวัตถุเช่นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ความงามของมันก็จะยังคงอยู่ในตัวของมันแบบนั้นสมอ เพราะความงามในที่นี้เป็นเรื่องของคุณค่าที่เป็นคุณค่าทางสุนทรียะภายในใจของเรามากกว่า 

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in