สวัสดีจ้า! วันนี้ฤกษ์งามยามดี เราได้มาเขียนเรื่อง IELTS สักทีหลักจากที่สอบมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว (2019) ผ่านมา 1 ปีพอดี ಥ_ಥ เคยสัญญากับตัวเองว่าถ้าสอบผ่านคะแนนที่หวังจะมาแบ่งปันวิธีการเตรียมตัวกับเพื่อน ๆ
โดยหัวข้อที่เราจะแชร์ในวันนี้คือ “วิธีการเตรียมตัวสอบ IELTS ในวลา 1 สัปดาห์”
DISCLAIMER: ไม่แนะนำให้ทำตามหากมีเวลา วิธีนี้ควรใช้เฉพาะเวลาฉุกเฉินต้องรีบใช้คะแนนเท่านั้น เพราะข้อสอบ IELTS เป็นข้อสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน (ฟัง พูด อ่าน เขียน) และความสามารถเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนและสั่งสมประสบการณ์ ฉะนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเพิ่มทักษะภาษาของเราในเวลาแค่ 1 สัปดาห์ สิ่งที่ทำได้มีแค่การพึ่งบุญเก่า เรียนรู้ข้อสอบและเทคนิคการทำข้อสอบเท่านั้นค่ะ
1. ท้าวความเรื่องของเรา (ใครขี้เกียจอ่าน ข้ามหัวข้อนี้ไปได้นะ)
อย่างที่บอกคือ IELTS เป็นข้อสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ดังนั้นข้อสอบจึงมี 4 ส่วน คือ พาร์ทฟัง พาร์ทอ่าน พาร์ทเขียน และพาร์ทพูด เรียงตามลำดับการสอบ ข้อสอบมีสองแบบคือ Academic และ General Training ต่างกันที่จุดประสงค์ว่าจะเอาคะแนนไปใช้ทำอะไร ซึ่งเราเอาไปใช้ในการเรียน แน่นอนว่าต้องสอบแบบ Academic ค่ะ (อ้อ คุ้น ๆ ว่ามี IELTS UKVI ด้วยนะ ไปหามาเขาบอกว่าใช้ในการสมัครวีซ่าและการตรวจคนเข้าเมืองแห่งสหราชอาณาจักร) ปัจจุบันในไทยเท่าที่ทราบจะมี 2 สถาบันที่เปิดสอบคือ IDP และ British Council ตัวข้อสอบไม่ได้ต่างกัน แต่วันเวลา สถานที่สอบ เจ้าหน้าที่คุมสอบต่างกัน นอกจากนี้ยังมีให้เลือกสอบแบบ Paper-Based (สอบในกระดาษ) และ Computer-Delivered (สอบในคอมฯ) ด้วย โดยเราเลือกสอบผ่านคอมพิวเตอร์เพราะมีให้สอบเกือบทุกวันและได้ผลสอบเร็วภายใน 5-7 วันค่ะ เราสอบกับ IDP ราคาจะแพงกว่าการสอบในกระดาษเล็กน้อย อยู่ที่ 7,500 บาท (สอบกระดาษ 6,900) ตรงนี้สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ตได้ตามสบายค่ะ
3. ทำความรู้จักกับข้อสอบ
เราเริ่มจากการที่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับข้อสอบเลย เป็นข้อสอบตัวเลือก? หรือเขียนตอบ? ข้อสอบฟังเป็นยังไง? ต้องเขียนเรื่องอะไร? แล้วพูดอะไรกับใคร? สิ่งที่จะช่วยตอบคำถามเหล่านี้ทั้งหมดได้และช่วยให้เรารู้จักข้อสอบและวิธีการทำจริง ๆ คือหนังสือ The Official Cambridge Guide to IELTS แนะนำมาก ๆ สำหรับคนที่ต้องการเตรียมตัวสอบเองแล้วไม่รู้จะว่าเริ่มยังไงดี หนังสือมีสอนทุกพาร์ท สามารถใช้ควบคู่กับแอพในมือถือได้ (ฟังเทปจากในแอพได้เลยโดยที่ไม่ต้องเปิดซีดีฟัง) เราอ่านจนจบเล่ม มีข้ามแบบทดสอบบ้างเพราะมันเยอะมาก บวกกับเรามีเวลาน้อย แต่โดยรวมคือดี แนะนำค่ะ
4. Listening (พาร์ทฟัง)
หลังจากอ่านหนังสือของ Cambridge ที่เราแนะนำไปด้านบน ก็จะรู้แล้วว่าข้อสอบฟังเป็นยังไง คร่าว ๆ คือเขาจะเปิดเทปให้เราฟังแค่รอบเดียว โดยที่เราต้องฟังไปด้วย อ่านโจทย์ไปด้วย ส่วนสำเนียงภาษาอังกฤษจะเป็นแบบผสม ๆ ไม่ได้เอนเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งนัก พาร์ทนี้ค่อนข้างง่ายถ้าเทียบกับพาร์ทอื่น ๆ แต่เรามีปัญหาเรื่อง multi-tasking skill คือไม่สามารถฟังไปด้วยอ่านโจทย์ไปด้วยได้ ถ้าอ่านโจทย์หูก็จะไม่ฟัง 〒▽〒 วิธีแก้ของเราคือการฝึกฝน โดยเราฝึกจากหนังสือ Cambridge IELTS Academic with Answers เล่มสีเทา ๆ น้ำเงิน ๆ ปัจจุบันมีถึงเล่ม 15 แล้ว หนังสือชุดนี้ดีมากเพราะเป็น authentic examination papers คือมาจากข้อสอบจริงนั่นเอง โดยในแต่ละปี Cambridge จะเลือกข้อสอบจริงมาหนึ่งชุดแล้วทำเป็นหนังสือขาย เท่ากับว่าเราจะได้ลองทำข้อสอบจริง ๆ ซึ่งดีมาก คำแนะนำของเราคือให้ซื้อเล่มที่เป็นเลขเยอะ ๆ เช่น เล่มที่ 10 ขึ้นไป เพราะเล่มเก่า ๆ จะเป็นข้อสอบแบบเก่า อาจมีบางพาร์ทที่ไม่เหมือนกับข้อสอบปัจจุบันแล้ว (แต่ถ้ามีเวลาเยอะอยากทำทุกเล่มก็ไม่ผิดอะไร) หนังสือชุดนี้จริง ๆ แล้วมีข้อสอบทุกพาร์ทเลย แต่เราเน้นทำแค่พาร์ทฟังเพราะขี้เกียจค่ะ ฮ่า
5. Reading (พาร์ทอ่าน)
ขออธิบายต่อจากพาร์ทที่แล้วเลยคือ ให้ทำความรู้จักข้อสอบด้วยหนังสือ The Official Cambridge Guide to IELTS ก่อน และถ้าอยากฝึกทำพาร์ทนี้ก็ให้ฝึกจากหนังสือ Cambridge IELTS Academic with Answers (ขอเสริมอีกนิดคือสาเหตุที่ต้องศึกษาข้อสอบเพราะ IELTS ไม่ใช่ข้อสอบที่ให้ตอบด้วยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ข้อสอบพาร์ทนึงมีให้ตอบหลายแบบมาก ทั้งแบบ choice, fill in the blank, matching และอื่น ๆ ดังนั้นจึงควรศึกษาการตอบแต่ละแบบจากในหนังสือก่อนนะคะ)
พาร์ทนี้สำหรับเรายากมาก เพราะใช้ศัพท์ยาก ศัพท์เฉพาะทางเยอะ เราพยายามท่องศัพท์เพิ่มไปแต่พบว่าไม่ช่วยอะไรเลย ตอนสอบจริงคือการพึ่งบุญเก่าล้วน ๆ เพราะฉะนั้นถ้าย้อนเวลากลับไปก็คงเลือกไม่ท่องแล้วเอาเวลาไปฝึกพาร์ทอื่นดีกว่า แต่! ถ้าคุณมีเวลาและคิดว่าคลังศัพท์ของตัวเองยังน้อยก็ท่องได้นะ ยังไงมันก็ดีกว่าไม่ท่องอยู่แล้ว นอกจากนี้ความยากยังเกี่ยวกับเรื่องของเวลาและจำนวนด้วย ข้อสอบพาร์ทอ่านให้เวลา 60 นาที 3 บทความ แต่ละบทความยาวมาก ตอนสอบเราท้อจนเกือบจะถอดใจมันตรงนั้นเลย (˘・_・˘) สุดท้ายก็พยายามทำจนหมดเวลา แต่ก็ทำไม่ทันจนต้องปล่อยว่างไปประมาณ 5 ข้อด้วย ถ้าให้นึกภาพตามคงประมาณบทความใน GAT ที่ยาวและยากกว่าหลายเท่า บทความที่เราได้ทำเป็นเรื่องออกแนววิทย์ ๆ หน่อย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ข้อสอบพาร์ทอ่านของ IELTS มีเหมือนกันกับ GAT (หรือ 9 สามัญ) คือบทความจะคละระดับความยาก พูดง่าย ๆ คือจะมีบทความนึงที่ง่ายกว่าอันอื่น แต่ก็ยังถือว่ายากอยู่ดี เพราะฉะนั้นห้ามประมาทและฝึกบริหารเวลาในการทำข้อสอบดี ๆ ค่ะ
6. Writing (พาร์ทเขียน)
พาร์ทนี้สำหรับคนไทยถือเป็นพาร์ทที่ยากที่สุด และเพิ่มคะแนนได้ยากสุด (จากที่รู้มานะ) นอกจากการอ่านในหนังสือ Cambridge แล้ว ต้องขอบคุณเพื่อนของเรา ซซ (´▽`ʃ♡ƪ) ที่ให้ยืมหนังสือที่ซ.ไปเรียนเพิ่มมา ทำให้เราได้รู้ว่าหัวข้อจะออกมาแนวไหนบ้างและเทคนิคในการเขียนควรทำอย่างไร คร่าว ๆ คือพาร์ทเขียนจะแบ่งเป็นสองพาร์ทย่อย คือ
โดยที่พาร์ทแรกคิดเป็น 1 ส่วน 3 ของคะแนนทั้งหมด ขณะที่พาร์ทสองคิดเป็น 2 ส่วน 3 ดังนั้นในการทำข้อสอบพาร์ทนี้ ควรใช้เวลาเขียนอธิบายแผนภาพประมาณ 15-20 นาทีจากเวลาทั้งหมด 60 นาที เวลาที่เหลือค่อยทุ่มให้กับการเขียน essay ซึ่งมีสัดส่วนคะแนนเยอะกว่า
ข้อสอบ IELTS เป็นการวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ logic ของผู้สอบ ดังนั้นหากข้อสอบถามว่า agree or disagree หรือถามความคิดเห็น ไม่ต้องคิดว่าอะไรถูกผิด แต่ให้คิดว่าคุณสามารถเขียนอธิบายและให้เหตุผลอะไรได้ดีกว่า โดยเกณฑ์วัดคะแนนจะดูจากการตอบตรงคำถาม การลำดับความ การใช้ศัพท์ที่หลากหลาย (พยายามอย่าใช้ศัพท์คำเดิมซ้ำ ๆ) ความสามารถในการเขียน complex sentence และอื่น ๆ
คำแนะนำของเราในพาร์ทนี้คือ ฝึกเขียน! อย่าดูแค่ตาแล้วคิดว่าจะเขียนได้ เราเสียดายที่มากที่ลองเขียนจริงแค่ 1-2 วันก่อนสอบ สำหรับเราพาร์ท essay ไม่เท่าไหร่เพราะปกติเขียนบ่อยแล้ว ขอแค่รู้ว่าควรลำดับการเขียนยังไง แต่การเขียนอธิบายแผนภาพเป็นสิ่งที่เราไม่เคยทำ นอกจากจะต้องจำพวก term ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเขียนแล้ว การฝึกเขียนจะทำให้เรารู้ว่าความเร็วในการเขียนของเราโอเคหรือยัง เพราะการเขียนอธิบายแผนภาพควรใช้เวลาให้น้อยที่สุด ดังนั้นเชื่อเราเถอะ... อยากเขียนดีต้องฝึกเขียน! การฝึกพาร์ทนี้นอกจากหนังสือที่บอกไปข้างต้นแล้ว สามารถหาโจทย์ในอินเตอร์เน็ตมาฝึกทำได้เลย เลือกที่มีตัวอย่างคำตอบก็จะดี เพื่อใช้เทียบกับคำตอบของเราว่าไปในทิศทางเดียวกันไหม (ในกรณีที่ฝึกเองแล้วไม่มีคนตรวจให้นะคะ) อีกอย่างการตอบจะไม่มีคำตอบตายตัวนะ แค่เราสามารถเขียนตามที่โจทย์บอกได้คือ “Summarize the information by selecting and reporting the main features, and make comparisons where relevant.” รวมถึงใช้คำศัพท์และแกรมม่าอย่างถูกต้องก็โอเคแล้วค่ะ
7. Speaking (พาร์ทพูด)
พาร์ทนี้เป็นการสอบพูดแบบ face to face กับ examiner ที่เป็นเจ้าของภาษา (ไม่แน่ใจว่ามีคนไทยไหม แต่ที่เราเจอมาเป็นฝรั่งค่ะ) โดยการสอบใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 15 นาที ผู้คุมสอบจะอัดเสียงเราไว้ตั้งแต่เริ่มเลย การสอบแบ่งเป็น 3 พาร์ทย่อย ๆ คือ
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะกังวลกับพาร์ทพูด กลัวว่าถ้าเจอคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ในชีวิตตัวเองขึ้นมา เราจะตอบไม่ได้เพราะไม่มีอะไรให้เล่าเลย เราเองก็เคยประสบปัญหานี้และได้ไปปรึกษาเพื่อนที่เคยผ่านการสอบมา ได้ความว่า “โกหกเท่านั้นคือคำตอบ” และมันก็ได้ผลจริง!!! อย่างเราโดน examiner ถามว่า “เรื่องล่าสุดที่ทำให้คุณยิ้มคืออะไร” แหม ตื่นเต้นก็ตื่นเต้นเนาะ จะให้ไปคิดออกได้ยังไงภายใน 3 วิ ทางเราจึงตอบไปว่า “ตอนสอบไฟนอลที่ผ่านมา มีเพื่อนในห้องตดดังมาก” ซึ่งถามว่าจริงไหม บอกเลยว่า ไม่! 5555555555 เรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่า เรื่องจริงหรือไม่นั้นไม่สำคัญสำหรับการสอบพูด IELTS ขอแค่คุณตอบได้ตามเกณฑ์การให้คะแนนคือ Fluency & Cohesion, Vocabulary, Grammar, Pronunciation เท่านี้ก็รอดแล้ว? แต่ๆๆ ถ้าคุณสามารถ ก็ตอบหรือเล่าเรื่องจริงไปได้เลยนะคะ เพราะการพูดเรื่องที่เกิดขึ้นกับเราจริง ๆ มัน flow กว่าอยู่แล้ว เราเชื่ออย่างนั้น
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in